บทที่ 9 1. - rmutphysics...1.1.2 ส นปนน า (divide) เป นสวนแบ...

18
บทที9 ลําน้ําและการกระทําของลําน้ํา 1. บทนํา แมน้ําและลําน้ํา (Stream and River) จัดเปนแหลงน้ําผิวดิน (Surface water) ที่ไหลอยูในรองน้ํา มี ตนกําเนิดมาจากน้ําที่ไหลบนแผนดิน ในขณะที่ไหลกระแสน้ําหรือการไหลของลําน้ําบางสวนอาจถูกกักอยูบน ผิวดินเปนแหลงน้ําบางสวน และบางสวนจะมีการกัดเซาะพื้นดินเปนรองเล็กๆ โดยมากมักจะกอตัวในที่ที่มี ความลาดชันและมีปริมาณน้ําที่มากพอสมควร เพราะน้ําที่ไหลแรงจะมีการกัดเซาะสูง ทําใหมีระดับความลึก ตางกัน จํานวนของรองน้ําที่ไหลมารวมกันจนมากขึ้นทุกที จนกลายเปนรองน้ําขนาดใหญหรือแมน้ํา (River) แมน้ําสายหนึ่งๆ มักจะมีลําน้ํา (Stream) สายยอยเปนสาขามากมาย ดังจะไดศึกษาในรายละเอียดตอไป สําหรับการกระทําของสําน้ําเปนกระบวนการในการเกลี่ยผิวดินใหปรากฏบนพื้นโลก เราเรียกวา กระบวนการกษัยการ (Erosion) การพัดพา (Transportation) และการทับถม (Deposition) กระบวนการ กระทําของลําน้ําหรือน้ําไหลเปนตัวการสําคัญในการเปลี่ยนแปลงของผิวโลก แตจะขึ้นอยูกับความรุนแรงของ กระแสน้ํา ตลอดจนสภาพของดินวาจะมีโอกาสถูกกระทํามากนอยเพียงใด ทั้งนี้เนื่องจากธารน้ําจะกัดเซาะหรือ ทับถมตะกอนขึ้นอยูกับความจําเปนในการปรับเพื่อรักษาสมดุลระหวางปริมาณตะกอนที่ตองพัดพาไป กับพลัง ที่ธารน้ํามีอยูในการพัดพา 1.1 สวนประกอบของลําน้ํา ลําน้ํามีสวนประกอบตางๆ ดังรูปที1 โดยมีสวนประกอบตางๆ ดังตอไปนีรองน้ํา (Channel) แคว (Tributary) สันปนน้ํา (Divide) รูปที1 แสดงสวนประกอบที่สําคัญของระบบลําน้ํา ที่มา : Carla W. Montgomery , 1990.

Upload: others

Post on 26-Jun-2020

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: บทที่ 9 1. - rmutphysics...1.1.2 ส นปนน า (Divide) เป นสวนแบ งของล า โดยสมน นป นน าเปนสวนท ส

บทที่ 9

ลําน้ําและการกระทําของลําน้ํา 1. บทนํา

แมน้ําและลําน้ํา (Stream and River) จัดเปนแหลงน้ําผิวดิน (Surface water) ที่ไหลอยูในรองน้ํา มีตนกําเนิดมาจากน้ําที่ไหลบนแผนดิน ในขณะที่ไหลกระแสน้ําหรือการไหลของลําน้ําบางสวนอาจถูกกักอยูบนผิวดินเปนแหลงน้ําบางสวน และบางสวนจะมีการกัดเซาะพื้นดินเปนรองเล็กๆ โดยมากมักจะกอตัวในที่ที่มีความลาดชันและมีปริมาณน้ําที่มากพอสมควร เพราะน้ําที่ไหลแรงจะมีการกัดเซาะสูง ทําใหมีระดับความลึกตางกัน จํานวนของรองน้ําที่ไหลมารวมกันจนมากขึ้นทุกที จนกลายเปนรองน้ําขนาดใหญหรือแมน้ํา (River) แมน้ําสายหนึ่งๆ มักจะมีลําน้ํา (Stream) สายยอยเปนสาขามากมาย ดังจะไดศึกษาในรายละเอียดตอไป สําหรับการกระทําของสําน้ําเปนกระบวนการในการเกลี่ยผิวดินใหปรากฏบนพื้นโลก เราเรียกวากระบวนการกษัยการ (Erosion) การพัดพา (Transportation) และการทับถม (Deposition) กระบวนการกระทําของลําน้ําหรือน้ําไหลเปนตัวการสําคัญในการเปลี่ยนแปลงของผิวโลก แตจะขึ้นอยูกับความรุนแรงของกระแสน้ํา ตลอดจนสภาพของดินวาจะมีโอกาสถูกกระทํามากนอยเพียงใด ทั้งนี้เนื่องจากธารน้ําจะกัดเซาะหรือทับถมตะกอนขึ้นอยูกับความจําเปนในการปรับเพื่อรักษาสมดุลระหวางปริมาณตะกอนที่ตองพัดพาไป กับพลังที่ธารน้ํามีอยูในการพัดพา

1.1 สวนประกอบของลําน้ํา ลําน้ํามีสวนประกอบตางๆ ดังรูปที่ 1 โดยมีสวนประกอบตางๆ ดังตอไปนี้

รองน้ํา (Channel)

แคว (Tributary)

สันปนน้ํา (Divide)

รูปที่ 1 แสดงสวนประกอบที่สําคัญของระบบลําน้ํา

ที่มา : Carla W. Montgomery , 1990.

Page 2: บทที่ 9 1. - rmutphysics...1.1.2 ส นปนน า (Divide) เป นสวนแบ งของล า โดยสมน นป นน าเปนสวนท ส

154

1.1.1 ตนน้ํา (Source) เปนจุดเริ่มตนของลําน้ํา อาจเกิดจากตาน้ําหรือน้ําที่ไหลซับออก มาจากแหลงน้ํา หรือสันปนน้ําบนภูเขาก็ได ตนน้ําเปนบริเวณจุดเริ่มตนของรองน้ําหรือลําน้ํา ตนน้ํามักอยูในเขตภูเขาหรือที่สูง

1.1.2 สันปนน้ํา (Divide) เปนสวนแบงของลุมน้ํา โดยสันปนน้ําเปนสวนที่สูงที่สุดของสัน เขา เปนแนวแบงการไหลของลําน้ํามาตามความลาดชันของสภาพภูมิประเทศ

1.1.3 ลุมน้ํา (River Valley) คือพื้นที่บริเวณที่รองรับน้ําฝนที่ตกลงมาและน้ําฝนดังกลาว จะไหลมารวมกันที่ลําน้ํา เชน ลุมน้ําเจาพระยา หรือสวนหนึ่งของลุมน้ําภาคเหนือ ไดแก แมน้ําปง วัง ยม นาน เปนตน

1.1.4 รองน้ํา(channel) คือสวนที่ลึกที่สุดของลําน้ําและเปนที่รวมของตะกอนขนาดตางๆ ที่ถูกพัดพามา และเปนชองทางการระบายน้ําลงสูบริเวณที่ต่ํากวา

1.1.5 แคว (Tributary) คือลําน้ําสายยอยที่เปนสาขาของแมน้ําที่ไหลลงมาจากตนน้ําและ ไหลลงมารวมกันที่ลําน้ําสายหลัก

1.1.6 น้ําสาขา (Distributary) เปนลําน้ําสายยอยที่ไหลแตกแยกออกจากลําน้ําสายหลัก ออกไป และไหลลงสูทะเลและมหาสมุทร

1.1.7 ปากน้ํา(Mouth) คือบริเวณที่รองน้ํามาบรรจบกับแหลงน้ํา เชน ทะเล หรือบริเวณที่ ต่ําที่สุด หรือจุดส้ินสุดของแมน้ํา โดยทั่วไประดับของทองน้ําจะอยูต่ํากวาระดับน้ําทะเล น้ําทะเลสามารถไหลเขามาในรองน้ําไดจึงเกิดการผสมกันระหวางน้ําจืดและน้ําเค็ม เกิดปฏิกริยาทางเคมีทําใหตะกอนจับตัวกันเปนกอนมีขนาดใหญขึ้นและเกิดการตกทับถมกันบริเวณปากแมน้ําที่เราเรียกวา “ดินดอนสามเหลี่ยมปากแมน้ํา”

จากสวนประกอบของสําน้ําดังกลาวทั้งหมดที่กลาวมาแลวนั้นเราเรียกวา ระบบลําน้ํา (River System) ซึ่งระบบลําน้ําบนพื้นโลกจะแบงเปน 2 ประเภท ไดแก ระบบลําน้ําถาวร (Permanent Stream) ซึ่งมีน้ําแชขังอยูตลอดป และระบบลําน้ําชั่วคราว(Intermittent Stream) จะมีน้ําแชขังอยูเพียงบางชวงเวลาเทานั้น น้ําจะแหงในฤดูแลง 2. รูปแบบของการระบายน้ํา (Drainage Pattern) รูปแบบของการระบายน้ํา หมายถึง ลักษณะการระบายน้ําของระบบลําน้ําที่ปรากฏอยูใน บริเวณใดบริเวณหนึ่ง อาจมีรูปแบบเปนเสนตรง มุมโคง และอื่นๆ ซึ่งขึ้นอยูกับลักษณะทางธรณีวิทยา หรือ ภูมิประเทศบริเวณนั้นๆ ซึ่งขึ้นอยูกับขนาดของบริเวณลุมน้ํา โครงสรางของหิน ชนิดของหินดินดานที่รองรับ สภาวะของภูมิอากาศ และสภาพภูมิประเทศ โดยเราสามารถจําแนกรูปแบบการระบายน้ําที่สําคัญได ดังนี้

2.1 รูปแบบกิ่งไม (Dendritic Drainage Pattern) เปนลักษณะโครงขายการระบายน้ําที่ลําน้ําสาขา ไหลลงมารวมกันกับลําน้ําสายหลัก

หลักดูคลายกับกิ่งไม มักเกิดขึ้นในบริเวณที่มีโครงสรางหินแบบเดียวกันมีเนื้อหินสมานแนน มุมของลําน้ําที่ไหลมาเชื่อมกันมักเปนมุมแหลม รูปแบบนี้มักพบไดมาก

2.2 รูปแบบมุมฉาก (Trellis Drianage Pattern)

Page 3: บทที่ 9 1. - rmutphysics...1.1.2 ส นปนน า (Divide) เป นสวนแบ งของล า โดยสมน นป นน าเปนสวนท ส

155

เปนรูปแบบการระบายน้ําที่ปรากฏบนลักษณะภูมิประเทศที่เปนรอยเลื่อน (Fault) หรือรอยแยก (Joint) ลําน้ําไหลขนานกันมาตามแนวรอยเลื่อนและไหลมารวมกันกับลําธารสายหลักเปนมุมฉากหรือเกือบฉาก

2.3 รูปแบบตั้งฉาก (Rectangular Drainage Pattern) เปนรูปแบบการระบายน้ําที่ลําธารสายยอยดวยกันหรือลําธารสายยอยกับสายหลักมา

สบกันเปนมุมฉาก นอกจากนี้แนวโคงของลําน้ําทุกสายในระบบจะเปนมุมฉากเชนเดียวกันและจะมีระยะการหักงอของลําน้ําเกือบเทากัน ทั้งนี้เนื่องมาจากลักษณะภูมิประเทศ

2.4 รูปแบบรัศมี (Radial Drainage Pattern) เปนการระบายน้ําที่ลําน้ําสายหลักและลําน้ําสาขาจะไหลออกไปทุกทิศทาง จากที่สูง

ตอนกลาง เชน รูปแบบการระบายน้ําที่เกิดขึ้นตามลักษณะภูมิประเทศแบบโดม กรวยภูเขาไฟ หรือเนินเขาที่อยูอยางโดดเดี่ยว

2.5 รูปแบบสับสน (Deranged Drainage Pattern) เปนการระบายน้ําในบริเวณที่ปกคลุมไปดวยธารน้ําแข็งที่เกิดขึ้นอยางไมมีระเบียบ ทํา

ใหรูปแบบการระบายน้ําสับสน เชน ระบบการระบายน้ําที่ปรากฏในประเทศฟนแลนด 2.6 รูปแบบขนาน (Parallel Drainage Pattern)

เปนลักษณะการระบายน้ําของลําน้ําสายหลัก และลําน้ําสาขามีทิศทางการไหล ขนานกัน หรือเกือบขนานกันไปในแนวทิศทางเดียวกันตลอด 2.7 รูปแบบวงแหวน (Annular Drainage Pattern) เปนระบบการระบายน้ําตามแนวระดับ ซึ่งมีทิศทางการไหลของลําน้ําตามรอยแยกของชั้นหินมีลักษณะเปนสวนหนึ่งของวงแหวน หรือเกือบเปนวงแหวน โดยจะไหลไปรวมกันกับลําน้ําสายหลัก เพื่อระบายลงสูที่ต่ําตอไป มักพบรูปแบบการระบายน้ําแบบนี้บริเวณเชิงเขาของลักษณะภูมิประเทศแบบโดม อยางไรก็ตามจากรูปแบบการระบายน้ําทั้งหมดที่ไดกลาวมาแลวนั้น เราอาจไมพบรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่สมบูรณในลุมน้ําสายใดสายหนึ่ง แตอาจพบสวนใดสวนหนึ่งของลุมน้ําหลักเทานั้น เชน รูปแบบการระบายน้ําแบบขนาน แบบรัศมี และแบบวงแหวน มักพบอยูสวนใดสวนหนึ่งในรูปแบบการระบายน้ําแบบกิ่งไม ซึ่งถือวาเปนรูปแบบการระบายน้ําที่สําคัญและพบอยูอยางกวางขวางเกือบทุกสวนของโลก

Page 4: บทที่ 9 1. - rmutphysics...1.1.2 ส นปนน า (Divide) เป นสวนแบ งของล า โดยสมน นป นน าเปนสวนท ส

156

รูปแบบกิ่งไม รูปแบบมุมฉาก

รูปแบบตั้งฉาก รูปแบบรัศมี

รูปแบบสับสน รูปแบบขนาน รูปที่ 2 แสดงรูปแบบการระบายน้ําแบบตางๆ ที่มา : Robert W. Christopherson , 1995. รูปแบบวงแหวน

Page 5: บทที่ 9 1. - rmutphysics...1.1.2 ส นปนน า (Divide) เป นสวนแบ งของล า โดยสมน นป นน าเปนสวนท ส

157

3. การไหลของธารน้ําไหล การไหลของลําน้ํา หรือ ธารน้ําไหล มีการไหลแบงได ดังนี้ 3.1 การไหลแบบเปนชั้น (Laminar Flows) เปนลักษณะการไหลที่เรียบ มีความเร็วในการไหลต่ํา ลักษณะการไหล ชั้นบนสุดของผิวน้ําเคลื่อนที่เหลื่อมไปขางหนา เหนือช้ันที่ถัดลงไป มักพบลักษณะของการไหลเชนนี้ในบริเวณน้ําที่มีระดับความลึกมาก การไหลดังกลาวมีการพัดพาตะกอนไปไดนอยมาก เชน การไหลของน้ําใตผิวดิน 3.2 การไหลแบบปนปวน (Turbulent Flows) เปนลักษณะการไหลของน้ําทั่วไป ภายใตสภาพทองน้ําที่ไมราบเรียบ มีความขรุขระมาก การไหลจึงไมสมํ่าเสมอ มีการพัดพาตะกอนไปตามกระแสน้ําไดมาก บางกรณีเกิดกระแสน้ําวน อันเนื่องมาจากสภาพความขรุขระของทองน้ํา การไหลแบบปนปวนลําน้ําจะไหลเร็วและมีการเปลี่ยนทิศทางไดงาย มีผลตอการกัดเซาะตลิ่งสองฝงน้ําเปนอยางมาก

อยางไรก็ตามความเร็วในการไหล (Velocity) ของลําน้ําทั้งสองแบบ ก็คือไหลไปตามแรงดึงดูดของโลก โดยมากเราวัดความเร็วในการไหลของน้ําเปน กิโลเมตรตอชั่วโมง องคประกอบทางดานสภาพความลาดชันของทองน้ํา ความขรุขระของทองน้ํา อัตราการไหล ลวนมีผลตอการไหลของน้ําทั้งส้ิน และพบวาการไหลของลําน้ําตามธรรมชาติ การไหลของลําน้ําในชวงตรงๆ ความเร็วในการไหลมากที่สุดบริเวณชวงกลางลําน้ํา และชาที่สุดบริเวณริมฝงลําน้ํา สวนทางน้ําที่เปนสวนโคง ความเร็วในการไหลสูงที่สุดอยูบริเวณสวนโคงดานนอก และชาที่สุดบริเวณสวนโคงดานใน เนื่องจากมีแรงเสียดทานมากกวา 4. กษัยการของลําน้ํา กษัยการของลําน้ําจากการศึกษาของ จอหน เพลยแฟร นักธรณีวิทยาชาวอังกฤษ ไดใหเหตุผลเกี่ยวกับการพัฒนาของลําน้ํา ในป ค.ศ.1802 ดังนี้ “ ลําน้ําทุกสายที่ปรากฏอยูทั่วๆ ไป จะประกอบดวยลําน้ําสายหลักมีสาขาแตกแยกออกไป สาขาของลําน้ําแตละสายจะมีลุมน้ําที่มีขนาดไดสัดสวนกับขนาดของลําน้ํา และสาขาของลําน้ําทุกสายจะไหลมารวมกันเปนระบบของลุมน้ํา โดยที่ลําน้ําสายเหลานั้นจะพยายามมีการปรับระดับของทองน้ําในขณะที่ไหลมาบรรจบกัน ไมมีลําน้ําสายใดเมื่อไหลมาบรรจบกันแลวจะมีระดับทองน้ําไมเทากัน และจะเปนไปไมไดที่ลุมน้ําที่มีลําน้ําไหลผานแลวจะไมถูกกระทําจากลําน้ําสายนั้น ” จะเห็นไดวากระบวนการกระทําของลําน้ําจะเกิดขึ้นอยูตลอดเวลา และการทํางานของแมน้ําที่มีผลตอพื้นดินสามารถแยกพิจารณาได 3 ลักษณะ คือ การกัดกรอน การนําพา การทับถม ดังนี้

4.1 การกัดกรอน (Erosion) หมายถึงการกระทําของลําน้ําตอทองน้ําและตลิ่งทั้งสองขางของลําน้ํา เรียกอีกอยางหนึ่งวา

กริยาอุทก (Hydraulic Action) แบงออกเปน 3 รูปแบบ ดังนี้

Page 6: บทที่ 9 1. - rmutphysics...1.1.2 ส นปนน า (Divide) เป นสวนแบ งของล า โดยสมน นป นน าเปนสวนท ส

158

4.1.1 การครูดไถ (Corrasion) เกิดจากการที่กอนหิน กรวด หรือทราย ที่แมน้ําพัดพามาครูดไถ กระแทกกับทองน้ํา และฝงลําน้ํา และครูดไถกันเอง ทําใหเกิดการกัดกรอนในบริเวณดังกลาว และขนาดของกอนหิน กรวด จะมีขนาดเล็กลง เรามักสังเกตไดวาในลําน้ําที่มีสีขุน การกัดกรอนแบบครูดไถจะรุนแรงมากกวาลําน้ําใส เนื่องจากความแตกตางของกระแสน้ําไหลมีความแรงตางกัน 4.1.2 การผุตัว (Corrosin)

เปนการกระทําของลําน้ําที่เกี่ยวของกับปฏิกิริยาเคมีอันเนื่องมาจาก กรดคารบอ- นิค (Carbonic) ที่เกิดจากการรวมตัวของน้ําฝนกับกาซคารบอนไดออกไซดในบรรยากาศ มีผลตอการกัดกรอนทําใหผิวหนาของหินดินดานผุลง และงายตอการกัดเซาะของลําน้ําตอไป เชน บริเวณที่ทองน้ําเปนหินปูน ซึ่งจะมีความทนทานตอการครูดไถแตมีสวนประกอบของแคลเซียมคารบอเนต เมื่อถูกกัดกรอนโดยกรดคารบอ-นิคจะผุตัวไดงายขึ้น นับเปนการผุพังทางเคมี 4.1.3 การสึกกรอน (Attrition) เปนกระบวนการกระทําสืบเนื่องจากการที่ตะกอนหิน ดิน ทราย กล้ิงไปกระแทกตัวกับทองน้ําและขางลําธารแรงอัดกระแทก (Quarrying) นี้สามารถทําใหหินฝงสองขางลําน้ําผุกรอนไดเปนจํานวนมาก ขณะเดียวกันหินบริเวณทองน้ําที่ถูกแรงอัดกระแทกจะแตกตัวออกและถูกน้ําพัดพาไปตามกระแสน้ํา เกิดการครูดไถทําใหมวลหินเหลานั้นมน ลดเหลี่ยมคมลง 4.2.การนําพา (Deflation) การนําพาของลําน้ําจะขึ้นอยูกับขนาดของวัตถุที่น้ําจะสามารถนําพาไปได เชน วัตถุที่มีขนาดใหญ ประเภทตะกอนหยาบ จะมีการเคลื่อนที่ไปตามทองน้ําโดยการกลิ้งหรือกระดอน (Saltation) ไปตามการนําพาของกระแสน้ํา วัตถุที่มีขนาดเล็ก เชน เม็ดทราย และมีความหนาแนนไมมากประกอบกับกระแสน้ําแรงจะถูกนําพาใหลอยไปกับน้ํา จัดเปนวัตถุพัดพาชนิดแขวนลอย (Suspended Load) สวนประการสุดทายคือวัตถุที่สามารถละลายไดจะถูกนําพาไปกับกระแสน้ํา ดังที่กลาวมาแลววาการนําพาของลําน้ําจะขึ้นอยูกับความเร็วของกระแสน้ําซึ่งจะมีผลโดยตรงตอการนําพาของลําน้ํา ซึ่งความเร็วของกระแสน้ําจะขึ้นอยูกับปจจัยตอไปนี้ -ความลาดเทของทองน้ํา น้ําจะไหลเร็วขึ้นถาทองน้ํามีความลาดเท มาก และจะไหลชาเมื่อความลาดเทต่ํา -รูปรางทางเรขาคณิตและความราบเรียบของทองน้ํา แมน้ําสองสาย ถามีปริมาณน้ําเทากัน แมน้ําที่กวางและตื้นเขินน้ําจะไหลไดชากวาแมน้ําที่มีความแคบและลึกกวา เนื่องจากแมน้ําที่กวางและตื้นจะมีพื้นที่ที่จะกอใหเกิดความเสียดทานใหความเร็วของน้ําลดลง และทองน้ําที่ขรุขระจะมีความเสียดทานมากกวาทองน้ําที่ราบเรียบ -ปริมาณน้ํา ถาปริมาณน้ํามีมากความเร็วของกระแสน้ําจะเพิ่มขึ้น แตอาจตองพิจารณาประกอบกับปจจัยขางตนดวย อยางไรก็ตามการเคลื่อนที่ของวัตถุจากการนําพาบนพื้นทองน้ําจะสัมพันธกับความสามารถในการพัดพา ซึ่งขึ้นอยูกับฤดูกาลดวย เชน ฤดูน้ําหลาก ความสามารถในการพัดพาจะมีการที่สุด

Page 7: บทที่ 9 1. - rmutphysics...1.1.2 ส นปนน า (Divide) เป นสวนแบ งของล า โดยสมน นป นน าเปนสวนท ส

159

4.3 การทับถม (Deposition) การทับถมมักขึ้นอยูกับกําลังในการนําพาของน้ํา เชนเดียวกับการกัดกรอนที่ขึ้นอยูกับกําลังการพัดพา โดยปกติแมน้ําจะมีการปรับสมดุลปริมาณของวัตถุที่จะนําพา ปริมาณของวัตถุที่แมน้ําตอนใดตอนหนึ่งไดรับจากแมน้ําตอนตนน้ํา หรือจากบริเวณที่ทําใหน้ําไมแนนอนหรือสมํ่าเสมอ การกัดกรอนและการทับถมวัตถุหรือตะกอนของลําน้ําเปนวิธีการหนึ่งในการรักษาสมดุลของทองน้ําที่มีความลาดเทสูง กระแสน้ําไหลแรงและมีกําลังการนําพาสูงเกินกวาปริมาณวัตถุที่ตองนําพา แมน้ําตอนนั้นจะกัดเซาะทองน้ําเพื่อเพิ่มปริมาณวัตถุ ในเวลาเดียวกันเปนการลดความลาดเทของทองน้ําหรือลดความสามารถในการนําพาของน้ําดวย ตรงกันขามตอนใดที่ทองน้ํามีความลาดเทนอย แตมีปริมาณวัตถุที่ตองนําพามากเกินไป แมน้ําจะทับถมวัตถุที่ตองนําพาลงจนพอดีกับกําลังการนําพาของมัน ในเวลาเดียวกันการทับถมจะเพิ่มความลาดเทของทองน้ําใหสูงขึ้นดวย ในบริเวณที่ความเร็วของกระแสน้ําลดลงอยางรวดเร็ว เชน เมื่อแมน้ําไหลลงบริเวณที่มีทองน้ํากวางและนิ่ง ไดแก ทะเลสาบ มหาสมุทร ความเร็วของกระแสน้ําจะลดลงทันที บริเวณเหลานี้จะมีการทับถมของวัตถุที่น้ําพัดพามา และตะกอนเชนเดียวกัน 5. ตัวอยางลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากกษัยการของน้ําไหล

5.1 ลักษณะภูมิประเทศบริเวณหุบเขาตนน้ํา เนื่องจากภูมิประเทศบริเวณหุบเขาตนน้ําเปนที่สูง ลําน้ํามีกําลังในการกัดเซาะรุนแรง จึง

มักเปนการกัดเซาะในแนวดิ่ง กอใหเกิดลักษณะภูมิประเทศดังตัวอยางเชน 5.1.1 รองน้ํา (Channel)

เปนสวนที่ลึกที่สุดของลําน้ํา ซึ่งเกิดจากกษัยการของทองน้ําอันเนื่องมาจากความลาดชันของภูมิประเทศและทองน้ําทําใหลําน้ํามีการกัดเซาะทองน้ําในแนวดิ่งใหลึกลงเรื่อยๆ จึงมักเกิดบริเวณหุบเขาบริเวณตนน้ํา ประกอบกับผนังหุบเขาสองฝงแมน้ํามีความลาดชันมากและเปนหินแข็งแรงประกอบกับไมมีความชื้นหรือปริมาณน้ําฝนเพียงพอในการกัดเซาะ และการผุพังสลายตัวของมวลสารชา จึงมีลักษณะเปนหุบเขาแคบ และลึก ไมมีที่ราบริมสองฝงแมน้ํา เปนหุบเขาหรือรองน้ํารูปตัว “วี” (V – Shape) บริเวณทองน้ําไมมีดินหรือทรายละเอียด เนื่องจากถูกพัดพาไปหมด คงเหลือแตกรวดหินขนาดตางๆ ตามพื้นธารน้ํา รูปที่ 3 แสดงรองน้ําที่เกิดจากกษัยการ

ของทองน้ําอันเนื่องมาจากความลาดชัน ของภูมิประเทศ ที่มา : Carla W. Montgomery , 1990.

5.1.2 โกรกธาร (Gorge)

Page 8: บทที่ 9 1. - rmutphysics...1.1.2 ส นปนน า (Divide) เป นสวนแบ งของล า โดยสมน นป นน าเปนสวนท ส

160

เกิดจากการกัดเซาะของรองน้ําประกอบกับธารเปนลักษณะของหุบผาชันที่ลึก และแคบลักษณะคลายรูปตัววี (V-Shape) เกิดจากกระบวนการกัดเซาะที่เปนไปอยางรวดเร็วและรุนแรง จากกระแสน้ําไหล จนสามารถกัดเซาะหินที่แข็งแรงได มักเกิดในกรณีที่ธารน้ําเดิมที่มีอยูกอน ตอมาเกิดการยกตัวของแผนดิน ธารน้ําจะยังคงรักษาแนวรองน้ําเดิมไวได เนื่องจากมีพลังแรงในการกัดเซาะแผนดินที่ยกตัวสูงขึ้นไดอยางรวดเร็วและรุนแรง เชน โกรกธารที่อุทยานแหงชาติออบหลวง จังหวัดเชียงใหม สันนิษฐานวาการที่แมน้ําแมแจมมีรองน้ําไหลผานซอกเขาแคบๆ หรือที่เรียกวา “โกรกธาร” (Gorge) โดยสามารถไหลตัดผานแนวสันเขาหินแกรนิตไนสที่ขวางอยูได แสดงวาแมน้ําแมแจมอาจมีอยูแลวแตเดิม กอนที่จะมีการยกตัวของแผนดินหรือภูเขาในบริเวณเขตอุทยานแหงชาติออบหลวง และแมน้ําแมแจมสามารถไหลกัดเซาะทองน้ําไดอยางรวดเร็วและรุนแรง ทันกับการยกตัวขึ้นสูงของแผนดิน (ภูมิลักษณประเทศไทย , 2534.) รูปที่ 4 แสดงโกรกธาร อุทยานแหงชาติ ออบหลวง จังหวัดเชียงใหม ที่มา : จากการสํารวจ.

5.1.3 หุบผาชัน (Canyon)

ลักษณะภูมิประเทศแบบ “หุบผาชัน” (Canyon) เปนลักษณะภูมิประเทศที่มักเกิดในเขตภูมิอากาศแหงแลงที่มีฝนตกเปนครั้งคราว จะทําใหเกิดกษัยการขึ้นอยางรุนแรงทําใหหุบเขาที่เปนทางของลําน้ํามีการขยายตัวออกกวางและลําน้ําจะมีการกัดเซาะหุบผาชันและลึกลงไปมาก เชน แกรนดแคนยอน ที่มีแมน้ําโคโลราโดไหลผาน ในประเทศสหรัฐอเมริกา

รูปที่ 5 แสดงลักษณะภูมิประเทศ หุบผาชัน แกรนแคนยอน ที่มา : Robert W. Christopherson,1994.

5.1.4 น้ําตก (Waterfall)

Page 9: บทที่ 9 1. - rmutphysics...1.1.2 ส นปนน า (Divide) เป นสวนแบ งของล า โดยสมน นป นน าเปนสวนท ส

161

เกิดจากการกัดเซาะทองน้ําที่ไมเทากันเนื่องจากโครงสรางของหินทองน้ําที่มีความแข็งแกรงไมเทากัน โดยหินที่มีความแข็งแกรงนอยรองรับตัวอยูดานใตของหินที่แข็งแรงกวา หินที่ออนกวาจะเกิดการสึกกรอนเร็วกวา และถูกกัดเซาะจนพังทลาย ทําใหเกิดโพรงใตชั้นหินแข็ง และเกิดการยุบตัวลงมากลายเปนสวนหนาผาชันของน้ําตก สวนที่ยุบตัวลงมาเกิดเปนทองน้ําที่อยูในระดับที่ต่ําลงมาจนกลายเปน “แองฐานน้ําตก” (Plunge-poll)

รูปที่ 6 แสดงลักษณะน้ําตก และแอง ฐานน้ําตก

ที่มา : การทองเที่ยวแหงประเทศไทย , 2540.

5.1.5 แกง (Rapid) เกิดจากการกัดเซาะบริเวณทองน้ําที่มีความแตกตางกัน เนื่องจากความแข็งของ

หินทองน้ําสวนที่แข็งแกรงหลงเหลืออยูกลายเปนโขดหินกระจัดกระจายอยูตามทองน้ํา ในฤดูแลงเมื่อระดับน้ําลดลงจะปรากฏแกงขึ้นมากมาย ถาโขดหินเหลานี้มีขนาดใหญกีดขวางการไหลของกระแสน้ําทําใหเกิดกระแสน้ําไหลโจนผานโขดหินเหลานี้ เราจึงเรียกวา แกงน้ําตก (Cataract) แกงเหลานี้มักเปนอุปสรรคตอการคมนาคมทางน้ํามาก แตก็มีคุณคาทางภูมิทัศน นับเปนสถานที่ดึงดูดความสนใจ เชน แกงตะนะ จังหวัดอุบลราชธานี หรือ แกงโตน จังหวัดเลย

รูปที่ 7 แสดงลักษณะของแกง ที่มา : การทองเที่ยวแหงประเทศไทย,2540.

Page 10: บทที่ 9 1. - rmutphysics...1.1.2 ส นปนน า (Divide) เป นสวนแบ งของล า โดยสมน นป นน าเปนสวนท ส

162

5.1.6 กุมภลักษณ (Pothole)

กุมภลักษณเกิดจากการกัดเซาะของลําน้ําตามทองน้ําโดยเกิดจากการไหลวนของกระแสน้ําที่มีตะกอนจําพวก กรวด ทราย หรือหินขนาดเล็กพัดพามาครูดไถหินดินดานทําใหเกิดลักษณะของโพรงหิน หลุมทรงกระบอก หรือ หลุมทรงหมอ ปรากฏอยูในหินดินดานตามทองน้ํา ขนาดของกุมภลักษณมีตั้งแตขนาด 2 - 3 เซนติเมตร จนถึง 40 - 50 เซนติเมตร สวนลางของหลุมจะมีเศษหิน กรวด ทราย ปรากฏอยู ซึ่งตะกอนเหลานี้เปนตัวครูดไถใหหลุมมีความลึกและกวางขึ้นตลอดเวลา (รูปที่ 8) การไหลของน้ํา หินดินดาน กรวด

รูปที่ 8 แสดงการเกิดและลักษณะของกุมภลักษณ (Pot Hole) ที่มา : Charles C. Plummer และ David McGeary, 1991.

5.2 ลักษณะภูมิประเทศบริเวณที่ราบตอนกลางและตอนปลายของแมน้ํา กระบวนการทับถมของตะกอนจากการพัดพาของน้ํา จะเกิดเมื่อความเร็วของน้ําลดลง เนื่องจากรองน้ําที่ขยายกวางขึ้น หรือลําน้ําที่ไหลผานบริเวณที่ราบ การทับถมของตะกอนที่เกิดจากลําน้ําจะทําใหเกิดลักษณะภูมิประเทศแบบตางๆ ขึ้นมา สามารถแยกพิจารณาไดดังนี้

5.2.1 ตะพักลําน้ํา (Stream Terrace) ตะพักลําน้ํามีลักษณะเปนที่ราบแคบๆ ที่มีระดับลดหลั่นกันลงมา มักปรากฏตาม

สองฟากฝงแมน้ํา ประกอบดวย ดิน ทราย กรวด เปนตน สาเหตุเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงระดับความสูงของพื้นแผนดินอันเนื่องมาจากการยกตัวหรือการยุบตัวที่เกิดขึ้นมาสลับกันเปนครั้งคราว หรือเกิดจากการทับถมของตะกอนที่เปนไปอยางตอเนื่องเปนเวลานาน ครั้นตอมาการไหลของน้ํามีความรุนแรงมากขึ้นแผนดินถูกยกตัวใหสูงขึ้นหรือระดับน้ําทะเลลดต่ําลง กระบวนการกัดเซาะจะยังดําเนินตอไป และกัดเซาะทองน้ําและที่ราบน้ําทวมถึงเดิมใหลดระดับลงมาอีกจึงเกิดเปนที่ราบลุมผืนใหมขึ้นมา และถาเกิดวนเวียนกันเชนนี้ไปเรื่อยๆ จะทําใหปรากฏเปนลักษณะที่ราบแคบๆ หลายผืนตอเนื่องกันไป แตมีระดับความสูงลดหลั่นกันลงมาเหมือนขั้นบันไดบริเวณสองฟากฝงของลําน้ํา ตะพักลําน้ําที่มีอายุมากจะอยูสูง สวนที่อายุนอยจะอยูลดหลั่นกันลงมาตามลําดับ (รูปที่ 9)

Page 11: บทที่ 9 1. - rmutphysics...1.1.2 ส นปนน า (Divide) เป นสวนแบ งของล า โดยสมน นป นน าเปนสวนท ส

163

รูปที่ 9 แสดงตะพักลําน้ํา ที่มา : Robert W. Christopherson,1994.

5.2.2 เนินตะกอนรูปพัด (Alluvian Fan) เกิดจากการตกตะกอนทับถมของวัตถุที่ถูกน้ําพัดพามาและลําน้ํามีการไหลผาน

ลงมาจากหุบเขาชัน (Canton) สูที่ราบ (Plain) หรือหุบเขาขยายตัวออกไปเปนบริเวณกวาง ทําใหการเปลี่ยนระดับของลําน้ําลงอยางรวดเร็วทําใหความรุนแรงของกระแสน้ําลดลง เกิดการตกตะกอนทับถมของตะกอนแผกระจายเปนรูปพัดขึ้นมาในบริเวณหุบเขา เนินตะกอนรูปพัดมีรูปรางคลายกรวย (Cone Shape) มีขนาดกวางใหญเปนดินตะกอนที่ถูกแมน้ําพัดพามามักพบบริเวณที่ราบเชิงเขาเปนสวนมาก (รูปที่ 10)

หุบผาชัน เนินตะกอน รูปพัด

รูปที่ 10 แสดงการเกิด และลักษณะเนินตะกอนรูปพัด ที่มา : Charles C. Plummer และ David McGeary , 1991.

Page 12: บทที่ 9 1. - rmutphysics...1.1.2 ส นปนน า (Divide) เป นสวนแบ งของล า โดยสมน นป นน าเปนสวนท ส

164

5.2.3 ทางน้ําโคงตวัดและบึงโคง (Meander and Oxbow lake) ตามลักษณะภูมิประเทศแบบที่ราบน้ําทวมถึงของแมน้ําสายใหญๆ การโคงของการโคงของลําน้ําจะมีมากยิ่งขึ้น การโคงของลําน้ําเกิดมาจากกษัยการขางธารน้ําสลับกับการตกทับถมตามชายฝงที่อยูตรงกันขาม การคดโคงดังกลาวเราเรียกวา “ทางน้ําโคงตวัด” (Stream Meander) (รูปที่ 11) ซึ่งเปนกระบวนการกระทําของลําน้ําแบบหนึ่ง ทําใหเกิดลักษณะภูมิประเทศจากการทับถมของลําน้ํา เกิดจากการที่ลําน้ําที่ไหลมีการกัดเซาะชายฝงสองบริเวณ โดยสองฝงลําน้ําจะถูกกัดเซาะทําใหเกิด “ชายฝงตลิ่งชัน” (Cut bank) และ ดานตรงกันขามจะเกิดการทับถมกันของตะกอนลําน้ํากลายเปน “ชายฝงยื่นออกมา” (Point bar) และพื้นดินที่เปนตะกอนทับถมที่ยื่นออกไปในลําน้ําเราเรียกวา “ตะกอนหัวหาด” (Point bar deposit) เปนลักษณะของเนินทรายจากการทับถมของตะกอนทางดานในของหัวโคงของทางน้ําโคงตวัด ประกอบดวยกรวดทรายที่ตกทับถมกันเปนเนินโคงออกจากฝงน้ํา และพื้นที่ที่เกือบจะถูกน้ําลอมรอบเราเรียกวา “แกนทางน้ําโคงตวัด” (Meander core) ถากระบวนการกระทําของลําน้ําดําเนินตอไปจนกระทั่งพื้นที่แกนทางน้ําโคงตวัดกัดเซาะจนกระทั่งสวนที่โคงงอของลําน้ํามาตอกันแลว เราเรียกสวนดังกลาววา “สวนตัดออก” (Cutoff) และจะเกิดพื้นที่ดินที่ถูกลอมรอบดวยลําน้ํากลายเปนเกาะขณะเดียวกันการไหลของลําน้ําจะเปลี่ยนทางเดินไปตามแนวรองน้ําที่เกิดใหม ดานหัวทายของรองน้ําเกาจะถูกตะกอนพัดพามาทับถมใหสูงขึ้น พัฒนากลายเปน “ทะเลสาบรูปแอก” (Oxbow lake) ตอไป บึงโคงนี้ตอมาจะถูกทําลายลงเนื่องจากการทับถมของตะกอนชายฝงกลายมาเปนที่ราบน้ําทวมถึงเรียกวา “รอยบึงโคง” (Oxbow Scar) ซึ่งเปนที่ลุมน้ําขังชื้นแฉะตอไป แกนทางน้ําโคงตวัด ทะเลสาบรูปแอก (Oxbow Lake)

ทางน้ําโคงตวัด (Stream Meander) รูปที่ 11 แสดงกระบวนการเกิด

ทางน้ําโคงตวัดและบึงโคง ที่มา : Charles C. Plummer และ

David McGeary , 1991

Page 13: บทที่ 9 1. - rmutphysics...1.1.2 ส นปนน า (Divide) เป นสวนแบ งของล า โดยสมน นป นน าเปนสวนท ส

165

สําหรับการตกทับถมของตะกอนตอลักษณะภูมิประเทศแบบทางน้ําโคงตวัดนี้ ในประเทศไทยที่เห็น ไดชัดเจนไดแกบริเวณลําน้ําเจาพระยาที่มีลักษณะโคงไปโคงมา ดูคลายเสนเชือกที่วางโคงเปนหยักซึ่งเปน ลักษณะของทางน้ําโคงตวัด (Stream Meander) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เขตพระโขนง เขตยานนาวา (รูปที่ 12) ภายในบริเวณทางน้ําโคงตวัดนี้มีพื้นที่ประมาณ 18 ตารางกิโลเมตร พื้นที่บริเวณนี้เรียกวา “บานบางกระเจา” สวนใหญเปนพื้นที่สวน ถือไดวาเปนพื้นที่ปอดของกรุงเทพมหานครแหงหนึ่ง ในดานความสําคัญของการ คมนาคมบริเวณริมฝงตะวันตกแถบตอนกลางของลําน้ําโคงตวัดเปนที่ตั้งของการทาเรือแหงประเทศไทย (พื้นที่ ในวงกลม) เรือตางๆ ที่ขนสงสินคาใชเปนเสนทางผานเขาออกจากอาวไทยผานปากแมน้ําเจาพระยาเขามายัง การทาเรือแหงประเทศไทย ดังภาพลักษณะเดนของทางน้ําโคงตวัดนี้คือ มีสวนแคบของคอคอด (Neck) เพียง 625 เมตร หากตอไปจากการกระทําของลําน้ํามีการตัดออก (Cutoff) สวนของคอคอดออกจากกันแลวจะมีผลกระทบโดยตรงตอการทาเรือแหงประเทศไทย

รูปที่ 12 แสดง บริเวณทางโคงตวัดของแมน้ําเจาพระยา ที่มา : สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแหงชาติ , 2538.

5.2.4 ที่ราบลุมแมน้ํา ที่ราบลุมแมน้ํา เกิดจากกระบวนการทับถมของตะกอนขนาดตางๆ ทางดานใน

ของทางโคงแมน้ํา ซึ่งเปนการทับถมในตัวของแมน้ําไปเรื่อยๆ ในขณะที่ลําน้ําไหลไป ลักษณะดังกลาว บริเวณดานขางริมน้ําดานหนึ่งจะถูกกัดเซาะออกไปทับถมยังอีกดานหนึ่งของลําน้ํา นอกจากนั้นการเกิดที่ราบลุมแมน้ํายังเกิดจากการทับถมในขณะที่เกิดน้ําทวมฝง ตะกอนที่พัดพามากับน้ําจะตกทับถมริมสองฝงแมน้ําในขณะที่น้ําทวมลนเออสองฝง ทําใหมีการตกทับถมของตะกอนเปนบริเวณกวาง เกิดเปนที่ราบลุมแมน้ําขนาดใหญ เชน ที่ราบลุมแมน้ําเจาพระยา บริเวณตอนกลางของประเทศไทย เปนตน

Page 14: บทที่ 9 1. - rmutphysics...1.1.2 ส นปนน า (Divide) เป นสวนแบ งของล า โดยสมน นป นน าเปนสวนท ส

166

5.3 ลักษณะภูมิประเทศบริเวณปากแมน้ํา ลักษณะภูมิประเทศบริเวณปากแมน้ําเกิดจากการทับถมของตะกอนปากแมน้ําที่ไหลลงสูทะเลหรือมหาสมุทร การทับถมของเม็ดดิน กรวด หรือทราย จะทําใหเกิดพื้นดินงอกสูงจากระดับน้ําทะเลขึ้นมา เราจึงเรียกวา ดินดอนสามเหลี่ยม การทับถมของตะกอนจะเกิดเมื่อความเร็วของน้ําลดลง และกระแสน้ําบริเวณชายฝงทะเลไมแรงเกินไป ตะกอนหยาบจะตกทับถมตัวกอน สวนตะกอนละเอียดจะตกทับถมในลําดับตอไป ถาหากอัตราการตกทับถมของตะกอนมีมากกวาการพัดพาตะกอนของกระแสน้ําชายฝงก็จะเกิดดินดอนสามเหลี่ยมปากแมน้ําขึ้น ดินดอนสามเหลี่ยมแตละแหงจะมีรูปแบบที่แตกตางกันออกไปเราสามารถจําแนกไดดังนี้ 5.3.1 ดินดอนสามเหลี่ยมปากแมน้ํารูปโคง (Arcuate Delta)

เกิดจากการที่กระแสน้ําพัดพาเอาตะกอนตางๆ มาตกทับถมกันโดยไดรับอิทธิพล จากกระแสน้ําชายฝง กระแสน้ําจะพัดพาทําใหฐานของดินดอนสามเหลี่ยมเปนรูปโคงขึ้นมา เชนดินดอนสามเหลี่ยมบริเวณปากแมน้ําไนล ประเทศอียิปต (รูปที่13) มีลักษณะเปนรูปสามเหลี่ยม หรือรูปพัด 5.3.2 ดินดอนสามเหลี่ยมปากแมน้ํารูปยาว (Elongated Delta) เปนลักษณะของดินดอนสามเหลี่ยมที่มีสวนยาวมากกวาสวนกวางสันนิษฐานวาเปนเพราะน้ําในแมน้ํามีความหนาแนนมากกวาน้ําทะเล เมื่อไหลลงสูทะเลตะกอนตางๆ จึงไมมีการแพรกระจายออก ยังคงรักษารูปของลําน้ําในทะเลไดระยะหนึ่ง และตะกอนมีการตกทับถมตัวกันมีผลทําใหดินดอนสามเหลี่ยมที่เกิดจากการทับถมเปนรูปยาว (รูปที่ 13)

5.3.3 ดินดอนสามเหลี่ยมปากแมน้ํารูปตีนกา (Bird Foot Delta) มีลักษณะเปนแฉกๆ เหมือนตีนกาเพราะมีลําน้ํายอยแยกหลายสาย เกิดจาก

เมื่อธารน้ําไหลออกมาถึงบริเวณปากแมน้ําที่ติดตอกับชายฝงทะเลความเร็วของกระแสน้ํามีอัตราลดลงอยางทันทีทันใด ทําใหเกิดการตกทับถมของดินตะกอนบริเวณปากแมน้ํามากกวาอัตราการพัดพาของกระแสน้ําชายฝง และธารน้ํามีความหนาแนนนอยกวาน้ําทะเลชายฝง ทําใหธารน้ํามีการไหลแตกออกเปนสายยอยๆ คลายตีนกา หรือรูปนิ้วมือ (รูปที่ 14) ดินดอนสามเหลี่ยมปากแมน้ํารูปโคง ดินดอนสามเหลี่ยมปากแมน้ํารูปยาว

Page 15: บทที่ 9 1. - rmutphysics...1.1.2 ส นปนน า (Divide) เป นสวนแบ งของล า โดยสมน นป นน าเปนสวนท ส

167

บริเวณแมน้ําไนล ประเทศอียิปต แมน้ํา Ganges ประเทศบังคลาเทศ

รูปที่ 13 แสดงดินดอนสามเหลี่ยมปากแมน้ํารูปโคง และรูปยาว ที่มา : Robert W. Christopherson,1994.

รูปที่ 14 แสดงดินดอนสามเหลี่ยมรูปตีนกาบริเวณแมน้ํามิสซิสซิปป ประเทศสหรัฐอเมริกา

ที่มา : Robert W. Christopherson,1994. 6. วิวัฒนาการของลําน้ํา

แมน้ําและหุบเขามีวิวัฒนาการตามขั้นตอน (อภิสิทธิ์ เอี่ยมหนอ,2519) ซึ่งเปนลําดับตามวิวัฒนาการ โดยลักษณะของลําน้ําและหุบเขาเปนเกณฑในการศึกษา สรุปไดเปน 3 ระยะ คือ ระยะปฐมวัย (Youth) ระยะมัชฌิมวัย (Maturity) และ ระยะปจฉิมวัย (Old) ดังนี้

6.1 ระยะปฐมวัย (Youth) เปนระยะเริ่มแรก โดยธารน้ําไหลผานหุบผาชัน ลึก และแคบ เปนรูปตัววี ความลาดเทของ

ทองน้ํามีความลาดชัน และขรุขระมาก มีการกัดกรอนในแนวลึก ทําใหเกิดความแตกตางของระดับความสูง ชายฝงน้ําสวนใหญไมถูกกัดเซาะ มีน้ําตกและแกงเกิดขึ้นมากมาย ไมปรากฏวามีที่ราบน้ําทวมถึง และทางน้ําโคงตวัดแตอยางใด

6.2 ระยะมัชฌิมวัย (Maturity) ลักษณะลําน้ํามีความลาดชันและความลาดเทของทองน้ําลดลงกวาเดิม หุบเขาหรือรองน้ํา

Page 16: บทที่ 9 1. - rmutphysics...1.1.2 ส นปนน า (Divide) เป นสวนแบ งของล า โดยสมน นป นน าเปนสวนท ส

168

มีการขยายกวางขึ้น ระบบระบายน้ําเริ่มปรับเขาสูรูปแบบในเบื้องตน เกิดลําน้ําสายยอยตางๆ ตามมามากมาย แกงและน้ําตกมีนอยลง พบทางน้ําโคงตวัดทั่วไป และพบที่ราบน้ําทวมถึงแตยังเปนบริเวณที่ไมกวางขวางมากนัก การกัดเซาะบริเวณทองน้ําลดลง

6.3 ระยะปจฉิมวัย (Old) จากการกัดเซาะที่มีมาอยางตอเนื่องยาวนาน ทําใหความแตกตางของลักษณะภูมิประเทศ

นอยลง หุบเขาและรองน้ํามีการขยายตัวกวางมากขึ้น ความลาดชันลดลง ระบบการระบายน้ําเริ่มปรับเขาสูรูปแบบ และสภาพภูมิประเทศ เกิดเปนลําน้ําสายใหญ และรอง ไมมีน้ําตกและแกงอีกตอไป แตมีทางน้ําโคงตวัด และทะเลสาบรูปแอกมากขึ้น และเกิดที่ราบน้ําทวมถึงเปนบริเวณกวางมีการสะสมตัวของตะกอนเพิ่มมากขึ้น สําหรับระยะเวลาในแตละชวงของพัฒนาการมีระยะเวลาที่ยาวนานมากเปนลานๆ ป ซึ่งก็ขึ้นอยูกับบริเวณแตละบริเวณวามีหินรองรับที่มีความทนทานตอการกัดกรอนไดมากเพียงใด และเนื่องจากวิวัฒนาการที่ยาวนานจึงทําใหวิวัฒนาการของลําน้ํามักไมมีโอกาสที่จะเกิดไดครบตามวัฏจักรของมัน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงระหวางวิวัฒนาการเสมอ ทําใหตองมีการปรับวิวัฒนาการใหม เราเรียกวา "การคืนพลัง" (Rejuvenation) สาเหตุที่ทําใหแมน้ําคืนพลัง เชน การเปล่ียนแปลงระดับน้ําทะเล การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเปล่ียนแปลงแปรรูปของเปลือกโลก เปนตน จากที่ศึกษามาทั่งหมดเราจะเห็นไดวาระบบลําน้ํานับวามีอิทธิพลทั่งทางตรงทางออมตอการดํารงชีวิตของมนุษยและการปรับเปล่ียนสภาวะแวดลอมทางกายภาพ และการตั้งถิ่นฐานของมนุษยตั้งแตสมัยโบราณมักมีการอยูรวมกันอยางหนาแนนบริเวณริมแมน้ําและพื้นที่ลุมน้ําตางๆ ดังนั้นนับวาประโยชนอันมหาศาลของลําน้ํา เราสามารถกลาวไดโดยสรุปวามีประโยชนอยางมากมายไมวาจะเปนเสนทางการคมนาคมขนสงที่สําคัญ การใชประโยชนเปนที่ตั้งของทาเรือในการติดตอคาขายขนสงสินคา ใชเปนเสนทางสงน้ําเพื่อการชลประทาน การเปนแหลงเพาะปลูกที่สําคัญ เปนแหลงประมงน้ําจืด การเพาะเลี้ยงสัตวน้ํา การใชเปนแนวพรมแดนระหวางประเทศ ใชเปนแหลงพลังงานในการผลิตกระแสไฟฟาตลอดจนเปนแหลงผลิตกระแสไฟฟาตลอดจนเปนแหลงระบายสิ่งโสโครกจากการอุปโภคของมนุษยเชนกัน

Page 17: บทที่ 9 1. - rmutphysics...1.1.2 ส นปนน า (Divide) เป นสวนแบ งของล า โดยสมน นป นน าเปนสวนท ส

หนังสืออิเล็กทรอนิกส

ฟสิกส 1(ภาคกลศาสตร( ฟสิกส 1 (ความรอน)

ฟสิกส 2 กลศาสตรเวกเตอร

โลหะวิทยาฟสิกส เอกสารคําสอนฟสิกส 1ฟสิกส 2 (บรรยาย( แกปญหาฟสิกสดวยภาษา c ฟสิกสพิศวง สอนฟสิกสผานทางอินเตอรเน็ต

ทดสอบออนไลน วีดีโอการเรียนการสอน หนาแรกในอดีต แผนใสการเรียนการสอน

เอกสารการสอน PDF กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร

แบบฝกหัดออนไลน สุดยอดสิ่งประดิษฐ

การทดลองเสมือน

บทความพิเศษ ตารางธาตุ)ไทย1) 2 (Eng)

พจนานุกรมฟสิกส ลับสมองกับปญหาฟสิกส

ธรรมชาติมหัศจรรย สูตรพื้นฐานฟสิกส

การทดลองมหัศจรรย ดาราศาสตรราชมงคล

แบบฝกหัดกลาง

แบบฝกหัดโลหะวิทยา แบบทดสอบ

ความรูรอบตัวท่ัวไป อะไรเอย ?

ทดสอบ)เกมเศรษฐี( คดีปริศนา

ขอสอบเอนทรานซ เฉลยกลศาสตรเวกเตอร

คําศัพทประจําสัปดาห ความรูรอบตัว

การประดิษฐแของโลก ผูไดรับโนเบลสาขาฟสิกส

นักวิทยาศาสตรเทศ นักวิทยาศาสตรไทย

ดาราศาสตรพิศวง การทํางานของอุปกรณทางฟสิกส

การทํางานของอุปกรณตางๆ

Page 18: บทที่ 9 1. - rmutphysics...1.1.2 ส นปนน า (Divide) เป นสวนแบ งของล า โดยสมน นป นน าเปนสวนท ส

การเรียนการสอนฟสิกส 1 ผานทางอินเตอรเน็ต

1. การวัด 2. เวกเตอร3. การเคลื่อนท่ีแบบหนึ่งมิต ิ 4. การเคลื่อนท่ีบนระนาบ5. กฎการเคลื่อนท่ีของนิวตัน 6. การประยุกตกฎการเคลื่อนท่ีของนิวตัน7. งานและพลังงาน 8. การดลและโมเมนตัม9. การหมุน 10. สมดุลของวัตถุแข็งเกร็ง11. การเคลื่อนท่ีแบบคาบ 12. ความยืดหยุน13. กลศาสตรของไหล 14. ปริมาณความรอน และ กลไกการถายโอนความรอน15. กฎขอท่ีหน่ึงและสองของเทอรโมไดนามิก 16. คุณสมบัติเชิงโมเลกุลของสสาร

17. คลื่น 18.การสั่น และคลื่นเสียง การเรียนการสอนฟสิกส 2 ผานทางอินเตอรเน็ต

1. ไฟฟาสถิต 2. สนามไฟฟา3. ความกวางของสายฟา 4. ตัวเก็บประจุและการตอตัวตานทาน 5. ศักยไฟฟา 6. กระแสไฟฟา 7. สนามแมเหล็ก 8.การเหนี่ยวนํา9. ไฟฟากระแสสลับ 10. ทรานซิสเตอร 11. สนามแมเหล็กไฟฟาและเสาอากาศ 12. แสงและการมองเห็น13. ทฤษฎีสัมพัทธภาพ 14. กลศาสตรควอนตัม 15. โครงสรางของอะตอม 16. นิวเคลียร

การเรียนการสอนฟสิกสท่ัวไป ผานทางอินเตอรเน็ต

1. จลศาสตร )kinematic) 2. จลพลศาสตร (kinetics) 3. งานและโมเมนตัม 4. ซิมเปลฮารโมนิก คลื่น และเสียง

5. ของไหลกับความรอน 6.ไฟฟาสถิตกับกระแสไฟฟา 7. แมเหล็กไฟฟา 8. คลื่นแมเหล็กไฟฟากับแสง9. ทฤษฎีสัมพัทธภาพ อะตอม และนิวเคลียร

ฟสิกสราชมงคล