51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 :...

31
ปีท่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554 Vol.4 No.1 January - June 2011 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic Crisis 2008-2009 : Cause & Effect ศรุตม์ เพชรสกุลวงศ์ 1* Sarut Petchsakunwong 1* 1* อาจารย์ประจ�า คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา อ�าเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000 1* A Lecturer, Faculty of Humanities and Social Science, Songkhla Rajabhat University, Mueang, Songkhla 90000 *ผู้นิพนธ์ประสานงาน : หมายเลขโทรศัพท์ 0-7433-6933 และ E-mail : [email protected] บทน�า รายงานข่าวเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศตั้งแต่ปลายปี 2008 จนสิ้นปี 2009 มักมแต่ข่าวในเชิงลบโดยตลอด ทั้งจากตัวเลขผลประกอบการที่ตกต�่าของบริษัทข้ามชาติ การล้มละลายของ สถาบันการเงินระดับโลก ดัชนีส�าคัญในตลาดหุ้นทั่วโลกตกต�่าลงเป็นประวัติการณ์ ส่งผลต่อราคาทองค�า และราคาน�้ามันผันผวนอย่างหนัก บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ปิดกิจการเป็นจ�านวนมาก พนักงานถูกเลิกจ้าง นับล้านคน ฯลฯ รายงานข่าวในลักษณะนี้ท�าให้หลายคนตั้งค�าถามว่า วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้มีสาเหตุจาก อะไร? มีความรุนแรงเพียงใด? และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างไร? ซึ่งบทความฉบับนี้ได้พยายาม น�าเสนอบางส่วนของค�าตอบจากค�าถามดังกล่าว ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลโดยอาศัยรายงานข่าวเศรษฐกิจ ของส�านักข่าวส�าคัญทั้งในและต่างประเทศ เช่น ส�านักข่าวไทย รอยเตอร์ บีบีซี อาศัยการประเมินตัวเลข ทางเศรษฐกิจของสถาบันการเงินระดับโลกทั้งจากธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ อ้างอิง ข้อมูลสถิติที่ส�าคัญจากหน่วยงานของรัฐบาลแต่ละประเทศ เช่น ธนาคารกลางสหรัฐฯ ดัชนีตลาดหุ้น ราคา ซื้อขายน�้ามันและทองค�าล่วงหน้า รวมถึงสอดแทรกบทวิเคราะห์ที่ส�าคัญจากนักเศรษฐศาสตร์ระดับโลก เพื่อให้ได้ข้อมูลที่พอจะเป็นประโยชน์ส�าหรับค�าถามจากวิกฤตเศรษฐกิจที่ทุกคนทั่วโลกก�าลังเผชิญอยู ่ใน ขณะนีวิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008 มีความรุนแรงมากเพียงใด? วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นปลายปี 2008 นั้นมีเค้าลางจากปัญหาในระบบสินเชื่อซับไพรม์ของ สหรัฐฯ ที่เริ่มก่อตัวตั้งแต่กลางปี 2007 จนลุกลามบานปลายเข้าสู่ระบบสถาบันการเงิน ส่งผลให้เกิด ภาวะการล้มละลายของสถาบันการเงินยิ่งใหญ่ระดับโลกสัญชาติอเมริกันเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2008 และน�าไปสู่สภาวะตึงตัวทางการเงินของประเทศต่างๆ ทั่วโลก เนื่องจากจุดเริ่มต้นของวิกฤตเศรษฐกิจครั้ง นี้เกิดขึ้นที่สหรัฐฯ จึงเรียกวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ในอีกชื่อหนึ่งว่า “Hamburger Crisis” หรือ “วิกฤต แฮมเบอร์เกอร์” ค�าถามที่ส�าคัญค�าถามหนึ่งที่มีต่อวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้คือค�าถามที่ว่า “วิกฤตเศรษฐกิจครั้ง นี้มีความรุนแรงแค่ไหน? และจะยาวนานเพียงใด?” ในช่วงเริ่มต้นของวิกฤตเศรษฐกิจตั้งแต่ปลายปี 2008 ถึงต้นปี 2009 ยังไม่มีผู้ใดที่กล้ายืนยันถึงสถานการณ์ความรุนแรงและระยะเวลาของวิกฤตครั้ง นี้ได้อย่างถูกต้องแม่นย�า เนื่องจากในขณะนั้นทุกๆ ฝ่ายยังคงสับสนและตื่นกลัวถึงผลกระทบที่ก�าลัง

Upload: dinhthuy

Post on 08-Feb-2017

226 views

Category:

Documents


5 download

TRANSCRIPT

Page 1: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554Vol.4 No.1 January - June 2011

51

วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบWorld Economic Crisis 2008-2009 : Cause & Effect

ศรุตม์ เพชรสกุลวงศ์1*

Sarut Petchsakunwong1*

1*อาจารย์ประจ�า คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา อ�าเภอเมือง จังหวัดสงขลา 900001*A Lecturer, Faculty of Humanities and Social Science, Songkhla Rajabhat University, Mueang,

Songkhla 90000*ผู้นิพนธ์ประสานงาน : หมายเลขโทรศัพท์ 0-7433-6933 และ E-mail : [email protected]

บทน�า รายงานข่าวเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศตั้งแต่ปลายปี 2008 จนสิ้นปี 2009 มักมีแต่ข่าวในเชิงลบโดยตลอด ทั้งจากตัวเลขผลประกอบการที่ตกต�่าของบริษัทข้ามชาติ การล้มละลายของสถาบันการเงินระดับโลก ดัชนีส�าคัญในตลาดหุ้นทั่วโลกตกต�่าลงเป็นประวัติการณ์ ส่งผลต่อราคาทองค�าและราคาน�้ามันผันผวนอย่างหนัก บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ปิดกิจการเป็นจ�านวนมาก พนักงานถูกเลิกจ้างนับล้านคน ฯลฯ รายงานข่าวในลักษณะนี้ท�าให้หลายคนตั้งค�าถามว่า วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้มีสาเหตุจากอะไร? มีความรุนแรงเพียงใด? และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างไร? ซึ่งบทความฉบับนี้ได้พยายามน�าเสนอบางส่วนของค�าตอบจากค�าถามดังกล่าว ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลโดยอาศัยรายงานข่าวเศรษฐกิจของส�านักข่าวส�าคัญทั้งในและต่างประเทศ เช่น ส�านักข่าวไทย รอยเตอร์ บีบีซี อาศัยการประเมินตัวเลขทางเศรษฐกิจของสถาบันการเงินระดับโลกทั้งจากธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ อ้างอิงข้อมูลสถิติที่ส�าคัญจากหน่วยงานของรัฐบาลแต่ละประเทศ เช่น ธนาคารกลางสหรัฐฯ ดัชนีตลาดหุ้น ราคาซื้อขายน�้ามันและทองค�าล่วงหน้า รวมถึงสอดแทรกบทวิเคราะห์ที่ส�าคัญจากนักเศรษฐศาสตร์ระดับโลก เพื่อให้ได้ข้อมูลที่พอจะเป็นประโยชน์ส�าหรับค�าถามจากวิกฤตเศรษฐกิจที่ทุกคนทั่วโลกก�าลังเผชิญอยู่ในขณะนี้

วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008 มีความรุนแรงมากเพียงใด? วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นปลายปี 2008 นั้นมีเค้าลางจากปัญหาในระบบสินเชื่อซับไพรม์ของสหรัฐฯ ที่เริ่มก่อตัวตั้งแต่กลางปี 2007 จนลุกลามบานปลายเข้าสู่ระบบสถาบันการเงิน ส่งผลให้เกิดภาวะการล้มละลายของสถาบันการเงินยิ่งใหญ่ระดับโลกสัญชาติอเมริกันเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2008 และน�าไปสู่สภาวะตึงตัวทางการเงินของประเทศต่างๆ ทั่วโลก เนื่องจากจุดเริ่มต้นของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้เกิดขึ้นที่สหรัฐฯ จึงเรียกวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ในอีกชื่อหนึ่งว่า “Hamburger Crisis” หรือ “วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์” ค�าถามที่ส�าคัญค�าถามหนึ่งที่มีต่อวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้คือค�าถามที่ว่า “วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้มีความรุนแรงแค่ไหน? และจะยาวนานเพียงใด?” ในช่วงเริ่มต้นของวิกฤตเศรษฐกิจตั้งแต่ปลายปี 2008 ถึงต้นปี 2009 ยังไม่มีผู้ใดที่กล้ายืนยันถึงสถานการณ์ความรุนแรงและระยะเวลาของวิกฤตครั้งนี้ได้อย่างถูกต้องแม่นย�า เนื่องจากในขณะนั้นทุกๆ ฝ่ายยังคงสับสนและตื่นกลัวถึงผลกระทบที่ก�าลัง

Page 2: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาSKRU ACADEMIC JOURNAL

52

เผชิญอยู่ อย่างไรก็ตาม องค์การทางเศรษฐกิจระดับโลกอย่างธนาคารโลก (World Bank) ได้ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจโลกเมื่อต้นปี 2009 ว่า “เศรษฐกิจโลกในปี 2009 จะหดตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศต่างๆ ทั่วโลกจะติดลบ อย่างน้อย (-) 5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทั้งประเทศพัฒนาแล้วและประเทศก�าลังพัฒนา ส่วนการค้าทั่วโลกก็จะลดลงมากที่สุดในรอบ 80 ปี” (ส�านักข่าวไทย, 2552, URL)ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในขณะนั้นว่า “เศรษฐกิจโลกปี 2009 ถดถอยระหว่าง (-) 0.5-1.0 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าประเทศพัฒนาแล้วจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่แล้วก็ตาม และเตือนว่าวิกฤตเศรษฐกิจจะยังคงย�่าแย่ต่อไป หากรัฐบาลของทุกประเทศยังไม่สามารถแก้ไขวิกฤตภาคธนาคารและสถาบันการเงินได้” (ส�านักข่าวไทย, 2552, 20 มีนาคม) ส่วนนายเบน เบอร์นานกี (Ben Bernanke) ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจโลกเมื่อต้นป ี2009 ว่า “ขณะนี้โลกก�าลังเผชิญวิกฤตทางการเงินครั้งร้ายแรงที่สุดตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจและการเงิน ครั้งใหญ่ของโลกช่วงหลังปี 1930 เป็นต้นมา” (ส�านักข่าวไทย, 2552, 11 มีนาคม) ส่วนค�าตอบที่ว่าวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้จะยาวนานเพียงใด หลายฝ่ายตั้งความหวังไว้ว่า ปี 2009 จะเป็นปีที่วิกฤตเศรษฐกิจส่งผลร้ายแรงที่สุดและในปี 2010 สถานการณ์ทุกอย่างคงดีขึ้น แต่ศาสตราจารย ์นูเรียล รูบีนี (Nouriel Roubini) จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์กกล่าวว่า “แม้หลายคนหวังให้เศรษฐกิจโลก ออกมาเป็นรูปตัววี “V” คือดิ่งลงถึงจุดต�่าสุดแล้วพลิกฟื้นกลับขึ้นมาโดยทันที แต่วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้จะออกมาเป็นรูปตัวยู “U” คือถดถอยยาวนานแล้วจึงค่อยพลิกฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง คาดว่าภาวะถดถอยอาจกินเวลา 3 ปี เป็นอย่างต�่า โดยเริ่มจากปี 2008 เป็นต้นมา” (ส�านักข่าวไทย, 2552, 7 มีนาคม) ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของนายวอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐกิจอเมริกันและเป็นหนึ่งในมหาเศรษฐีที่ร�่ารวยที่สุดในโลกเมื่อปี 2007 กล่าวว่า “เศรษฐกิจสหรัฐฯ น่าจะฟื้นตัวได้ภายใน 5 ปี แต่เขาก็หวังว่าจะฟื้นตัวเร็วกว่านั้น ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจสหรัฐฯจะไปถึงจุดดังกล่าวได้เร็วเพียงใด” (ส�านักข่าวไทย, 2552, 10 มีนาคม) จากความเห็นของทั้งสถาบันการเงิน นักวิชาการ และนักธุรกิจระดับโลกต่างออกมาบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้มีความรุนแรงที่สุดในรอบ 80 ปี จะส่งผลกระทบต่อทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศก�าลังพัฒนาทั่วโลก และท�าให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยที่อย่างน้อยอาจจะยาวนาน 3-5 ปี

วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์มีสาเหตุจากอะไร? วิกฤตเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงในรอบ 80 ปีที่ทั่วโลกก�าลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ มีสาเหตุมาจาก 1. นโยบายการกระตุ ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาสมัยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช เมื่อประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช เข้าบริหารประเทศ เขาต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ถดถอยตั้งแต่กลาง ค.ศ.2001 ประธานาธิบดีบุชจึงใช้นโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการประกาศมาตรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้ต�่าลง โดยดอกเบี้ยเงินกู้อ้างอิงของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed Fund Rate) ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.2000 อยู่ที่ 6.54 เปอร์เซ็นต์ แต่ในระหว่าง ค.ศ.2001-2004 ธนาคารกลางสหรัฐฯหรือเฟด (Fed) ปรับลดดอกเบี้ยอ้างอิงลงจนเหลือเฉลี่ยเพียง 1.0 เปอร์เซ็นต์

Page 3: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554Vol.4 No.1 January - June 2011

53

(Federal Resewe, 2008, 5 October) โดยเน้นให้ประชาชนกู้เงินไปใช้จ่ายหรือลงทุนเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในอีกทางหนึ่ง ประชาชนส่วนหนึ่งน�าเงินกู้ดอกเบี้ยต�า่ไปซื้อรถยนต์ ใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว รวมถึงการซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการเก็งก�าไร ท�าให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้น ยิ่งราคาปรับตัวสูงขึ้น ประชาชนก็ยิ่งหันไปเก็งก�าไรในอสังหาริมทรัพย์ด้วยการกู้ยืมเงินจากธนาคารเพิ่มขึ้น จนเกิดภาวะฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ใน ค.ศ.2006 และเมื่อรวมกับราคาน�า้มันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในปีเดียวกัน จึงเกิดภาวะเงินเฟ้อ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงมาอยู่ที่ 5.25 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว

รูปที่ 1 อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของธนาคารกลางสหรัฐ (Federal Funds Rate) ระหว่าง 1999-2009ที่มา : http://www.moneycafe.com/library/fedfundsrate.htm

2. ผลจากหนี้เสียของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต�่า ซับไพรม์ (Subprime) คือ สินเชื่อประเภทหนึ่ง ซึ่งธนาคารหรือสถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อหรือให้เงินกู้แก่ลูกค้าที่มีประวัติทางการเงินไม่ดี หรือปล่อยเงินกู้ให้แก่ลูกค้าที่มีทรัพย์สินค�้าประกันมูลค่าน้อยกว่าเงินกู้ หรือปล่อยกู้ให้แก่ลูกค้าที่มีแนวโน้มที่จะผิดนัดช�าระหนี้ ซึ่งตามปกติลูกค้าประเภทนี้จะไม่ได้รับอนุมัติให้กู้ยืม เพราะมีแนวโน้มที่จะไม่จ่ายหรือผิดช�าระหนี้ แต่มีหลายสถาบันการเงินเห็นว่าลูกค้ากลุ่มนี้จะสร้างผลก�าไรจ�านวนมากให้ได้ ด้วยการคิดดอกเบี้ยลูกค้ากลุ่มนี้ในอัตราที่สูงกว่าปกติ โดยยอมเสี่ยงกับโอกาสที่สถาบันการเงินจะถูกลูกค้าผิดช�าระหนี้ อีกทั้งสถาบันการเงินยังจะได้เงินค่าปรับเพิ่มขึ้น หากลูกค้าช�าระหนี้ก่อนก�าหนด โดยสินเชื่อซับไพรม์นี้มีทั้งสินเชื่อซับไพรม์เพื่อที่อยู่อาศัย (Subprime Mortgages) สินเชื่อซับไพรม์เพื่อรถยนต์ (Subprime Car Loans) สินเชื่อซับไพรม์เพื่อบัตรเครดิต (Subprime Credit Cards) โดยในขณะที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ ค�าว่า ซับไพรม์ เจาะจงความหมายคือ ปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต�่าเป็นหลัก

Page 4: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาSKRU ACADEMIC JOURNAL

54

จากมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในสมัยของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ดังกล่าวข้างต้น มีส่วนท�าให้มาตรการการตรวจสอบสินทรัพย์น้อยลงและปล่อยกู้ได้ง่ายขึ้น ยิ่งส่งผลให้ปริมาณลูกหนี้สินเชื่อซับไพรม์ เพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยมูลค่าสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต�่า หรือสินเชื่อซับไพรม์เพิ่มขึ้นจาก 52,000 ล้านดอลลาร์ ใน ค.ศ.2000 เป็น 449,000 ล้านดอลลาร์ ใน ค.ศ.2006 เมื่อคิดเป็นตัวเลขครัวเรือน ชาวอเมริกันทั่วประเทศมีบ้านรวมกันประมาณ 109 ล้านหลัง ในจ�านวนนี้มีถึง 8.7 ล้านหลัง หรือ 8 เปอร์เซ็นต์ ของผู้มีบ้านทั้งหมดในสหรัฐฯ เป็น ลูกหนี้สินเชื่อซับไพรม์ (สุกรี แมนชัยนิมิต, 2551, น.79-82) เมื่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เผชิญกับภาวะเงินเฟ้อในกลาง ค.ศ.2006 รัฐบาลจึงแก้ปัญหาเงินเฟ้อด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ด้านหนึ่งช่วยลดภาวะเงินเฟ้อไม่ให้รุนแรง แต่อีกด้านหนึ่งกลับท�าให้ประชาชนที่กู ้เงินมาซื้อบ้านต้องจ่ายเงินกู ้เพิ่มขึ้น ส่วนผู้ที่มีหลักทรัพย์ค�้าประกันถูกปรับลดมูลค่าหลักทรัพย์ หรือถูกยกเลิกสินเชื่อ ท�าให้ลูกหนี้ต้องขายหลักทรัพย์เพื่อจ่ายหนี้ ยิ่งเป็นการกดดันให้ราคาหลักทรัพย์ตกลง และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของวัฏจักรวิกฤตซับไพรม์ (Peter Coy, 2552, p.17) ส่งผลให้ยอดหนี้สูญหรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในระบบธนาคารเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะธนาคารที่ปล่อยกู้ให้แก ่อสังหาริมทรัพย์ที่ชื่อแฟนนี่ เม (Fanny May) และเฟรดดี แมค (Freddy Max) ซึ่งคล้ายกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ของไทยต้องเผชิญกับหนี้เสียที่เกิดจากสินเชื่อซับไพรม์เพิ่มมากขึ้น จนในที่สุดรัฐบาลสหรัฐฯ ต้องน�าเงินงบประมาณเข้าซื้อกิจการของแฟนนี่ เม และเฟรดดี แมค ที่ล้มละลาย เมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ.2008 แต่ถึงแม้รัฐบาลจะน�าเงินเข้าแก้ปัญหาหนี้เสียจากสินเชื่อซับไพรม์ด้วยการซื้อกิจการของธนาคารทั้งสองแห่ง แต่หนี้อสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงเป็นปัญหาทั้งหมดของสหรัฐฯ ที่อยู่กับสถาบันการเงินภายใต้การควบคุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึง 7.2 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งยังไม่รวมหนี้อสังหาริมทรัพย์ที่แปลงเป็นหลักทรัพย์แล้วอีกกว่า 7 ล้านล้านดอลลาร์ (กรณ์ จาติกวณิช, 2551, 25 กันยายน) จากตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามูลค่าหนี้เสียที่เกิดจากสินเชื่อซับไพรม์โดยรวมมีมูลค่าสูงถึง 14.2 ล้านล้านดอลลาร์ 3. การเก็งก�าไรของบรรษัทเงินทุนยักษ์ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ระบบโครงสร้างของสถาบันการเงินหลักของสหรัฐอเมริกาประกอบไปด้วย 3 ภาคส่วน คือ (1) สถาบันการเงินหรือธนาคาร เช่น แบงค์ออฟอเมริกา (Bank of America) ซิตี้แบงค์ (Citibank) จีอีแคปิตอล (GE Capital International Holding) (2) บริษัทประกันชีวิต เช่น บริษัทอเมริกัน อินเตอร์แนชั่นแนล กรุ๊ป หรือ เอไอจี (American International Group : AIG) นิวยอร์ก ไลฟ์ (New York Life) และ (3) บริษัทวาณิชธนกิจ เป็นสถาบันการเงินที่มีหน้าที่เป็นตัวกลางในการระดมทุนให้กับทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน สามารถระดมทุนและกู้ยืมเงินมาลงทุนได้สูงถึง 20-30 เท่าของหลักทรัพย์ค�้าประกัน ทั้งที่ธนาคารกลางของสหรัฐฯก�าหนดไว้ไม่เกิน 12 เท่าของหลักทรัพย์ค�้าประกัน เนื่องจากเป็นบริษัทเอกชนที่มีอิสระและไม่ถูกควบคุมโดยธนาคารกลาง จึงท�าให้มีโอกาสลงทุนผิดพลาดสูง บริษัทเหล่านี้ได้แก่ บริษัทเลแมน บราเธอร์ส (Lehman Brothers) บริษัทเมอร์ริน ลินซ์ (Merrill Lynch) บริษัทโกลด์แมน แซคส์ (The Goldman Sachs Group, Inc.) และมอร์แกน สแตนลีย์ (Morgan Stanley) จุดมุ่งหมายของสถาบันการเงินและบรรษัทเงินทุนขนาดใหญ่เหล่านี้คือผลก�าไรจ�านวนมหาศาล ผลก�าไรของบรรษัททางการเงินมักมาจาก 2 ทาง คือ ดอกผลจากการเก็งก�าไรที่ได้มาจากการลงทุนใน

Page 5: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554Vol.4 No.1 January - June 2011

55

ตลาดทุนอื่นๆ และดอกเบี้ยเงินกู้จากการปล่อยกู้ในสินทรัพย์ต่างๆ ซึ่งกลยุทธส�าคัญในกระบวนการแสวงหาผลก�าไร คือ การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน (Securitization) หรือคือการปล่อยกู้ โดยให้ผู้กู้น�าสินทรัพย์ประเภทต่างๆ เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ หรือต�าแหน่งหน้าที่การงานมาเป็นเครื่องค�้าประกันสินเชื่อ ต่อมาสถาบันการเงินและบรรษัทเงินทุนต่างๆ ได้น�าสินเชื่อที่ปล่อยกู้มารวมกันและรวมกับพันธบัตรประเภทต่างๆ แล้วเปลี่ยนสินเชื่อเป็นสินค้าทางการเงินใหม่ ในรูปของตราสารทางการเงินที่มีหลักทรัพย์ ค�้าประกัน หรือซีดีโอ (Collateralized Debt Obligations : CDO) โดยตราสารทางการเงินซีดีโอนี้ ถูกแบ่ง ออกเป็นกองทุนๆ แต่ละกองทุนจะมีความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป บางกองทุนมีความเสี่ยงมากแต่ก็จะได้รับผลตอบแทนมากเช่นกัน หรือบางกองทุนอาจมีความเสี่ยงน้อย ก็จะได้รับผลตอบแทนน้อยตามไปด้วย เนื่องจากตราสารซีดีโอเป็นสินค้าที่โดยพื้นฐานแล้วมีความเสี่ยง บรรษัทเงินทุนรวมถึงผู้ซื้อตราสารซีดีโอจึงมักหาทางลดหรือกระจายความเสี่ยง ด้วยการขายความเสี่ยงดังกล่าวของตนเองให้แก่บริษัทประกันต่างๆ ในรูปของตราสารอนุพันธ์ซีดีเอส (Credit Default Swaps : CDS) ซึ่งก็คล้ายกับความเสี่ยงในชีวิตหรือทรัพย์สินอื่นๆ ผลตอบแทนที่ได้เป็นเงินปันผล หากตราสารอนุพันธ์ซีดีเอสใดมีความเสี่ยงมาก บริษัทประกันที่รับความเสี่ยงก็จะได้รับผลตอบแทนมากเช่นกัน จะเห็นได้ว่าแม้แต่ความเสี่ยงจากการลงทุน สถาบันการเงินและบรรษัทเงินทุนยังสามารถน�ามาเป็นสินค้าที่เก็งก�าไรได้ ส�าหรับบริษัทประกันความเสี่ยงเอง เนื่องจากทราบดีว่าตนเองก�าลังรับซื้อความเสี่ยง จึงกระจายหรือแปลงความเสี่ยงดังกล่าวออกเป็นสินค้าในรูปแบบตราสารอนุพันธ์ที่มีความเสี่ยงเช่นกัน และน�าความเสี่ยงออกขายให้แก่บริษัทที่สนใจร่วมลงทุนในความเสี่ยงดังกล่าว โดยจะมีบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เช่น Standard and Poor’s (S&P) คอยจัดอันดับตราสารอนุพันธ์ต่างๆ ว่าอยู่ในระดับใด ระหว่าง AAA, A, BBB หรือ C เป็นต้น หากตราสารอนุพันธ์ใดมีความเสี่ยงมาก ลูกค้าที่ซื้อก็จะมีโอกาสได้รับ ผลตอบแทนมากตามไปด้วย จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ความเสี่ยงในรูปของตราสารอนุพันธ์ ซีดีเอสถูกกระจายไปในระบบเศรษฐกิจ ทั้งในสถาบันการเงิน บริษัทประกัน วาณิชธนกิจ และบริษัททั่วไปที่สนใจร่วมลงทุนในความเสี่ยง ในช่วง ค.ศ.2002-2006 เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาฟื้นตัวหลังจากรัฐบาลใช้นโยบายลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สถาบันการเงินและบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ ต่างออกตราสารอนุพันธ์ซีดีเอสเป็นจ�านวนมาก ส่วนบริษัทต่างๆ ก็นิยมซื้อตราสารอนุพันธ์ซีดีเอสเข้ามาในหน่วยลงทุนหรือกองทุน (Portfolio) ของตนเอง เพราะนอกจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือจะให้คะแนนกองทุนต่างๆ ที่มีตราสารอนุพันธ์ซีดีเอสในระดับดีแล้ว ยังสามารถเก็งก�าไรจากตราสารอนุพันธ์เหล่านี้ได้ในอีกทางหนึ่ง จึงท�าให้ตราสารอนุพันธ์ซีดีเอสได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยตราสารอนุพันธ์ซีดีเอสยังนิยมซื้อขายกันไปมาข้ามบริษัท จากสถาบันการเงินไปยังบริษัทประกันชีวิตและเข้าสู่วาณิชธนกิจ นอกจากนี้ยังมีสถาบันการเงินนอกสหรัฐฯ ทั้งจากยุโรป เอเชีย และออสเตรเลียเข้ามาซื้อขายตราสารอนุพันธ์ซีดีเอสดังกล่าวผ่านสถาบันการเงินของสหรัฐฯ อีกด้วย จากความนิยมดังกล่าวท�าให้มูลค่าตลาดตราสารอนุพันธ์ซีดีเอสเมื่อสิ้น ค.ศ.2007 มีมูลค่าสูงถึง 62 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งมีมูลค่ามากกว่ามูลค่าของตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ถึง 12 เท่า โดยหนึ่งในบริษัทวาณิชธนกิจที่ลงทุนในตราสารอนุพันธ์เหล่านี้ในอันดับต้นๆ ได้แก่ เลแมน บราเธอร์ส (Lehman Brothers) ซึ่งซื้อตราสารอนุพันธ์ซีดีเอสมูลค่ามากถึง 8 แสนล้านดอลลาร์ (สุกรี แมนชัยนิมิต, 2551,

Page 6: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาSKRU ACADEMIC JOURNAL

56

น.79-82) นอกจากนี้บริษัทอเมริกัน อินเตอร์แนชั่นแนล กรุ๊ป หรือ เอไอจี (American International Group : AIG) เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ซื้อตราสารอนุพันธ์ซีดีเอสเป็นจ�านวนมากเช่นกัน เมื่อเกิดปัญหาวิกฤตซับไพรม์ขึ้น ความเสี่ยงที่เคยสร้างก�าไรมหาศาลกลับท�าให้เป็นปัญหา เพราะบริษัททั้งสองแห่งนี้ซื้อตราสารอนุพันธ์เป็นจ�านวนมาก (รับซื้อหนี้และความเสี่ยงมาก) และไม่สามารถน�าเงินไปช�าระหนี้ได้ จึงต้องล้มละลายในที่สุด และวิกฤตจากปัญหาซับไพรม์บานปลายออกไปเพราะไม่ได้มีแค่บริษัทวาณิชธนกิจ 2 แห่งนี้เท่านั้นที่ลงทุนในตราสารอนุพันธ์ซีดีเอส แต่ยังมีทั้งบริษัทแบร์สเติร์น (Bear Stearns) บริษัทเมอร์ริล ลินซ์ (Merrill Lynch) วาณิชธนกิจอื่นๆ และสถาบันการเงินอีกเป็นจ�านวนมากทั่วโลกต้องประสบปัญหานี้ เมื่อเกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นหลายฝ่ายจึงตั้งค�าถามว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐบาลสหรัฐฯ ท�าไมถึงละเลยการตรวจสอบการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ซีดีเอสที่มาจากการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งนายอลัน กรีนสแปน* อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ซึ่งด�ารงต�าแหน่งนี้กว่า 18 ปี (ค.ศ.1987-2005) และเป็นผู้ก�าหนดนโยบายส�าคัญๆ ทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และของโลก เช่น นโยบายตลาดเสรี (Free Market) ได้ ออกมายอมรับว่า “การแปลงสินเชื่อเป็นสินทรัพย์ โดยเฉพาะการรวมเอาสินเชื่อซับไพรม์และสินเชื่อจ�านองอย่างอื่นเข้าด้วยกัน เพื่อใช้เป็นหลักประกันในการสร้างเครื่องมือทางการเงิน ถือเป็นชนวนส�าคัญที่ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์รุนแรงขึ้น และยอมรับว่าตนมีส่วนผิดในวิกฤตที่เกิดขึ้น” (ผู้จัดการออนไลน์, 2551, 25 ตุลาคม) จะเห็นได้ว่า จากความเปราะบางของระบบเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ของสหรัฐฯ ท�าให้เมื่อเกิดปัญหาจากจุดเล็กๆ หรือเกิดหนี้เสียจากสถาบันการเงินหรือวาณิชธนกิจเพียงไม่กี่แห่ง ท�าให้บริษัทอื่นๆ ที่รับซื้อความเสี่ยงในรูปของตราสารอนุพันธ์ซีดีเอสพลอยได้รับผลกระทบไปด้วย และจากตลาดตราสารอนุพันธ์ซีดีเอสที่มีขนาดใหญ่มาก โดยมีมูลค่าถึง 62 ล้านล้านดอลลาร์ ยิ่งท�าให้ผลที่เกิดขึ้นกลายเป็นโดมิโนที่ล้มตามกันในกลุ่มสถาบันการเงินทั่วโลก โดยยังหาจุดสิ้นสุดไม่ได้จนถึงปัจจุบัน

4. ระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันที่เศรษฐกิจของทุกประเทศทั่วโลกเชื่อมโยงถึงกัน รูปแบบเศรษฐกิจในระบบทุนนิยมปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดการเชื่อมโยงกันของเครือข่ายธุรกิจข้ามชาติมากมายทั้งในระบบการเงินการคลัง และระบบการค้า ซึ่งระบบการเงินการคลังของประเทศต่างๆ ทั่วโลกเชื่อมโยงและผูกติดกันทั้งในเรื่องค่าเงินของแต่ละสกุลเงิน ดุลการค้าของแต่ละประเทศ การเจริญเติบโตด้านสินเชื่อ การกู้ยืมระหว่างสถาบันการเงินระดับโลก สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการเจริญเติบโตในระบบการเงินการคลังของแต่ละประเทศทั้งสิ้น เมื่อเกิดปัญหาในทางเศรษฐกิจ น�าไปสู่การเกิดภาวะตึงตัวทางด้านสินเชื่อในสหรัฐฯ นักลงทุนสหรัฐฯ ถอนการลงทุนจากตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก เพื่อน�าเงินกลับไปพยุงสถานะทางการเงินของบริษัทแม่ในสหรัฐฯ ท�าให้ตลาดหุ้นทั่วโลกเข้าสู่ภาวะตกต�า่ ค่าเงินของแต่ละประเทศได้รับผลกระทบ ส่งผลต่อเนื่องไปยังสินเชื่อที่สถาบันการเงินทั่วโลกกู้ยืมมาในรูปสกุลเงินต่างประเทศ เมื่อประสบกับความผันผวนทางเศรษฐกิจ สกุลเงินของตนเองอ่อนค่าลง มูลค่าหนี้สินจึงเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือบางประเทศที่ทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐไม่ได้กู้ยืมเงินในสกุลเงินต่างประเทศแต่ก็ต้องประสบปัญหาในวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้เช่นกัน เพียงเพราะรัฐบาลของประเทศเหล่านั้นมีความเสี่ยงที่จะผิดช�าระหนี้ (Carol Matlack & Mark Scott, 2551, p.25)

Page 7: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554Vol.4 No.1 January - June 2011

57

ส�าหรับระบบการค้าในปัจจุบันที่เน้นระบบการค้าเสรีจะสามารถเติบโตได้ ต้องเกิดจากการบริโภคสินค้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศที่มีตลาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างสหรัฐฯ จะรักษาระบบเศรษฐกิจของตนเองเอาไว้ได้จ�าเป็นต้องสนับสนุนให้ประชาชนใช้จ่ายมากๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ชาวอเมริกันมีก�าลังซื้อมหาศาลและเป็นผู้บริโภคอันดับหนึ่งมาโดยตลอด ท�าให้ประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ ทั่วโลกต่างได้ประโยชน์ เพราะสามารถขายสินค้าของตนให้กับชาวอเมริกันได้มากขึ้น แต่เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นในสหรัฐฯ เกิดภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ชาวอเมริกันเริ่มไม่มั่นใจในสถานะทางการเงินของตนเอง บางส่วนตกงาน ท�าให้ชาวอเมริกันหันมาประหยัดมากยิ่งขึ้น ลดการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยหรือไม่จ�าเป็น ส่งผลกระทบต่อสินค้าทั่วโลกที่ส่งไปยังสหรัฐฯ ขายไม่ได้ ประเทศคู่ค้าที่เคยส่งสินค้าไปขายยัง สหรัฐฯ ต้องเผชิญกับภาวะก�าลังซื้อลดลง ก�าลังการผลิตลดตาม ผลประกอบการขาดทุน ปลดคนงานหรือเลิกกิจการ คนตกงานเพิ่มขึ้น ธุรกิจการท่องเที่ยว การส่งออกได้รับผลกระทบอย่างหนัก ธนาคารและสถาบันการเงินทั่วโลกได้รับผลกระทบตาม เพราะโรงงานหรือธุรกิจที่กู ้ยืมเงินไปขาดทุน ส่งผลโดยตรงต่อปริมาณหนี้เสียในระบบตลาดทุน เช่น ตลาดหุ้นผันผวนและติดลบอย่างหนัก เพราะผลประกอบการของแต่ละบริษัทติดลบ

วิกฤตเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างไร? ตั้งแต่เริ่มต้นวิกฤตเศรษฐกิจในเดือนกันยายน 2008 จนสิ้นปี 2009 วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้สร้างความเสียหายให้กับทุกประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นประเทศพัฒนาแล้วหรือก�าลังพัฒนา โดยเฉพาะส่งผลต่อสถาบันการเงินระดับโลกให้ต้องล้มละลาย ธุรกิจอุตสาหกรรมล้วนได้รับผลกระทบถ้วนหน้า ดัชนีในตลาดหุ้นส�าคัญทั่วโลกตกต�่าอย่างมาก กดดันให้ความต้องการน�้ามันทั่วโลกลดลง และส่งผลต่อราคาทองค�าที่ขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ กระทบถึงแรงงานนับร้อยล้านคนที่ต้องตกงาน ดังนี้ 1. ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก เมื่อทั่วโลกเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ ผลกระทบที่ตามมาในทันทีคือภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้สรุปอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2008 ซึ่งเป็นปีเริ่มต้นวิกฤตเศรษฐกิจที่ 3 เปอร์เซ็นต์ ต�่ากว่าในปีก่อนหน้าที่อยู่ 5.2 เปอร์เซ็นต์ ส่วนในปี 2009 ซึ่งเป็นปีที่วิกฤตส่งผลกระทบรุนแรงที่สุดท�าให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกติดลบ (-) 0.5 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ซึ่งมีระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตครั้งนี้มีผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (GDP) ในปี 2008 ที่ระดับเพียง 0.4 เปอร์เซ็นต์ ต�่ากว่าในปี 2007 ที่ 2.1 เปอร์เซ็นต์ และยิ่งตกต�่าถึงขีดสุดที่ระดับ (-) 2.4 ในปี 2009 (International Monetary Fund, 2010 15 July) ส�าหรับเศรษฐกิจของภาคพื้นยุโรปต่างก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้อย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้เช่นกัน กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) สรุปอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของภาคพื้นยุโรปในปี 2008 ที่ 0.9 เปอร์เซ็นต์ ต�่ากว่าในปี 2007 ที่ 3.1 เปอร์เซ็นต์ และตกต�่ามากที่สุดถึง (-) 4.1 ในปี 2009 ซึ่งรุนแรงกว่าสหรัฐฯ เสียอีก ทั้งที่ก่อนหน้านี้ IMF เคยคาดการณ์ว่าจะถดถอยเพียง (-) 2.0 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น โดยประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตในปี 2009 ต�่าที่สุดในยุโรป คือ เยอรมนีและอิตาลีที ่(-) 5.0 เปอร์เซ็นต์ มีอังกฤษที่ใกล้เคียงที่ (-) 4.9 เปอร์เซ็นต์ โดยมีสเปน โปรตุเกสและฝรั่งเศสที่ (-)

Page 8: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาSKRU ACADEMIC JOURNAL

58

3.6 (-) 2.7 เปอร์เซ็นต์ และ (-) 2.2 ตามล�าดับ (International Monetary Fund, 2010 15 July) ทั้งที่ IMF เคยประเมินเมื่อปี 2009 ว่าอังกฤษและเยอรมนีจะถดถอยเพียง (-) 2.8 และ (-) 2.5 เปอร์เซ็นต์ ตามล�าดับ (International Monetary Fund, 2009, 28 January) แม้ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจจะคืบคลานมาถึงเอเชียช้ากว่าอเมริกาและยุโรป แต่เศรษฐกิจของเอเชียก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้อย่างรุนแรงไม่แพ้ส่วนอื่นๆ ของโลก เพราะเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียส่วนใหญ่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเติบโตได้ด้วยการส่งออกเป็นหลัก โดยเฉพาะประเทศจีนพิษจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนปี 2008 ขยายตัวเพียง 9.6 เปอร์เซ็นต์ และในปี 2009 ที่ 8.7 เปอร์เซ็นต์ (International Monetary Fund, 2010, 15 July) ทั้งที่ 6 ปีที่ผ่านมาตัวเลขอัตราการเติบโตมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ โดยตลอด ส่งผล กระทบโดยตรงต่อภาวะเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์ 2009 ติดลบ 1.6 เปอร์เซ็นต์ หรือเข้าสู่ภาวะเงินฝืดเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี (ส�านักข่าวไทย, 2552, 18 มีนาคม) ส�าหรับเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่ถือว่ามีขนาดใหญ ่ที่สุดในเอเชียนั้นได้รับผลกระทบอย่างหนักเช่นกัน จนท�าให้นายคาโอรุ โยซาโน รัฐมนตรีด้านนโยบายเศรษฐกิจและงบประมาณ กล่าวว่า “วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้เป็นวิกฤตที่ร้ายแรงที่สุดเท่าที่ประเทศญี่ปุ่นเคยประสบมาในช่วงหลังสงครามโลก” โดย IMF รายงานอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2008 ของญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับ (-)1.2 เปอร์เซ็นต์ และยิ่งถดถอยที่ระดับ (-) 5.2 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2009 ส่งผลกระทบต่อการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นในเดือนมกราคม 2009 ถึง 1,750 ล้านดอลลาร์ นับเป็นการขาดดุลครั้งแรกในรอบ 13 ปีทั้งที่เมื่อต้นปี 2008 ญี่ปุ่นได้ดุลบัญชีเดินสะพัดมากถึง 1.96 ล้านล้านดอลลาร์

(ผู้จัดการออนไลน์, 2552, 9 มีนาคม) ส่วนเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของเอเชียนั้น IMF รายงานว่าในปี 2009 จะมีอัตราการเติบโตเพียง 0.2 เปอร์เซ็นต์ ทั้งที่ในปีก่อนหน้ามีอัตราการเติบโตถึง 5.1 เปอร์เซ็นต์ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เศรษฐกิจของประเทศสิงคโปร์ 5 ปีที่ผ่านมาถือว่าเติบโตเป็นอย่างมาก GDP ปี 2007 เติบโตถึง 7.8 เปอร์เซ็นต์ แต่มาในปี 2008 กลับเติบโตเพียง 1.1 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น โดยเศรษฐกิจของสิงคโปร์ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2008 และในไตรมาสที่ 4 เศรษฐกิจของสิงคโปร์ลดลงถึง (-) 4.2 เปอร์เซ็นต์ จนท�าให้ตัวเลขการส่งออกสินค้าของสิงคโปร์ลดลงติดต่อกันถึง 10 เดือน ซึ่งสภาพเศรษฐกิจของสิงคโปร์เป็นตัวอย่างแนวโน้มเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ IMF รายงานว่าในปี 2009 มีอัตราเติบโตเฉลี่ย เพียง 1.4 เท่านั้นทั้งที่ปี 2008 มีอัตราเติบโตเฉลี่ยทั้งภูมิภาคที่ 4.4 เปอร์เซ็นต์ (International Monetary Fund, 2010, 15 July) โดยสรุป เมื่อวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นปลายปี 2008 ท�าให้เศรษฐกิจโลกปี 2009 ถดถอยอย่างรุนแรง ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วได้รับผลกระทบจากวิกฤตครั้งนี้มากกว่าประเทศก�าลังพัฒนา โดยเฉพาะในทวีปยุโรปได้รับผลกระทบมากที่สุดที่ (-) 4.6 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือทวีปอเมริกาที่ (-) 2.3 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกลุ่มประเทศก�าลังพัฒนาอย่างภูมิภาคตะวันออกกลางมีอัตราเติบโตเพียง 1.7 เปอร์เซ็นต์ แอฟริกาที่ 2.8 เปอร์เซ็นต์ ส่วนภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคได้รับผลกระทบน้อยที่สุดคือ มีอัตราเติบโต 3.2 เปอร์เซ็นต์

Page 9: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554Vol.4 No.1 January - June 2011

59

2. สถาบันการเงินทั่วโลกสั่นคลอน ผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ที่มีต่อสถาบันการเงินนั้นปรากฏเค้ารางตั้งแต่ปี 2007 เริ่มจากบริษัทนิวเซนจูรี่ ไฟแนนเชี่ยล (New Century Financial) บริษัทเงินกู้ด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ ที่สุดของสหรัฐฯ ประกาศล้มละลายในเดือนเมษายน ในครึ่งหลัง ค.ศ.2007 สถาบันการเงินหลายแห่ง ของสหรัฐฯ เริ่มทยอยประกาศผลประกอบการที่ขาดทุน เช่น เลแมน บราเธอร์ส เมอร์ริล ลินซ์ และมอร์แกน สแตนเลย์ การประกาศตัวเลขผลประกอบการของบริษัทต่างๆ ต้นปี 2008 ยิ่งเพิ่ม ข่าวร้ายให้แก่ภาคธุรกิจและสถาบันการเงินทั้งซิตี้กรุ ๊ป เอไอจี และเมอร์ริล ลินซ์ต่างประกาศผลประกอบการขาดทุนมหาศาล (สุกรี แมนชัยนิมิต, 2551, น.79-82) ในเดือนกันยายน 2008 ถือเป็น ช่วงเวลาส�าคัญ เพราะวิกฤตเศรษฐกิจได้แสดงผลต่อระบบสถาบันการเงิเริ่มจากธนาคารแฟนนี่ เม และเฟรดดี แมค ซึ่งเป็นธนาคารเพื่อที่อยู่อาศัยรายใหญ่ของสหรัฐฯ 2 แห่งถูกธนาคารกลางของสหรัฐฯ เข้ายึดกิจการ ต่อมาเลแมน บราเธอร์ส วาณิชธนกิจใหญ่ อันดับ 4 ของสหรัฐฯ ประกาศล้มละลาย เมอร์ริล ลินซ์ สถาบันการเงินขนาดใหญ่ของอเมริกาถูกแบงค์ออฟอเมริกาเข้าซื้อกิจการ และเอไอจี บริษัทประกันภัยที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ประกาศภาวะขาดทุน จนธนาคารกลางของสหรัฐฯ ต้องอนุมัติเงินกู้ 85,000 ล้านดอลลาร์พยุงสถานะทางการเงินของเอไอจีไม่ให้ล้มละลาย แม้กระทั่งธนาคารซิตี้กรุ๊ปของสหรัฐฯ ซึ่งเคยเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลกขาดทุนกว่า 37,500 ล้านดอลลาร์ ส่งผลให้ราคาหุ้นตกลงเหลือไม่ถึง 1 ดอลลาร์จากกว่า 50 ดอลลาร์เมื่อปลายปี 2006 (ส�านักข่าวไทย, 2552, 7 มีนาคม) ซึ่งข่าวปัญหาทางการเงินของธนาคารและสถาบันการเงินขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ ส่งผลให้ในไตรมาสแรกของปี 2009 มีธนาคารในสหรัฐฯ ล้มละลายแล้วกว่า 9 แห่งและยังมีอีก 117 แห่งที่ก�าลังประสบปัญหาทางการเงินและอาจต้องประกาศล้มละลายภายในไตรมาสที่ 2 สถานการณ์ทางการเงินในระบบธนาคารได้บานปลายสู่ทวีปยุโรป โดยเริ่มจากธนาคารนอร์ทเทิร์น ร็อก (Northern Rock) ธนาคารอันดับ 5 ของอังกฤษประกาศล้มละลาย จนรัฐบาลต้องน�าเงิน 25,000 ล้านปอนด์เข้าซื้อกิจการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2008 ส่วนธนาคารต่างๆ ของยุโรปต่างทยอยประกาศลดมูลค่าสินทรัพย์ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1-2 ของปี 2008 (ผู้จัดการออนไลน์, 2551, 3 ตุลาคม) ส�าหรับธนาคารฟอร์ติส (Fortis Bank) ซึ่งเป็นธนาคารใหญ่ที่สุดของกลุ่มประเทศเบเนลักซ์ (เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และลักแซมเบิร์ก) ประกาศภาวะขาดทุนจนรัฐบาลทั้ง 3 ประเทศต้องร่วมกันอนุมัติเงินกู้เพื่อพยุงสถานะทางการเงินเอาไว้ นอกจากนี้ไอเอ็นจี (ING) ธนาคารขนาดใหญ่ของเนเธอร์แลนด์ต้องประสบภาวะขาดทุนในปี 2008 ถึง 1,300 ล้านดอลลาร์ (ผูัจัดการออนไลน์, 2552, 26 มกราคม) ส่วนธนาคารและสถาบันการเงินของทั้งฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี อังกฤษและรัสเซียต่างประกาศช่วยเหลือด้านเงินกู้ให้แก่ธนาคารในประเทศของตน แต่ส�าหรับในเอเชีย ข่าวร้ายของสถาบันการเงินกลับมีน้อยมากเมื่อเทียบกับในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งนักวิเคราะห์ทางการเงินส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า ธนาคารและสถาบันทางการเงินของเอเชียได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤตครั้งนี้น้อยกว่าส่วนอื่นๆ อาจเป็นเพราะบทเรียนจากวิกฤตการเงินต้มย�ากุ้งเมื่อปี 1997 ท�าให้ธนาคารและสถาบันทางการเงินของเอเชียส่วนใหญ่มีความรอบคอบและมีวินัยในการปล่อยกู้อย่างมาก จึงท�าให้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤตครั้งนี้น้อยกว่าส่วนอื่นๆ ของโลก

Page 10: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาSKRU ACADEMIC JOURNAL

60

3. ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกตกลงเป็นประวัติการณ์ ตลาดหุ้นซึ่งเป็นตลาดทุนขนาดใหญ่ที่สุดในโลกไม่สามารถหลีกหนีจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ ได้เช่นกัน เพราะเมื่อเกิดวิกฤตซึ่งมีสาเหตุมาจากสินเชื่อซับไพรม์ ส่งกระทบต่อความมั่นคงของระบบธนาคาร ท�าให้นักลงทุนตื่นกลัวและไม่มั่นใจต่อเสถียรภาพทางการเงิน จึงพากันขายหุ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ราคาหุ้นของบริษัทหรือสถาบันทางการเงินที่มีปัญหาถูกเทขายจนราคาหุ้นตกลงอย่างมาก และท�าให้บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นบางแห่งต้องประกาศล้มละลาย เช่น เลแมน บราเธอร์ส วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ส่งผลให้ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (Dow Jones Industrial Index) ตกลงต�่าสุดในรอบ 12 ปี เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2009 ลงมาที่ระดับ 6,547.05 จุด (ส�านักข่าวไทย, 2552, 10 มีนาคม) ทั้งที่ 18 เดือนก่อนหน้านี้ (วันที่ 9 ตุลาคม 2007) ขึ้นไปท�าสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 14,164.53 จุด

รูปที่ 2 ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2008 ถึงวันที่ 26 มีนาคม 2009ที่มา : http://moneycentral.msn.com/investor/charts/chartdl.asp

ส�าหรับตลาดหุ้นส�าคัญของยุโรป เช่น ดัชนีตลาดหุ้นอังกฤษ (FTSE 100 Index) เคยอยู่ที่ระดับ 6,700 จุด เมื่อเดือนตุลาคม 2007 ดัชนีได้ตกลงกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ เหลือเพียง 3,519.03 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2009 ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกันกับดัชนีตลาดหุ้นของฝรั่งเศส (CAC 40 Index) ที่เคยอยู่ที่ระดับ 6,100 จุด เมื่อกลางปี 2007 ตกลงเหลือ 2,519 ในวันที่ 9 มีนาคม 2009 (Stock Chart & Index Chart, 2009, 12 March) นอกจากนี้ตลาดหุ้นอื่นๆ ทั่วยุโรปก็ไปในทิศทางเดียวกันคือตกลงมากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ หลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2008 ส่วนตลาดหุ้นส�าคัญของเอเชีย เช่น ดัชนีนิเคอิ (Nikkei 225 Index) ของญี่ปุ่นตกลงต�่าสุดที่ระดับ 7,054.98 จุด เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2009 ตกลงมากที่สุดในรอบ 26 ปี ทั้งที่ต้นปี 2008 ดัชนีนิเคอิอยู่ที่ประมาณระดับ 14,000 จุด มาโดยตลอด (ส�านักข่าวไทย, 2552, 9 มีนาคม) ส�าหรับดัชนีโซลคอมโพสิตของเกาหลีใต้ (South Korea Seoul Composite Index) เมื่อปลายปี 2007 ดัชนีเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 2,000 จุด ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2009 ดัชนีตกต�่าสุดเหลือเพียง 1,000 จุด เป็นไปใน

Page 11: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554Vol.4 No.1 January - June 2011

61

ทิศทางเดียวกันกับดัชนีฮั่งเส็งของฮ่องกง (Hang Seng Indexes) และดัชนีเวทเต็ดของไต้หวัน (Tai-wan Stock Exchange Weighted Index) รวมถึงดัชนีตลาดหุ้นส�าคัญอื่นๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยเช่นกัน 4. ราคาน�้ามันลดลง วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นท�าให้นักลงทุนทั่วโลกต่างคาดการณ์ไปในทิศทางเดียวกันว่า อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจรวมถึงการค้าระหว่างประเทศลดลง ส่งผลต่อปริมาณการใช้น�้ามันทั่วโลกลดลงตามไปด้วย กระทบต่อราคาน�้ามันในตลาดโลก ซึ่งเคยท�าสถิติสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 147.27 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2008 และลดลงมาอยู่ที่ระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อต้นเดือนกันยายน 2008 แต่หลังจากข่าวการขาดทุนและล้มละลายของสถาบันการเงินทยอยประกาศ ออกมาตั้งแต่กลางเดือนกันยายน ส่งผลให้ราคาน�้ามันในตลาดโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง ราคาน�้ามันเดือนตุลาคม 2008 เฉลี่ยอยู่ที่ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แม้ว่ากลุ่มประเทศโอเปกจะพยายามรักษาระดับราคาน�้ามันให้อยู่ที่ระดับ 80 ดอลลาร์ด้วยการประกาศลดก�าลังการผลิตน�้ามันทั่วโลกลง 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวันก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถจะพยุงราคาน�้ามันไม่ให้ลดลงได้ จนราคาน�้ามันตกลงอยู่ที่เฉลี่ย 30-40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลตั้งแต่เดือนธันวาคม 2008 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2009

รูปที่ 3 ราคาน�้ามันดิบที่ตลาดไนเม็ค (NYMEX Crude) วันที่ 3 มีนาคม 2008 -27 มีนาคม 2009ที่มา : http://www.wtrg.com/daily/crudeoilprice.html

Page 12: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาSKRU ACADEMIC JOURNAL

62

5. ราคาทองค�าผันผวน ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน 2008 ราคาทองค�าผันผวนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะราคาทองค�าที่ซื้อขายกันในตลาดลอนดอนเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2008 จากราคา 813 ดอลลาร์ต่อออนซ์พุ่งขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 898 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาเพิ่มสูงขึ้นในวันเดียวถึง 85 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ถือว่าเป็นราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุดภายในวันเดียวในรอบ 28 ปีที่ผ่านมา สาเหตุส�าคัญหนึ่งที่ท�าให้ราคาทองค�าพุ่งสูงขึ้น นอกจากความไม่มั่นใจในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว ปัจจัยส�าคัญอีกประการคือ ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงอย่างมาก ท�าให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งทองค�าและน�้ามันซึ่งซื้อขายกันด้วยเงินสกุลดอลลาร์จึงมีราคาถูกลงส�าหรับนักลงทุนที่ถือเงินสกุลอื่นๆ ซึ่งจะแข็งค่ามากขึ้นเมื่อเทียบกับสกุล ดอลลาร์ ท�าให้ความต้องการทองค�ามีสูงขึ้นตามไปด้วย นักวิเคราะห์การลงทุนจากบาร์เคลย์ส แคปิตอล (Barclays Capital) กล่าวว่า "เราคาดว่าปัจจัยต่างๆ อาทิ ความหวาดผวาในตลาดการเงินทั่วโลก การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การเก็งก�าไรค่าเงินดอลลาร์ และความกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ น่าจะด�าเนิน อยู่ต่อไป อันจะท�าให้นักลงทุนมุ่งหน้าเข้าสู่ตลาดทองค�า ส่งผลให้ราคาทองค�าเพิ่มสูงขึ้น” (ผู้จัดการออนไลน์, 2551, 20 กันยายน)

รูปที่ 4 ราคาทองค�าตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2008 ถึงวันที่ 27 มีนาคม 2009ที่มา : http://www.kitco.com/charts/livegold.html

จากกราฟแสดงราคาทองค�าตลอดระยะเวลา 1 ปีตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2008 ถึงวันที่ 27 มีนาคม 2009 จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีความผันผวนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะปลายปี 2008 ถึงต้นปี 2009 ยิ่งท�าให้ราคาทองค�าผันผวนมากขึ้น โดยมีแนวโน้มสูงขึ้นเกือบถึงระดับ 1,000 ดอลลาร์ต่อออนซ ์

Page 13: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554Vol.4 No.1 January - June 2011

63

-เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ โดยราคาทองที่มีแนวโน้มสูงขึ้นดังกล่าวเป็นดัชนีชี้วัดที่ส�าคัญอันหนึ่งถึงสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ เพราะทุกครั้งที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน นักลงทุนส่วนใหญ่จะหันไปลงทุนในทองค�า เนื่องจากเห็นว่าทองค�าเป็นแหล่งลงทุนที่ปลอดภัยที่สุดเมื่อเกิดวิกฤตการเงินและยังเป็นเครื่องมือป้องกันเงินเฟ้อที่ดี

6. อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ทั่วโลกล้มละลาย ตัวอย่างของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ที่ได้รับผลกระทบในอันดับต้นๆ หลังจาก เกิดวิกฤตเศรษฐกิจก็คือ อุตสาหกรรมรถยนต์ โดยเฉพาะกับ 3 ค่ายรถยนต์ใหญ่ของสหรัฐได้แก่ เจเนรัล มอร์เตอร์ (GM) ฟอร์ด (Ford) และไครสเลอร์ (Chrysler) ต้องประสบกับภาวะขาดทุนอย่างหนัก โดยยอดขายรถเดือนมกราคม 2009 ของไครสเลอร์ลดลงถึง 55 เปอร์เซ็นต์ ส่วนจีเอ็มยอดขายลดลง 49 เปอร์เซ็นต์ ท�าสถิติต�่าสุดในรอบ 27 ปี จากยอดขายที่ลดลงดังกล่าวท�าให้จีเอ็มอาจล้มละลาย จากภาวะขาดทุนถึง 3.09 หมื่นล้านดอลลาร์ (ผู้จ้ดการออนไลน์, 2552, 6 มีนาคม) จนรัฐบาลสหรัฐฯ ต้องให้เงินกู้เข้าช่วยเหลืออุตสาหกรรมรถยนต์ เหตุผลหลักที่ท�าให้รัฐบาลสหรัฐฯ ไม่สามารถปล่อยให้อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ของประเทศล้มละลายได้เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์ทั้ง 3 รายนอกจากเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของอุตสาหกรรมอเมริกาแล้ว อุตสาหกรรมนี้มีการจ้างงานโดยตรงประมาณ 5 ล้านคน ยังไม่นับการจ้างงานในบริษัทดีลเลอร์ ซัพพลายเออร์และบริษัทให้บริการหลังการขาย ปัญหาในอุตสาหกรรมรถยนต์ในสหรัฐฯ ขยายวงของปัญหาไปสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในยุโรป อาทิเช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ เคมีภัณฑ์และเหล็กกล้า ท�าให้บริษัทเหล่านี้ในยุโรปต้องปิดกิจการเป็นจ�านวนมาก โดยเฉพาะบริษัทบาส์ฟ (BASF) ซึ่งเป็นบริษัทเคมีภัณฑ์ขนาดใหญ่ของเยอรมนี ประกาศปิดโรงงานชั่วคราว 80 แห่ง ส่งผลกระทบต่อพนักงาน 20,000 คนทั่วโลก (ผู้จัดการออนไลน์, 2551, 23 พฤศจิกายน) ส�าหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศต่างๆ ในยุโรปต่างได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยเฉพาะสเปนซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับความนิยมด้านการท่องเที่ยวมากเป็นอันดับสองของโลกยังได้รับผลกระทบอย่างหนัก ตัวเลขนักท่องเที่ยวในเดือนพฤศจิกายน 2008 ลดลงถึง 11.6 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (ผู้จัดออนไลน์, 2551, 22 ธันวาคม) ส่งผลให้อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง เช่น ร้านอาหาร การขนส่ง การโรงแรม บริการอื่นๆ ได้รับผลกระทบตามไปด้วย ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ประเมินว่ามูลค่าสินทรัพย์รวมที่ประเทศต่างๆ ในเอเชียไปลงทุนทั่วโลกขาดทุนรวมกันกว่า 50 ล้านล้านดอลลาร์ และประเทศก�าลังพัฒนาในเอเชียจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจมากกว่าประเทศก�าลังพัฒนาในภูมิภาคอื่นๆ เพราะที่ผ่านมาเศรษฐกิจของเอเชียมีการขยายตัวรวดเร็วกว่า โดยเฉพาะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่เน้นการส่งออกเป็นหลักและมีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชีย เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้จึงท�าให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบอย่างมาก เริ่มจากอุตสาหกรรมรถยนต์อย่างโตโยต้า มอเตอร์ (TOYOTA) ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกคาดว่า ชาวฝรั่งเศสผลประกอบการในปีการเงิน 2008 ที่จะสิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2009 ขาดทุน 4,900 ล้านดอลลาร์ นับเป็นการขาดทุนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เปิดด�าเนินการ นอกจากนี้นิสสัน (NISSAN) ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์ใหญ่เป็นอันดับสามของญี่ปุ่น ได้คาดผลประกอบการในปีการเงิน 2009 ที่อาจจะขาดทุนถึง 2,900 ล้านดอลลาร์

Page 14: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาSKRU ACADEMIC JOURNAL

64

ส�าหรับบริษัทต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างกับภูมิภาคอื่นของโลก โดยเทมาเส็ก โฮลดิ้ง (Temasek Holdings) กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ ขาดทุนไปกว่า 58,000 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเวลาเพียง 8 เดือน ส่วนกองทุนกัฟเวิร์นเมนต์ ออฟ สิงคโปร์ อินเวสเมนต์ คอร์ป (GIC) ซึ่งเป็นกองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์ขาดทุนถึง 33,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2008 (ผู้จัดการออนไลน์, 2552, 18 กุมภาพันธ์)

7. แรงงานทั่วโลกตกงานนับสิบล้านคน เมื่อธุรกิจและอุตสาหกรรมทั่วโลกประสบปัญหาจากวิกฤตเศรษฐกิจ ผลกระทบที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการปลดคนงาน ซึ่งกระทบต่อแรงงานทั่วโลกมากกว่า 100 ล้านคน เริ่มจากตัวเลขแรงงานของสหรัฐฯ ที่ต้องตกงานตั้งแต่เกิดวิกฤตจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2009 รวมแล้วกว่า 4.4 ล้านคน (ผู้จัดการออนไลน์, 2552, 9 มีนาคม) ส�าหรับกลุ่มประเทศยุโรป มีอัตราการว่างงานในเดือนตุลาคม 2008 สูงถึง 7.7 เปอร์เซ็นต์ สูงสุดในรอบเกือบ 2 ปี ส�านักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษกล่าวว่าเศรษฐกิจตกต�่าท�าให้ยอดคนตกงานในอังกฤษสูงถึง 2 ล้านคน มีอัตราว่างงานถึง 6.5 เปอร์เซ็นต์ (ส�านักข่าวไทย, 2552, 18 มีนาคม) และในปลายปี 2008 มีผู้ตกงานในฝรั่งเศสกว่า 2.07 ล้านคน ท�าให้ชาวฝรั่งเศสนัดหยุดงานและออกมาเดินขบวนประท้วงประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี ของฝรั่งเศสถึง 2 ครั้งภายในระยะเวลาไม่ถึง 2 เดือน โดยในครั้งแรกประท้วงเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2009 และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2009 (ผู้จัดการออนไลน์, 2552, 30 มกราคม) ในภูมิภาคเอเชีย รัฐบาลญี่ปุ่นคาดว่าอัตราการว่างงานในปี 2009 อาจเพิ่มสูงขึ้นถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอัตราการว่างงานในเกาหลีใต้เพิ่มเป็น 3.9 เปอร์เซ็นต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2009 (ส�านักข่าวไทย, 2552, 18 มีนาคม) วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ ท�าให้อัตราการว่างงานในสิงคโปร์ปี 2009 ที่คาดว่าน่าจะสูงถึง 4.8 เปอร์เซ็นต์ และจะเพิ่มเป็น 5.0 เปอร์เซ็นต์ ในกลางปี 2010 ซึ่งส่งผลกระทบต่อชาวสิงคโปร์นับแสนคน ส่วนตัวเลขผู้ว่างงานของฟิลิปปินส์เมื่อเดือนมกราคมปี 2009 มีจ�านวนรวมถึง 2.855 ล้านคน (ส�านักข่าวไทย, 2552, 17 มีนาคม) จะเห็นได้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ส่งผลกระทบที่รุนแรงและเกี่ยวข้องกับทั้งทุกภาคส่วนของระบบเศรษฐกิจ และทุกประเทศทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือก�าลังพัฒนา เพราะผลกระทบ ที่รุนแรงที่สุดในขณะนี้คือ การเกิดภาวะตึงตัวในทางการเงิน ธนาคารที่ได้รับผลกระทบน้อยและยังพอมีเงินทุนส�ารองอยู่บ้างกลับไม่ปล่อยกู้เพราะกลัวจะกลายเป็นหนี้เสียและส่งผลต่อสถานะทางการเงินของธนาคาร ส่วนภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ยังพอเติบโตได้ก็ก�าลังรอเงินกู้จากธนาคารเพื่อต่อลมหายใจของธุรกิจในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ส่วนประชาชนที่ยังคงมีงานท�าต้องลุ้นว่าจะตกงานหรือไม่ เพราะจะมีธุรกิจอุตสาหกรรมอีกเป็นจ�านวนมากที่ก�าลังทยอยปิดกิจการ นักลงทุนที่ยังคงมีเงินทุนไม่มั่นใจต่อภาวะเศรษฐกิจต่างเก็บเงินสดไว้กับตัวเอง เพราะราคาหุ้นที่ตกต�่าในขณะนี้ยังคาดการณ์ไม่ได้ว่าจะตกลงไปกว่านี้อีกหรือไม่ ส่วนการลงทุนในทองค�าและน�้ามันนั้นมีความผันผวนเป็นอย่างมาก

Page 15: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554Vol.4 No.1 January - June 2011

65

บทสรุป จากความเสียหายของระบบเศรษฐกิจโลกที่ทุกคนก�าลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ คงไม่เป็นข้อสงสัยอีกต่อไปว่า วิกฤตเศรษฐกิจโลกในครั้งนี้รุนแรงที่สุดในรอบ 80 ปีหรือไม่ เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้น ส่งผลเสียหายต่อทุกภาคส่วน อาทิเช่น เศรษฐกิจโลกต้องประสบกับภาวะถดถอยที่รุนแรงและยาวนานเป็นประวัติการณ์ สถาบันการเงินทั่วโลกต่างทยอยกันล้มละลาย ดัชนีหุ้นส�าคัญทั่วโลกตกต�่าถึงจุดต�่าสุด ราคาน�้ามันตกลงมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ราคาทองค�าผันผวนอย่างหนัก เกิดภาวะความตึงตัวทางการเงิน ปริมาณการส่งออกลดลง กระทบต่ออุตสาหกรรมทุกขนาดจนถึงขั้นปิดกิจการมากมาย และแรงงานทั่วโลก นับสิบๆ ล้านคนตกงาน โดยสาเหตุส�าคัญที่ท�าให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้มาจากการด�าเนินธุรกิจที่เน้นเพียงผลก�าไรโดยไม่สนใจถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นของทั้งสถาบันการเงินระดับโลกที่น�าความเสี่ยงจากการให้กู้ยืมมาแปลงเป็นสินค้าที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งจากบุคคลทั่วไปที่กู้ยืมเงินมาเพียงเพื่อหวังเก็งก�าไรจากอสังหาริมทรัพย์ในยามที่ดอกเบี้ยต�่าลงโดยมิได้ค�านึงถึงความสามารถที่จะจ่ายคืนเมื่อเกิดปัญหา และทั้งจากรัฐบาลและธนาคารกลางของแต่ละประเทศที่ไม่มีความรอบคอบในการตรวจสอบการลงทุนของสถาบันการเงิน การเน้นนโยบายการส่งออกมากกว่าการค้าภายในประเทศ รวมถึงเมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้วไม่สามารถออกมาตรการในการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงทีจนท�าให้วิกฤตครั้งนี้ส่งผลกระทบในวงกว้าง ส่วนมาตราการทางการเงินการคลังที่รัฐบาลของทุกประเทศก�าลังด�าเนินการอยู่ เช่น การลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นการลงทุน การอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจ�านวนมหาศาลเพื่อให้เกิดการจ้างงานและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ และการซื้อหนี้เสียออกจากระบบธนาคารเพื่อให้ภาวะการตึงตัวทางการเงินลดน้อยลงนั้น จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาของแต่ละประเทศและฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกให้กลับมาเฟื่องฟูได้อีกครั้งเมื่อใด คงต้องขึ้นอยู่กับค�าถามที่ว่า ปัจจุบันรัฐบาลแต่ละประเทศทราบสาเหตุที่แท้จริงของวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้หรือไม่? ทราบถึงขอบเขตของผลกระทบหรือไม่? และสามารถหาหนทางแก้ไขได้ตรงจุดหรือไม่? ค�าตอบของค�าถามเหล่านี้คงต้องใช้เวลาในการพิสูจน์

เอกสารอ้างอิง

กรณ์ จาติกวณิช. (2551, 25 กันยายน). วิเคราะห์วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ กรณีรัฐบาลสหรัฐอเมริกายอมทุ่มเงิน 7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ อุ้มสถาบันการเงิน. ชีพจรโลก. โมเดินร์ไนน์ ทีวี. 23.00-24.00 น.

ผู้จัดการออนไลน์. (2551, 20 กันยายน). "ทองค�า”ขึ้นพรวดจากวิกฤตการเงินโลก. ข่าวต่างประเทศ. สืบค้นวันที่ 20 กัยนายน 2551, จาก: http://www.manager.co.th/Around/View

News.aspx?NewsID=9510000111601 ________. (2551, 3 ตุลาคม). สถาบันการเงินยุโรปยังไม่พ้นวิกฤตอีซีบีเร่งกู้ซากแบงก์ล้ม. ข่าวต่าง

ประเทศ. สืบค้นวันที่ 3 ตุลาคม 2551, จาก: http://www.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9510000117295

Page 16: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาSKRU ACADEMIC JOURNAL

66

________. (2551, 25 ตุลาคม). กรีนสแปนรับตัวเองผิดที่ต่อต้านการก�ากับดูแลตราสารหนี้. ข่าวต่างประเทศ. สืบค้นวันที่ 27 ตุลาคม 2551, จาก: http://www.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9510000126588

________. (2551, 23 พฤศจิกายน). วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์รุมกินโต๊ะยุโรป. ข่าวต่างประเทศ. สืบค้นวันที่ 24 พฤศจิกายน 2551, จาก: http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9510000138799

________. (2551, 22 ธันวาคม). สเปนระบุนักท่องเที่ยวต่างชาติลดฮวบ. ข่าวต่างประเทศ. สืบค้นวันที่ 24 พฤศจิกายน 2551, จาก: http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9510000150377

________. (2552, 26 มกราคม). “ING” ลดคน 7,000-ซีอีโอลาออก. ข่าวต่างประเทศ. สืบค้นวันที่ 29 มกราคม 2552, จาก: http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9520000009292

________. (2552, 30 มกราคม). ชาวฝรั่งเศสนับแสนประท้วง รบ.เฉื่อยชารับมือวิกฤต. ข่าวต่างประเทศ. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2552, จาก: http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9520000010951

________. (2552, 18 กุมภาพันธ์). กองทุน "สิงคโปร์"เจ๊ง $33,000 ล้าน. ข่าวต่างประเทศ. สืบค้นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2552, จาก: http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9520000018895

________. (2552, 6 มีนาคม). สัญญาณร้ายรอบใหม่จับตาจีเอ็มจุดชนวนวิกฤต. ตลาดทุนโลก. สืบค้นวันที่ 10 มีนาคม 2552, จาก: http://www.manager.co.th/Stock Market/View News.aspx?NewsID=9520000025744

________. (2552, 9 มีนาคม). ญี่ปุ่นขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงลิ่ว ค่าเงินเยนยิ่งดิ่ง. ข่าวต่างประเทศ. สืบค้นวันที่ 12 มีนาคม 2552, จาก: http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9520000027105

________. (2552, 9 มีนาคม). ตัวเลขว่างงานระลอกใหม่บั่นทอนความหวังสหรัฐฯ ฟื้นตัว. ข่าวต่างประเทศ. สืบค้นวันที่ 12 มีนาคม 2552, จาก: http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9520000026583

สุกรี แมนชัยนิมิต. (2551, ตุลาคม). จาก “Subprime” สู่หุ้นกู้ “CDS”. Positioning Magazine, (53), 79-82.

ส�านักข่าวไทย. (2552, 7 มีนาคม). ธนาคารมาเลย์แซงหน้าธุรกิจซิตี้กรุ๊ปที่ประสบปัญหาย�่าแย่. ข่าวต่างประเทศ. สืบค้นวันที่ 7 มีนาคม 2552, จาก: http://news.mcot.net/international/inside.php?value=bmlkPTI3MTQxJm50eXBlPWNsaXA=

________. (2552, 7 มีนาคม). เศรษฐกิจโลกอาจถดถอยยาวไปถึงปีหน้าหรือนานกว่านั้น. ข่าวต่างประเทศ. สืบค้นวันที่ 7 มีนาคม 2552, จาก: http://news.mcot.net/international/inside.php?value=bmlkPTgyOTEzJm50eXBlPXRleHQ=

Page 17: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554Vol.4 No.1 January - June 2011

67

________. (2552, 9 มีนาคม). ดัชนีนิกเกอิดิ่งลงต�่าสุดในรอบ 26 ปี. ข่าวต่างประเทศ. สืบค้นวันที่ 10 มีนาคม 2552, จาก: http://news.mcot.net/international/inside.php?value=bmlkPTI3MjI4Jm50eXBlPWNsaXA=

________. (2552, 9 มีนาคม). ธนาคารโลกยืนยันเศรษฐกิจโลกจะหดตัวปีนี้. ข่าวต่างประเทศ. สืบค้นวันที่ 10 มีนาคม 2552, จาก: http://news.mcot.net/international/inside.php? value=bmlkPTgzMDY0Jm50eXBlPXRleHQ=

________. (2552, 10 มีนาคม). ตลาดหุ้นสหรัฐตกต�่าสุดในรอบ 12 ปี. ข่าวต่างประเทศ. สืบค้น วันที่ 12 มีนาคม 2552, จาก: http://news.mcot.net/international/inside.php?value=bmlkPTgzMjI2Jm50eXBlPXRleHQ=

________. (2552, 10 มีนาคม). บัฟเฟตต์เชื่อเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นกลับได้ภายใน 5 ปี. ข่าวต่างประเทศ. สืบค้นวันที่ 12 มีนาคม 2552, จาก: http://news.mcot.net/international/inside.php?value=bmlkPTgzMjI3Jm50eXBlPXRleHQ=

________. (2552, 11 มีนาคม). เฟดวอนรัฐบาลทั่วโลกด�าเนินมาตรการวิกฤตการเงิน. ข่าวต่างประเทศ. สืบค้นวันที่ 12 มีนาคม 2552, จาก: http://news.mcot.net/international/inside.php?value=bmlkPTgzNDU1Jm50eXBlPXRleHQ=

________. (2552, 17 มีนาคม). อัตราการว่างงานในฟิลิปปินส์พุ่งขึ้น. ข่าวต่างประเทศ. สืบค้นวันที่ 17 มีนาคม 2552, จาก: http://news.mcot.net/international/inside.php?value=bmlkPTg0NDY1Jm50eXBlPXRleHQ=

________. (2552, 18 มีนาคม). ธนาคารโลกประมาณการเติบโตเศรษฐกิจจีนเหลือร้อยละ 6.5. ข่าวต่างประเทศ. สืบค้นวันที่ 18 มีนาคม 2552, จาก: http://news.mcot.net/international/inside.php?value=bmlkPTg0NjU3Jm50eXBlPXRleHQ=

________. (2552, 18 มีนาคม). ยอดว่างงานในอังกฤษพุ่งเกิน 2 ล้านคนครั้งแรกในรอบ 12 ปี. ข่าวต่างประเทศ. สืบค้นวันที่ 20 มีนาคม 2552, จาก: http://news.mcot.net/international/inside.php?value=bmlkPTg0ODM0Jm50eXBlPXRleHQ=

________. (2552, 18 มีนาคม). อัตราการว่างงานเกาหลีใต้พุ่งสูงสุดในรอบ 4 ปี. ข่าวต่างประเทศ. สืบค้นวันที่ 20 มีนาคม 2552, จากhttp://news.mcot.net/international/inside.php?value=bmlkPTg0Njk3Jm50eXBlPXRleHQ=

________. (2552, 20 มีนาคม). ไอเอ็มเอฟ ระบุเศรษฐกิจโลกปีนี้จะถดถอย0.5%-1.0%. ข่าวต่างประเทศ. สืบค้นวันที่ 20 มีนาคม 2552, จาก: http://news.mcot.net/international/inside.php?value=bmlkPTg1MDUwJm50eXBlPXRleHQ=

Matlack, Carol & Scott, Mark. (2551). ระเบิดเวลาในตลาดเกิดใหม่. Businessweek Thailand, 2 (5), 23-28.

Federal Reserve. (2008, 5 October). Historical Data (updated every business day, excluding holidays). Board of Governors of the Federal Reserve System. Retrieved

Page 18: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาSKRU ACADEMIC JOURNAL

68

October 5, 2008, from: http://www.federalreserve.gov/releases/h15/data/Monthly/H15_FF_O.txt

International Monetary Fund. (2010, 15 July). Real GDP growth. World Economic Out-look (APRIL 2010). Retrieved September 15, 2010, from: http//www.imf.org/external/datamapex/index.php

________. (2009, 28 January). Global Economic Slump Challenges Policies. World Economic Outlook Update. Retrieved May 18, 2009, from: http://www.imf.org/external/pubs/ft/weo/2009/update/01/

KITCO. (2008, September-2009, March). Historical Charts. Charts & Data. Retrieved April 15, 2009, from http://www.kitco.com/

Peter Coy. (2552, มกราคม). มาตรการเยียวยาวิกฤตเพียงพอแล้วหรือ?. Businessweek Thailand, 2 (6), 15-20.

Stock Chart & Index Chart. (2009, 12 March). FTSE 100 Index & CAC 40 Index. MSN Money. Retrieved March 18 2009, from: http://moneycentral.msn.com/inves-tor/charts/chartdl.asp

Page 19: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554Vol.4 No.1 January - June 2011

69

การเตรียมต้นฉบับวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา(SKRU ACADEMIC JOURNAL)

ประเภทบทความ v บทความวิจัย (Research article) เป็นบทความที่ได้จากงานวิจัย vบทความวิชาการ (Academic article) เป็นบทความที่มีลักษณะดังนี้ - Literature review บทความจากการทบทวนเอกสาร ซึ่งเป็นผลมาจากการวิจัยหลายๆ ครั้ง ถือเป็นบทความที่มีความส�าคัญเป็นอย่างยิ่ง - Technical paper บทความน�าเสนอกระบวนการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การทดสอบภาคสนามรวมไปถึงเทคนิคการวิเคราะห์ใหม่ๆ - Professional practice บทความที่มาจากประสบการณ์ หรือความช�านาญของผู้เขียน - Policy paper บทความเกี่ยวกับนโยบายด้านต่างๆ ของหน่วยงาน v บทความปริทัศน์ (Review articles) บทความที่เขียนจากการรวบรวมความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งจากวารสารหรือหนังสือต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ประกอบด้วยบทน�า ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่น�ามาเขียน วิธีการสืบค้นข้อมูล บทวิจารณ์และเอกสารอ้างอิง

ลักษณะบทความ vบทความสรุปงานวิจัย ที่มีลักษณะเป็นเอกสารที่มีรูปแบบของการวิจัย และมีการสรุปผลที่น�าไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ หรือบทความทางวิชาการในลักษณะการวิเคราะห์หรือวิจารณ์ ตลอดทั้งการเสนอแนวคิดใหม่ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางวิชาการที่มีคุณค่า vบทความที่เคยได้รับการตีพิมพ์มาก่อน ทั้งในหรือนอกประเทศ แต่มีการน�ามาปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมเนื้อหาขึ้นใหม่ให้สมบรูณ์ยิ่งขึ้น (ผู้เขียนต้องแสดงรายละเอียดของการตีพิมพ์ในครั้งที่แล้ว) vบทความที่ไม่ได้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ vบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์มาก่อน ทั้งในหรือนอกประเทศ vบทความที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น vบทความในลักษณะอื่นๆ นอกเหนือจากรายละเอียดข้างต้นที่ได้รับพิจารณาจากกองบรรณาธิการเป็นกรณีเฉพาะ ส่วนประกอบบทความ บทความวิจัย ก. ส่วนปก ประกอบด้วย 1. ชื่อบทความ (Title) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรกะทัดรัด ระบุเป้าหมายหลักของการวิจัย

Page 20: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาSKRU ACADEMIC JOURNAL

70

2. ชื่อผู้เขียน (Authors) ให้ระบุเฉพาะชื่อ และนามสกุล โดยไม่ต้องมีค�าน�าหน้านาม 3. ต�าแหน่งทางวิชาการและที่อยู่หน่วยงาน ส�าหรับการติดต่อทางไปรษณีย์ของผู้เขียน 4. ตัวเลขยก เขียนไว้บนนามสกุล เพื่อระบุว่าเป็นต�าแหน่งทางวิชาการและที่อยู่ของผู้เขียน 5. บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรสั้นตรงประเด็น ครอบคลุมสาระส�าคัญของการศึกษา ได้แก่ วัตถุประสงค์ วิธีการ ผลและวิจารณ์ เป็นต้น 6. ค�าส�าคัญ (Keywords) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นการก�าหนดค�าส�าคัญที่สามารถน�าไปใช้เป็นค�าสืบค้นในระบบฐานข้อมูล 7. ผู้นิพนธ์ประสานงาน (Corresponding Author) ให้ท�าเครื่องหมาย * ไว้บนนามสกุล ระบุหมายเลขโทรศัพท์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์ (E- mail) หมายเหต ุเนื้อหาส่วนปกจะต้องเขียนให้อยู่ในกระดาษ จ�านวน 1 หน้าเท่านั้น ข. ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย 1. บทน�า (Introduction) เป็นส่วนส�าคัญและสาเหตุที่น�าไปสู ่การวิจัย พร้อมวัตถุประสงค์และการส�ารวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2. วิธีการวิจัย (Research Methodology) วิธีการศึกษา (Research Methodology) เป็นการอธิบายวิธีการด�าเนินการวิจัยซึ่งขึ้นอยู่กับการวิจัยแต่ละประเภท 3. ผลการวิจัยและวิจารณ์ผล หรือ ผลการศึกษาและอภิปรายผล (Results and Discussion) ควรเสนอผลอย่างชัดเจน ตรงประเด็น เป็นผลที่ค้นพบ โดยล�าดับตามหัวข้อที่ศึกษา พร้อมการวิจารณ์ผล 4. สรุป (Conclusion) สรุปสาระส�าคัญที่ได้จากการศึกษา 5. กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) เป็นการระบุแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัย 6. เอกสารอ้างอิง (References) ต้องใช้ตามแบบที่วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏ สงขลา ก�าหนดและเขียนเอกสารอ้างอิงเฉพาะเอกสารที่น�ามาอ้างอิงในเนื้อหาเท่านั้น

บทความวิชาการ ก. ส่วนปก มีส่วนประกอบเหมือนบทความวิจัย และเขียนให้อยู่ในกระดาษจ�านวน 1 หน้า เท่านั้น ข. ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย 1. บทน�า (Introduction) เป็นส่วนของที่มาและสาเหตุของการเขียนบทความมีลักษณะการกล่าวน�าเรื่อง โดยให้ความรู้เบื้องต้น บอกเจตนาของผู้เขียนหรือตั้งค�าถาม ซึ่งผู้เขียนอาจเขียนให้ผู้อ่านสนใจติดตามเนื้อเรื่อง 2. เนื้อหา (Text) ส่วนส�าคัญที่สุดของบทความ เพราะเป็นส่วนที่รวบรวมความรู้ สาระต่างๆ และความคิดเห็นของผู้เขียน 3. สรุป (Conclusion) สรุปสาระส�าคัญที่ได้จากการศึกษา

Page 21: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554Vol.4 No.1 January - June 2011

71

4. เอกสารอ้างอิง (References) ต้องใช้ตามแบบที่วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏ สงขลาก�าหนด และเขียนเอกสารอ้างอิงเฉพาะเอกสารที่น�ามาอ้างอิงในเนื้อหาเท่านั้น

รูปแบบการพิมพ์ vบทความต้นฉบับจะต้องจัดท�าส่งมาในรูปแบบดังต่อไปนี้ vใช้ไฟล์ MS Word vจ�านวนหน้าไม่เกิน 10 หน้า (พร้อมรูปและตารางที่เกี่ยวข้อง) vการพิมพ์ให้ใช้ตัวอักษร Angsana New ขนาด 16 pt. vบทความภาษาไทยให้ใช้หลักการสะกดตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน และบทความภาษาอังกฤษใช้หลักการสะกดตาม Webster’s Dictionary vรูปและตาราง (Figures and Tables) รูป หมายรวมถึง รูปภาพ แผนภูมิ ควรจัดท�าขึ้นโดยให้มีความชัดเจนมากที่สุดเพื่อสะดวกในการตีพิมพ์ และเรียงล�าดับการน�าเสนอเป็นหมายเลข ให้ระบุล�าดับที่ของรูป ใช้ค�าว่า “รูปที่....” และมีค�าอธิบายใส่ไว้ใต้รูป ไม่ต้องขีดเส้นใต้ ตาราง ให้ระบุล�าดับของตาราง ใช้ค�าว่า “ตารางที่......” และมีค�าอธิบายใส่ไว้เหนือตาราง ไม่ต้องขีดเส้นใต้

การส่งต้นฉบับ การส่งต้นฉบับบทความ เพื่อรับการพิจารณาตีพิมพ์ประกอบด้วย 1. แบบฟอร์มการส่งบทความวิชาการและวิจัย 2. ต้นฉบับจ�านวน 1 ชุด 3. แผ่นบันทึกข้อมูล CD 1 แผ่น รศ.นฤมล อัศวเกศมณ ี(ส่งบทความวารสารวิชาการ) มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ถ.กาญจนวนิช ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา 90000 หรือส่งทาง ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ e-mail : [email protected], [email protected]

การพิจารณาบทความ vบทความทุกบทความที่ส่งจะได้รับการตรวจสอบโดยกองบรรณาธิการวารสาร และจัดส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในสาขาวิชานั้นๆ ไม่น้อยกว่า 2 ท่าน พิจารณา โดยไม่เปิดเผยชื่อของผู้เขียนบทความ vการยอมรับเรื่องที่จะตีพิมพ์เป็นสิทธิของกองบรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบในเนื้อหาหรือความถูกต้องของเรื่องที่ส่งมาตีพิมพ์ทุกเรื่อง v กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขรูปแบบบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ และอาจจะส่งเรื่องคืนมายังผู้เขียนให้เพิ่มเติมหรือพิมพ์ต้นฉบับใหม่ แล้วแต่กรณี

Page 22: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาSKRU ACADEMIC JOURNAL

72

v หลังจากที่บทความได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ผู้เขียนจะได้รับวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จ�านวน 1 ฉบับ และบทความ 5 ชุดพร้อมหนังสือรับรองการตีพิมพ์

ลิขสิทธิ์ ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ห้ามน�าข้อความทั้งหมดไปตีพิมพ์ซ�้า ยกเว้นได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัย ราชภัฏสงขลา

ความรับผิดชอบ เนื้อหาและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น

Page 23: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554Vol.4 No.1 January - June 2011

73

การลงรายการเอกสารอ้างอิง

เพื่อท�ารายการให้ผู้อ่านทราบว่า สารนิเทศที่ใช้ ในการเขียนบทความมาจากแหล่งใดบ้าง เป็นการให้เกียรติแก่ผู้เขียนสารนิเทศที่ถูกน�ามาใช้ในการเขียนรายงาน และเพื่อแจ้งให้ผู้อ่านทราบว่า ข้อมูลหรือสารนิเทศที่น�ามาใช้นั้น มาจากแหล่งข้อมูลใด หากผู้อ่านสนใจจะค้นคว้าเพิ่มเติม จะสามารถหาได้จากที่ใด การเขียนบรรณานุกรมมีหลายแบบ แบบที่ใช้กันแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา และถูกดัดแปลงมาใช้มากในประเทศไทยได้แก่ แบบ APA (American Psychological Association Style) ซึ่งจะใช้อ้างอิงในสาขาวิชาสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ การอ้างอิงระบบนาม-ปี หรือ ระบบ APA เป็นการแจ้งแหล่งที่มาของข้อความไว้ในวงเล็บ แทรกอยู่กับเนื้อหาในต�าแหน่งที่มีการอ้างอิง ปัจจุบัน ระบบนาม-ปี หรือ ระบบ APA เป็นระบบที่ได้รับความนิยมมาก เพราะสะดวกและประหยัดเนื้อที่ในการพิมพ์ มีแบบแผนการลงรายการง่ายต่อการศึกษาและปฏิบัติ ข้อส�าคัญในการอ้างอิงในระบบนี้ นอกจาก ระบุนามผู้เขียน ปีที่พิมพ์ แล้ว จะต้องระบุหน้าที่อ้างอิงไว้ด้วย vการลงรายการผู้แต่งหรือบรรณาธิการ ผู้แต่งหรือบรรณาธิการ ให้ลงชื่อและนามสกุล ถ้าเป็นชาวต่างประเทศให้ลงนามสกุลก่อน ตามด้วยอักษรตัวแรกของชื่อต้นและชื่อกลาง โดยใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่นระหว่างชื่อสกุลกับชื่อต้น เช่น ไพศาล เหล่าสุวรรณ Reynold, F. E. ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 1 คน ให้ลงชื่อผู้แต่งทุกคน คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาคระหว่างชื่อผู้แต่งแต่ละคน และให้ใช้ค�าว่า “และ” ส�าหรับ`ภาษาไทย หรือเครื่องหมาย “& “ส�าหรับภาษาอังกฤษ น�าหน้าคนสุดท้าย เช่น ภิญโญ สาธร, และสุนทร แก้วลาย Birbeck, V. P., & Kenneth, A. W. ถ้าผู้แต่งมีมากกว่า 5 คน ให้ลงรายการคนที่ 1 และตามด้วยค�าว่า “และคนอื่นๆ” ส�าหรับภาษาไทย และ et al. หรือ and others ส�าหรับภาษาอังกฤษ เช่น นิรัตน์ จรจิตร, และคนอื่นๆ Douglas, I. et al. ถ้าหนังสือนั้นมีบรรณาธิการ ให้เขียนชื่อบรรณาธิการแทนผู้แต่ง แล้ววงเล็บค�าว่า บก. หรือ Ed. กรณีที่มีบรรณาธิการคนเดียว และ Eds. ในกรณีที่มีบรรณาธิการหลายคน เช่น ประสิทธิ์ ฤทธาภิรมย์ (บก.) Berton, P. F. (Ed.)

Page 24: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาSKRU ACADEMIC JOURNAL

74

vการลงรายการปีที่พิมพ์ ให้ลงรายการปีที่พิมพ์เฉพาะตัวเลข อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ถ้าหนังสือนั้นไม่มีปีที่พิมพ์ ให้ลงรายการด้วยปีลิขสิทธิ์แทน ถ้าไม่มีปีที่พิมพ์ให้เขียน ม.ป.ป. ส�าหรับภาษาไทย หรือ n.d. ส�าหรับภาษาอังกฤษ vการลงรายการชื่อหนังสือ 1. การลงรายการชื่อเรื่องหรือชื่อหนังสือ ให้ลงชื่อเรื่องตามที่ปรากฏในหน้าปกใน ชื่อเรื่องภาษาไทยที่มีชื่อภาษาต่างประเทศก�ากับให้ลงรายการเฉพาะชื่อภาษาไทย ถ้าเป็นหนังสือภาษาอังกฤษ การเขียนชื่อหนังสือให้ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่เฉพาะอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง อักษรตัวแรกของชื่อรอง (ถ้ามี) และชื่อเฉพาะหรือวิสามายนาม พิมพ์ตัวหนาหรือขีดเส้นใต้ เช่น การจัดการความรู้ Introduction to knowledge management Knowledge management: Finance and budget Writing English 2. การลงรายการเพิ่มเติมส�าหรับหนังสือเล่มนั้น เช่น ครั้งที่พิมพ์ หรือเล่มที่ ให้อยู่ในวงเล็บหลังชื่อเรื่อง ให้ใช้มหัพภาคหลังเครื่องหมายวงเล็บปิด เช่น หลักนิเทศศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สี่แผ่นดิน (2 เล่ม). สารานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (เล่ม 5, น.7-9) Mass communication (3 rd ed.). vการลงสถานที่พิมพ์และส�านักพิมพ์ ให้ระบุชื่อจังหวัดหรือชื่อเมืองที่ส�านักพิมพ์นั้นตั้งอยู่ก�ากับ ถ้าส�านักพิมพ์ตั้งอยู่ในเมืองมากกว่า 1 เมืองให้เลือกเมืองแรก ถ้าไม่ปรากฏเมืองที่พิมพ์ให้ลงรายการ ม.ป.ท. ส�าหรับภาษาไทย หรือ n.p. ส�าหรับภาษาอังกฤษ ส่วนชื่อส�านักพิมพ์ พิมพ์เฉพาะชื่อส�านักพิมพ์ ส่วนค�าที่ระบุสถานะของส�านักพิมพ์ เช่น ค�าว่า ส�านักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือค�าว่า Publishers, Co., Co.Ltd. หรือ Inc. ให้ตัดออก แต่ให้ลงค�าว่า โรงพิมพ์ หรือ Books และ Press ไว้ ถ้าไม่ปรากฏชื่อส�านักพิมพ์ ให้ลงรายการ ม.ป.พ. ส�าหรับภาษาไทย หรือ n.d. ส�าหรับภาษาอังกฤษ

รูปแบบการลงรายการเอกสารอ้างอิงและการอ้างอิงในเนื้อหา vหนังสือทั่วไป ในการเขียนบรรณานุกรมของหนังสือ ใช้รูปแบบดังต่อไปนี้ ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์ : ส�านักพิมพ์. 1. หนังสือที่มีผู้แต่งคนเดียว บรรณานุกรม เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2539). ศึกษิตแห่งศตวรรษที่ 21 แนวคิดการปฏิรูปการศึกษา ไทย. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.

Page 25: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554Vol.4 No.1 January - June 2011

75

การอ้างอิง (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, 2539, น. 21)

บรรณานุกรม Alter, S. (2001). Information systems: New Jersey : Prentice- Hall. การอ้างอิง (Alter, 2001, pp.50-56)

2. หนังสือที่มีผู้แต่ง 2 คน บรรณานุกรม รุจิร์ ภู่สาระ, และ จันทรานี สงวนนาม. (2545). การบริหารหลักสูตรในสถานศึกษา. กรุงเทพ ฯ : บุ๊ค พอยท์. การอ้างอิง (รุจิร์ ภู่สาระ และ จันทรานี สงวนนาม, 2545 น.3-4) บรรณานุกรม Strunk, W., Jr., & White, E. B. (1983). The elements of style. (4 th ed.). New York : Macmillan. การอ้างอิง (Strunk, & White, 1983, p.9)

3. หนังสือที่มีผู้แต่ง 3 คน บรรณานุกรม สมศักดิ์ คงเที่ยง, สมาน อัศวภูมิ, และสัมเริง โภชนาธาร. (2546). เทคนิคการบริหารจัด การศึกษายุคใหม่. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช. การอ้างอิง (สมศักดิ์ คงเที่ยง, สมาน อัศวภูมิ, และสัมเริง โภชนาธาร, 2546, น.12-17) บรรณานุกรม Dyal, J.A., Corning, W. C., & Willows, D. M. (1975). Readings in psychology : The search for alternatives (3 rd ed.). New York : McGraw - Hill. การอ้างอิง (Dyal, Corning, & Willows, 1975, p.4)

Page 26: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาSKRU ACADEMIC JOURNAL

76

4. หนังสือที่มีผู้แต่งมากกว่า 5 คน บรรณานุกรม ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคนอื่นๆ. (2539). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ วิสิทธิ์พัฒนา. การอ้างอิง (ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคนอื่นๆ, 2539, น.19-23) บรรณานุกรม Niush, N. C., Jr., et al. (2003). Religions of the War. New York : St. Martin’s. การอ้างอิง (Niush et al., 2003, pp.58-75)

5. หนังสือที่จัดท�าโดยองค์กรต่าง ๆ บรรณานุกรม ส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง. การอ้างอิง (ส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2542, น.9-45) บรรณานุกรม Association for Research in Nervous and Mental Disease. (1996). The Circulation of the brain : A symposium on brain. New York : Hafner. การอ้างอิง (Association for Research in Nervous and Mental Disease, 1996, pp.3-5)

6. หนังสือที่มีบรรณาธิการ บรรณานุกรม Dertouzos, M. L., & Moses, J. (Eds.). (1979). The computer age : A twenty-year view. Combridge, MA : MIT Press. การอ้างอิง (Dertouzos, & Moses, (Eds.), 1979, pp.2-9)

7. หนังสือที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ให้ใช้ชื่อเรื่องแทนชื่อผู้แต่ง บรรณานุกรม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. (2546). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์. น.196 การอ้างอิง (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, 2546, น.196)

Page 27: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554Vol.4 No.1 January - June 2011

77

บรรณานุกรม Webster’s new biographical dictionary. (1988). Springfield, MA : Merriam - Webster. การอ้างอิง(Webster’s new biographical dictionary, 1988, p.98).

vสิ่งพิมพ์อื่น ๆ 1. หนังสือแปล จะประกอบด้วย ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง (แปลจากเรื่องโดยผู้แปล). สถานที่พิมพ์ : ส�านักพิมพ์. บรรณานุกรม บูซาน, โทนี. (2544). ใช้หัวคิด (แปลจาก Use your head โดย ธัญญา ผลอนันต์). กรุงเทพฯ : ขวัญข้าว การอ้างอิง (บูซาน, 2544, น.13-30) บรรณานุกรม Foucault, M. (1988). The archaeology of knowledge (Translated by Arnold M. Smith). London: Tavistock Publications. การอ้างอิง (Foucault, 1988, pp.19-28)

2. บทความในหนังสือ หมายถึงข้อเขียนหนึ่งในหนังสือเล่มเดียวกันที่มีผู้เขียนหลายคน มีองค์ประกอบในการเขียนบรรณานุกรมดังนี้ ผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ในชื่อบรรณาธิการ, ชื่อหนังสือ (เลขหน้า). สถานที่พิมพ์: ส�านักพิมพ์. บรรณานุกรม ประสิทธิ์ ชิณการณ์. (2543).สถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส. ใน สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์(บก.), รวมบทความเรื่องภูเก็ต (น.13-16). ภูเก็ต: สถาบันราชภัฏภูเก็ต. การอ้างอิง (ประสิทธิ์ ชิณการณ์, 2543, น.13-16) บรรณานุกรม Smylie, M. (1995). Teacher learning in the workplace: Implications for school reform. In T. Guskey & M. Huberman (Eds.), Professional Development in education: Paradigms and practices (pp.92-113). New York: Teachers College Press. การอ้างอิง (Smylie, 1995, pp.92-113)

Page 28: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาSKRU ACADEMIC JOURNAL

78

3. บทความในวารสาร มีรูปแบบในการเขียนบรรณานุกรมดังนี้ ผู้เขียนบทความ. (ปี, เดือน วัน). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้า บรรณานุกรม บุญญา มารศรี. (2545). นโยบายการบริหารจังหวัด. วารสารพัฒนา, 2 (4), 6-7. การอ้างอิง (บุญญา มารศรี, 2545, น.6-7) บรรณานุกรม Simon, A. (2000). Perceptual comparisons through the mind’s eye. Memory & Cognition, 23, 635-647. การอ้างอิง (Simon, 2000, pp.635-647).

4. บทความในหนังสือพิมพ์ รายการบรรณานุกรมของบทความในหนังสือพิมพ์ คล้ายกับการลงรายการบรรณานุกรมบทความในวารสาร ต่างกันตรงที่ไม่มีการระบุเล่มที่หรือฉบับที่ บรรณานุกรม สุจิตต์ วงศ์เทศ. (2548, พฤษภาคม 13). วัฒนธรรมแดกด่วน : ภูมิคุ้มกันบกพร่อง. มติชน, หน้า 34. การอ้างอิง (สุจิตต์ วงศ์เทศ, 2548, น.34) บรรณานุกรม Dirda, M. (2000, January 09). Books : Funny, gossipy and easy – going : A family album about the post- war art scene in England and France. Bangkok Post, p. 3. การอ้างอิง (Dirda, 2000,p.3)

5. บทความในสารานุกรม มีรูปแบบดังนี้ ผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ในชื่อสารานุกรม (เล่มที่, หน้า). สถานที่พิมพ์:ส�านักพิมพ์. บรรณานุกรม สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์, และนิวัติ เกิดปากแพรก. (2542). หมากขุม. ในสารานุกรมวัฒนธรรม ไทยภาคใต้ (ล. 17, น.8402-8406). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์. การอ้างอิง (สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์, และนิวัติ เกิดปากแพรก, 2542, น.8402-8406)

Page 29: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554Vol.4 No.1 January - June 2011

79

บรรณานุกรม Sturgeon,T. (1995). Science fiction. In The Encyclopedia Americana. (Vol.24, pp. 390- 392). Danbury, CT: Grolier. การอ้างอิง (Sturgeon, 1995, Vol.24, pp.390- 392)

6. วิทยานิพนธ์ ผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, ชื่อมหาวิทยาลัย, ชื่อคณะ, ชื่อสาขาวิชาหรือภาควิชา. บรรณานุกรม เจษฎ์สุดา จันทร์เอี่ยม. (2542). การศึกษาความสามารถและกลวิธีในการแก้โจทย์ปัญหา คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรม สามัญศึกษา เขตการศึกษา 7. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ ์ มหาวิทยาลัย. การอ้างอิง (เจษฎ์สุดา จันทร์เอี่ยม, 2542 น.12) บรรณานุกรม Ruppha Devahuti. (1975). Use of computer in serials control in Thai libraries. Unpublished master’s thesis, Chulongkorn University, Graduate School, Department of library Science. การอ้างอิง (Ruppha Devahuti, 1975, pp.99-102)

7. โสตทัศนวัสดุ ชื่อผู้จัดท�า (หน้าที่). (ปีที่ผลิต). ชื่อเรื่อง [ประเภทของโสตทัศนวัสดุ]. สถานที่ผลิต : หน่วยงานที่เผยแพร่. บรรณานุกรม สมเกียรติ อ่อนวิมล (ผู้บรรยาย). (2548). ทางสายไหม. [CD]. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. การอ้างอิง (สมเกียรติ อ่อนวิมล (ผู้บรรยาย), 2548) บรรณานุกรม Mihalyi, L. J. (1975). Landscape of Zambia. [slides]. Santa Barbara, Calif: Visual Education. การอ้างอิง (Mihalyi, 1975)

Page 30: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาSKRU ACADEMIC JOURNAL

80

บรรณานุกรม Understanding AIDS. (1997). [Video]. Philadelphia: Health Care Media. การอ้างอิง (Understanding AIDS, 1997)

8. บทคัดย่อใน CD-ROM (Abstract on CD-ROM) ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่จัดท�า). ชื่อของซีดีรอม [CD-ROM]. ชื่อของ file : หมายเลขของรายการ. บรรณานุกรม Bower, D.L. (1993). Employee assistant program’s supervisory referrals : Characteristics of referring and nonreferring supervisors. [CD-ROM]. Abstact from : ProQuesr File : Dissertation Abstracts Item : 9315947 การอ้างอิง (Bower, 1993)

9. บทความในอินเทอร์เน็ต มีส่วนประกอบที่ต้องลงรายการบรรณานุกรมดังนี้ ชื่อผู้แต่ง. ชื่อบทความ. ชื่อเรื่อง. สืบค้นหรือ Retrieved เดือน วัน ปี, จากหรือ from: ชื่อ URL (วัน เดือน ปี)ชื่อ URL (วันเดือนปี ) บรรณานุกรม ธัญญา ศิโรรัตน์ธัญโชค. (2547, 14 กรกฎาคม). วังจันทร์วิจารณ์: การบ้านชีวิต. สยามรัฐ. สืบค้นวันที่ 12 สิงหาคม 2550, จาก: http://www.siamrath.co.th/Education.asp? การอ้างอิง (ธัญญา ศิโรรัตน์ธัญโชค, 2547) บรรณานุกรม Burka, L. P. (1993). A hypertext history of multi-user dimension. MUD History. Retrieved August 2, 1996, from: http://www.utopia.com/talent/lpb/muddex/ essay การอ้างอิง (Burka, 1993)

Page 31: 51 วิกฤตเศรษฐกิจโลก 2008-2009 : สาเหตุและผลกระทบ World Economic

ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554Vol.4 No.1 January - June 2011

81

vการสัมภาษณ์ ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับผู้แต่งหนังสือ แต่แตกต่างกันที่ว่าให้บันทึกผู้ที่ให้สัมภาษณ์เพียงรายการละ 1 คน ถ้าสัมภาษณ์บุคคลในหน่วยงานเดียวกันพร้อมกันให้บันทึกรายการโดยระบุทีละคน และถ้ามีต�าแหน่งของผู้ให้สัมภาษณ์ จะต้องระบุด้วย และต�าแหน่งนั้นต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องที่สัมภาษณ์ ซึ่งลงเฉพาะการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาเท่านั้น ไม่รวมไว้ในบรรณานุกรม ดังนี้(ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์, สัมภาษณ์, วัน เดือน ปี ที่ให้ข้อมูล) การอ้างอิง (อาภร แก้วอ�าไพ, สัมภาษณ์, 23 มีนาคม 2549) การอ้างอิง (T.K. Lutes, interview, April 18, 2001)