potential factors of cultural tourism in sathing phra

12
การประชุมวิชาการและนาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที12 "Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2021" 669 ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา Potential Factors of Cultural Tourism in Sathing Phra Peninsula, Songkhla ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภาพร ยางประยงค์ 1 , หทัยรัตน์ วัฒนพฤกษ์ 2 , ภัทริยา สังข์น้อย 3 1,2,3 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา E-mail: [email protected] 1 บทคัดย่อ การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระจังหวัดสงขลา และ 2) ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิง พระจังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีในการวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างจานวน 388 ราย โดย เลือกตัวอย่างแบบบังเอิญเครื่องมือคือแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น (r) เท่ากับ 0.84 สถิติในการวิเคราะห์คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐานในการวิจัยเชิงคุณภาพใช้เทคนิคการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบ สุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลาจานวน 20 รายโดยเลือกแบบเจาะจงเพื่อวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน โอกาสและ อุปสรรคในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา ผลการศึกษาพบว่า 1) ความพึง พอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในภาพรวมอยู่ที่ระดับปานกลาง (x = 3.40) โดยมีความพึงพอใจในระดับมาก ด้านสิ่งดึงดูดใจการเข้าถึงสิ่งอานวยความสะดวก และกิจกรรมและ2) ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมใน คาบสุมทรสทิงพระจังหวัดสงขลาจากการวิเคราะห์ SWOT พบว่ามีจุดแข็งด้านพื้นที่จากการที่มีทุนและ ทรัพยากรทางวัฒนธรรมอุดมสมบูรณ์แต่มีจุดอ่อนในด้านการจัดการที่พัก สาหรับโอกาสคือด้านองค์กรจากการ ที่ภาครัฐให้งบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง และมีอุปสรรคด้านกิจกรรมเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบ ในจังหวัดภาคใต้ชายแดน คาสาคัญ: ศักยภาพ,การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม,คาบสุมทรสทิงพระ Abstract The purposes of this study were: 1) to survey Thai tourists’ satisfaction towards visiting Sathing Phra peninsula and 2) to analyze the potentials factors of cultural tourism in Sathing Phra peninsula, Songkhla province. By the mixed method, quantitative and qualitative researches were applied. For quantitative research, three hundred and eighty- eight Thai tourists were selected by accidental sampling. Data on measures of Thai tourist satisfaction were collected by using the questionnaire (reliability value = 0.84) analyzed by the statistical computer program to find the arithmetic means and standard deviation. For qualitative research, non-participant observation and in-depth interview techniques were applied for SWOT analysis of the potential factors of cultural tourism in Sathing Phra

Upload: others

Post on 25-Mar-2022

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

การประชุมวิชาการและน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาต ิครั้งที่ 12

"Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2021"

669

ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา Potential Factors of Cultural Tourism in Sathing Phra Peninsula, Songkhla

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภาพร ยางประยงค1์, หทัยรัตน์ วัฒนพฤกษ์2, ภัทริยา สังข์น้อย3

1,2,3คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา E-mail: [email protected]

บทคัดย่อ การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษา 1) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระจังหวัดสงขลา และ 2) ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระจังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีในการวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างจ านวน 388 ราย โดยเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญเครื่องมือคือแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น (r) เท่ากับ 0.84 สถิติในการวิเคราะห์คือค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐานในการวิจัยเชิงคุณภาพใช้เทคนิคการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลาจ านวน 20 รายโดยเลือกแบบเจาะจงเพ่ือวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา ผลการศึกษาพบว่า 1) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในภาพรวมอยู่ที่ระดับปานกลาง (x̅= 3.40) โดยมีความพึงพอใจในระดับมากด้านสิ่งดึงดูดใจการเข้าถึงสิ่งอ านวยความสะดวก และกิจกรรมและ2) ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระจังหวัดสงขลาจากการวิเคราะห์ SWOT พบว่ามีจุดแข็งด้านพ้ืนที่จากการที่มีทุนและทรัพยากรทางวัฒนธรรมอุดมสมบูรณ์แต่มจีุดอ่อนในด้านการจัดการที่พัก ส าหรับโอกาสคือด้านองค์กรจากการที่ภาครัฐให้งบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง และมีอุปสรรคด้านกิจกรรมเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดภาคใต้ชายแดน ค าส าคัญ: ศักยภาพ,การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม,คาบสุมทรสทิงพระ Abstract The purposes of this study were: 1 ) to survey Thai tourists’ satisfaction towards visiting Sathing Phra peninsula and 2) to analyze the potentials factors of cultural tourism in Sathing Phra peninsula, Songkhla province. By the mixed method, quantitative and qualitative researches were applied. For quantitative research, three hundred and eighty-eight Thai tourists were selected by accidental sampling. Data on measures of Thai tourist satisfaction were collected by using the questionnaire (reliability value = 0.84) analyzed by the statistical computer program to find the arithmetic means and standard deviation. For qualitative research, non-participant observation and in-depth interview techniques were applied for SWOT analysis of the potential factors of cultural tourism in Sathing Phra

การประชุมวิชาการและน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาต ิครั้งที่ 12

"Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2021"

670

peninsula, Songkhla province. The study found: 1 ) Overall, Thai tourist satisfaction towards visiting Sathing Phra peninsula, Songkhla province was at a moderate level (x̅= 3 .40 ). Thai tourists’ satisfaction towards the attractions, accessibility, amenities, and activities at high levels; and 2) The potentials factors of cultural tourism in Sathing Phra peninsula, Songkhla province by SWOT analysis; Strengths were the abundance of the cultural diversity of tourist attractions, weaknesses were the accommodation management, opportunities were the government continuously supports the budget for tourists, and threats were the concern of the Southern insurgency. Keywords: Potential Factors, Cultural Tourism, Sathing Phra Peninsula บทน า บริบทโลกาภิวัตน์ (globalization) มีสิ่งอ านวยความสะดวกในการท่องเที่ยวส่งผลท าให้อุปสงค์ต่อการท่องเที่ยวมีเพ่ิมมากขึ้น โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนสถานนักท่องเที่ยวชาวไทยจะให้ความสนใจและได้รับความนิยมมากเป็นพิเศษ (ภัทรลภา บุตรดาเลิศ, 2561)ในปี พ.ศ 2560จังหวัดสงขลาได้มีปฏิบัติการ “เดินหน้าสงขลาเดินหน้าประเทศไทย”ภายใต้ค าขวัญ “เดินหน้าสงขลา เดินหน้ามหาสนุก”ด าเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพ่ือกระจายรายได้สู่ชุมชนและด าเนินยุทธศาสตร์ที่ 1เพ่ือพัฒนาการท่องเที่ยวและกลยุทธ์ที่ 4การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงธุรกิจ(ส านักงานจังหวัดสงขลา, 2561) คาบสุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลามีการค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าเคยเป็นที่ตั้งของชุมชนสังคมพุทธศาสนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 5 (อิสรชัย บูรณะอรรจน์ และเกรียงไกร เกิดศิริ, 2557)โดยที่ปัจจุบันมีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติเป็นจ านวน 22 แห่งได้แก่วัดพังยาง วัดสีหยังวัดพระเจดีย์งามวัดราชประดิษฐานโบราณสถานเขาคูหาและพังพระ วัดศิลาลอยวัดดีหลวง วัดสนามชัยวัดจะทิ้งพระวัดบางเขียดวัดหนองหอยวัดดลการามวัดแหลมจาก วัดสลักป่าเก่า วัดหลวงใน ที่ฝังศพพระยาแขกที่ฝังศพวิลันดา ที่ฝังศพเจ วี ลาร์เชนโบราณสถานเมืองสงขลาเก่าบ่อเก๋งศาลากวง และศาลาหลบเสือ(Fine Arts Department, 2001 อ้างถึงใน สมชายเลี้ยงพรพรรณ, 2560)โดยที่ตั้งของคาบสุมทรสทิงพระจังหวัดสงขลา ครอบคลุมพ้ืนที่ 4 อ าเภอในจังหวัดสงขลาคืออ าเภอสิงหนครอ าเภอสทิงพระ อ าเภอกระแสสินธุ์ และอ าเภอระโนดมีทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดนครศรีธรรมราชทิศใต้ติดต่อกับอ าเภอเมืองจังหวัดสงขลาทิศตะวันออกและตะวันตกติดต่อกับอ่าวไทยและลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลาตามล าดับ การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา จะเป็นการสอบถามผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลาโดยแบ่งเป็น 5 กลุ่มคือนักท่องเที่ยวชาวไทยประชาชน ผู้ประกอบการ บุคลากรภาครัฐ และพระภิกษุสงฆ์ วัตถุประสงค์การวิจัย

1. ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระจังหวัดสงขลา

การประชุมวิชาการและน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาต ิครั้งที่ 12

"Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2021"

671

2. ศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา ขอบเขตการวิจัย 1. ขอบเขตด้านเนื้อหาคณะผู้วิจัยมีการบูรณาการและเชื่อมโยงระหว่างตัวแปรต้นคือความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลาในการศึกษาจะพิจารณาองค์ประกอบส าคัญในการท่องเที่ยวของดิกแมน (Dickman, S., 2000)หรือ 5A’sเพ่ือวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ซึ่งประกอบด้วยสิ่งดึงดูดใจ การเข้าถึง สิ่งอ านวยความสะดวกที่พัก และกิจกรรมและการการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา โดยเป็นการสอบถามศักยภาพการท่องเที่ยวที่ส าคัญ 4 ด้านคือด้านพ้ืนที่ด้านการจัดการ ด้านกิจกรรม และด้านองค์กร ส าหรับตัวแปรตามคือศักยภาพหรือขีดความสามารถในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลาโดยการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค สามารถแสดงกรอบแนวคิดในการวิจัยไดดั้งภาพที่ 1 2. ขอบเขตด้านประชากร เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสมุทรสทิงพระจังหวัดสงขลา ซึ่งมีขนาดใหญ่จ านวนมากและไม่ทราบจ านวนที่แน่นอน 3. ขอบเขตด้านเวลา เป็นการศึกษาระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561-พฤศจิกายนพ.ศ. 2562รวมระยะเวลา 12 เดือน

การประชุมวิชาการและน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาต ิครั้งที่ 12

"Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2021"

672

ตัวแปรต้น (independent variables) ตัวแปรตาม (dependent variables)

ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย ที่มา: ปรับปรุงจาก นงลักษณ์ จันทาภากุล และนรินทร์ สังข์รักษา (2558)รุ่ งราตรี อ้ึงเจริญ และชวลีย์

ณ ถลาง (2560) และสัญญา เคณาภูมิ (2562) อ้างถึงใน ประภาพร ยางประยงค์ และศศิธร สุวรรณรัตน์(2563)

วิธีด าเนินการวิจัย การวิจัยเป็นแบบผสม (mix method research) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพดังนี้ 1. การวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) เพ่ือศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา แบ่งเนื้อหาเป็น3ประเด็น ได้แก่ขอบเขตประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา และสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

ความพึงพอใจ ในการท่องเท่ียว

เชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา

1. สิ่งดึงดูดใจ 2. การเข้าถึง 3.สิ่งอ านวยความสะดวก 4.ที่พัก 5.กิจกรรม

การวิเคราะห์ ศักยภาพการท่องเท่ียว

เชิงวัฒนธรรม ในคาบสุมทรสทิงพระจังหวัด

สงขลา 1. จุดแข็ง 2. จุดอ่อน 3.โอกาส 4.อุปสรรค

ศักยภาพการท่องเท่ียว เชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิง

พระ จังหวัดสงขลา

1. ด้านพื้นท่ี 2. ด้านการจดัการ 3.ด้านกิจกรรม 4.ด้านองค์กร

นักท่องเที่ยว

ชาวไทย

ประชาชน

ผู้ประกอบการ

บุคลากร

ภาครัฐ

การประชุมวิชาการและน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาต ิครั้งที่ 12

"Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2021"

673

1.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเพ่ือศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา ดังนี้ ประชากร (population) เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสมุทรสทิงพระจังหวัดสงขลา ซึ่งมีขนาดใหญจ่ านวนมากและไม่ทราบจ านวนที่แน่นอน กลุ่มตัวอย่าง (sample) โดยการก าหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้หลักการที่ประชากรมีจ านวนไม่แน่นอนและทราบว่าประชากรนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระจังหวัดสงขลามีขนาดใหญ่จ านวนมาก(infinite population) โดยก าหนดค่าระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95มีความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ร้อยละ 5ในการค านวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง สามารถแสดงได้ดังสมการทางคณิตศาสตร์ (บุญชม ศรีสะอาด, 2560) คือ

𝑛 =P(1 − P)Z2

e2

เมื่อ n คือ ขนาดกลุ่มตัวอย่าง (ราย) P คือ สัดส่วนของประชากรที่คณะผู้วิจัยก าหนดสุ่ม มีค่าเท่ากับร้อยละ 50 Z คือ ค่าระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 (ระดับ 0.05)และZ = 1.96 e คือ ค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ เท่ากับ 0.05 1) ค านวณจ านวนกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสมุทรสทิงพระจังหวัดสงขลาโดยแทนค่าในสมการข้างต้นจะได้ว่า

จ านวนกลุ่มตัวอย่าง (n) = 0.5 ×(1−0.5)× 1.96 2

0.052

n = 384.16 หรือ 385 ราย จ านวนกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทยฯ เท่ากับ385 ราย 2) ค านวณจ านวนกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา ในระดับอ าเภอจ านวน4 อ าเภอโดยใช้สัดส่วนเท่ากันในทุกอ าเภอ จะได้ว่า

จ านวนกลุ่มตัวอย่างในแต่ละอ าเภอ (ราย) = 385

4=96.25หรือ 97

กลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสมุทรสทิงพระจังหวัดสงขลา มีจ านวนรวมทั้งสิ้น388 ราย โดยแต่ละอ าเภอมีกลุ่มตัวอย่างเท่ากัน อ าเภอละเท่ากับ97 ราย เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น (non-probability sampling)และเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ(accidental sampling) 1.2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามปลายปิด (close-ended questionnaires) มี 2 ตอนคือตอนที่ 1 เป็นข้อมูลทางประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลาและตอนที่ 2 เป็นระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา 1.3 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ยเลขคณิต (arithmetic mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)

การประชุมวิชาการและน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาต ิครั้งที่ 12

"Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2021"

674

2. การวิจัยเชิงคุณภาพ(qualitative research) เพ่ือศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลาแบ่งเนื้อหาเป็น3ประเด็นคือ ผู้ให้ข้อมูลหลัก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาและเทคนิคในการวิเคราะห์ ดังนี้ 2.1 ผู้ให้ข้อมูลหลัก(key informants) เป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย(stakeholders) ในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระจังหวัดสงขลา เป็นการเลือกผู้ที่มีข้อมูลตรงตามประเด็นการวิจัยมากกว่าปกติ(intensity sampling) โดยมีการแบ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็น 2 ระดับคือระดับปฐมภูมิ (primary stakeholders) คือกลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ได้แก่ ประชาชนผู้ประกอบการ และพระภิกษุสงฆ์ ส าหรับระดับทุติยภูมิ (secondary stakeholders) คือกลุ่มที่ไม่ได้เกี่ยวข้องในชุมชนโดยตรงได้แก่บุคคลากรภาครัฐโดยมีรายละเอียดดังนี้ประธานศูนย์การเรียนรู้วิถีโหนดนาเลประธานวิสาหกิจชุมชนตาลโตนดและโหนด นา เลผู้ประกอบการ แม่ครัวประจ าวัด ผู้ปฏิบัติหน้าที่ แทนรักษาการเจ้าอาวาสวัดต้นเลียบผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนรักษาการเจ้าอาวาสวัดดีหลวง ประธานสงฆ์ส านักสงฆ์นาผูกเปลประธานสภาวัฒนธรรมอ าเภอกระแสสินธุ์ ประธานสภาองค์กรชุมชนต าบลเชิงแส นักวิชาการวัฒนธรรมประธานสภาวัฒนธรรมอ าเภอสิงหนคร และผู้ใหญ่บ้านเขาในรวมจ านวนทั้งสิ้น20 ราย(ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์, 2559และ Lawrence, A. T., & Weber, J., 2016) 2.2 เครื่องมือที่ ใช้ ในการศึกษา เป็นการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (non participant observation) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) โดยใช้แบบสัมภาษณ์ (interview form) ชนิดกึ่งมีโครงสร้าง(semi-structured Interview) เพ่ือสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระจังหวัดสงขลา 2.3 เทคนิคในการวิเคราะห์คือการประมวลผลวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) และการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค(SWOT analysis) ผลการวิจัย 1. ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระจังหวัดสงขลา จากการสอบถามความพึงพอใจนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระจังหวัดสงขลาซึ่งแบ่งองค์ประกอบการท่องเที่ยวเป็น5ด้าน (5A’s) คือสิ่งดึงดูดใจ การเข้าถึงสิ่งอ านวยความสะดวกที่พัก และกิจกรรมและแบ่งประเด็นย่อยๆ รวม 22 ประเด็น ดังนี้ 1.1 สิ่งดึงดูดใจ (attractions: A1) พบว่านักท่องเที่ยวชาวไทยมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเลขคณิต(x̅)เท่ากับ 4.00แบ่งเป็น4 ประเด็นย่อยคือมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และน่าสนใจมีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่หลากหลายความเลื่อมใสศรัทธาที่ทรงคุณค่าทางจิตใจ และมีการโพส์ตและแชร์ภาพผ่านสื่อสาธารณะจ านวนมากโดยมีค่าเฉลี่ยเลขคณิต(x̅)เท่ากับ 4.02, 4.02, 4.15, และ 3.79ตามล าดับ 1.2 การเข้าถึง (accessibility: A2) พบว่านักท่องเที่ยวชาวไทยมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x̅) เท่ากับ 4.00 แบ่งเป็น3 ประเด็นย่อยคือการเข้าถึงมีความสะดวกมีป้าย

การประชุมวิชาการและน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาต ิครั้งที่ 12

"Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2021"

675

บอกทางที่ชัดเจนเข้าใจได้ง่าย และการค้นหาพิกัดสถานที่ท่องเที่ยวมีความแม่นย า โดยมีค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x̅)เท่ากับ 4.05, 3.93และ 3.92 ตามล าดับ 1.3 สิ่งอ านวยความสะดวก (amenities: A3) พบว่านักท่องเที่ยวชาวไทยมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเลขคณิต(x̅)เท่ากับ 3.81แบ่งเป็น7 ประเด็นย่อยคือมีสถานที่จอดรถเหมาะสมและเพียงพอ มีร้านจ าหน่ายสินค้าพ้ืนเมืองเพียงพอความเหมาะสมของราคาสินค้าพ้ืนเมือง มีร้านจ าหน่ายอาหารพื้นเมืองเพียงพอ ความเหมาะสมของราคาอาหารพื้นเมืองมีสัญญาณโทรศัพท์หรืออินเตอร์เน๊ตครอบคลุมทั่วถึงและมีห้องน้ าสะอาดและพอเพียงโดยมีค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x̅)เท่ากับ 4.01, 3.76,3.85, 3.65, 3.76, 3.99 และ 3.68 ตามล าดับ 1.4 ที่พัก(accommodation: A4) พบว่านักท่องเที่ยวชาวไทยมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ที่ระดับน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x̅) เท่ากับ 1.00แบ่งเป็น4 ประเด็นย่อยคือมีที่พักใกล้แหล่งท่องเที่ยวและมีเพียงพอ มีสิ่งอ านวยความสะดวกในที่พักเพียงพอ ความเหมาะสมของราคาท่ีพัก และความปลอดภัยของสถานที่พักโดยมีค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x̅) เท่ากับ1.00ทุกประเด็น ทั้ง 4 ประเด็น 1.5 กิจกรรม(activities: A5)พบว่านักท่องเที่ยวชาวไทยมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ที่ระดับมากมีค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x̅)เท่ากับ4.07แบ่งเป็น4 ประเด็นย่อยคือมีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์มีบุคลากรแนะน าและให้ความรู้ในการท่องเที่ยวมีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ประทับใจและกิจกรรมการท่องเที่ยวสร้างการอนุรักษ์วัฒนธรรม โดยมีค่าเฉลี่ยเลขคณิต(x̅) เท่ากับ4.09, 3.97, 4.08และ 4.12 ตามล าดับ ระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลาจากการประเมินองค์ประกอบการท่องเที่ยว5 ด้าน(5A’s) รวมทั้งหมด 22 ประเด็น พบว่าความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ที่ระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x̅) เท่ากับ 3.40 สามารถแสดงไดด้ังตารางที่ 1 ตารางที ่1 ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา

n = 388 ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย

ในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในคาบสุมทรสทิงพระจังหวัดสงขลา

(x̅) S.D ระดับความพึงพอใจ ของนักท่องเที่ยวชาวไทย

1. สิ่งดึงดูดใจ (A1) 4.00 0.85 มาก 1.1 มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และน่าสนใจ 4.02 0.72 มาก 1.2มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย 4.02 0.86 มาก 1.3 ความเลื่อมใสศรัทธาที่ทรงคุณค่าทางจิตใจ 4.15 0.84 มาก 1.4 มีการโพส์ตและแชร์ภาพผ่านสื่อสาธารณะจ านวนมาก

3.79 0.98 มาก

2. การเข้าถึง(A2) 3.97 0.91 มาก

การประชุมวิชาการและน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาต ิครั้งที่ 12

"Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2021"

676

ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ในคาบสุมทรสทิงพระจังหวัดสงขลา

(x̅) S.D ระดับความพึงพอใจ ของนักท่องเที่ยวชาวไทย

2.1การเข้าถึงมีความสะดวก 4.05 0.85 มาก 2.2มีป้ายบอกทางที่ชัดเจนเข้าใจได้ง่าย 3.93 0.91 มาก 2.3 การค้นหาพิกัดสถานทีท่องเที่ยวมีความแม่นย า 3.92 0.97 มาก 3. สิ่งอ านวยความสะดวก(A3) 3.1 มีสถานที่จอดรถเหมาะสมและเพียงพอ

3.81 4.01

0.97 0.91

มาก มาก

3.2 มีร้านจ าหน่ายสินค้าพ้ืนเมืองเพียงพอ 3.76 0.95 มาก 3.3 ความเหมาะสมของราคาสินค้าพ้ืนเมือง 3.85 0.89 มาก 3.4 มีร้านจ าหน่ายอาหารพ้ืนเมืองเพียงพอ 3.65 1.05 มาก 3.5 ความเหมาะสมของราคาอาหารพื้นเมือง 3.76 1.05 มาก 3.6 มีสัญญาณโทรศัพท์อินเตอร์เน๊ตครอบคลุมทั่วถึง 3.99 0.91 มาก 3.7 มีห้องน้ าสะอาดและพอเพียง 3.68 0.97 มาก 4.ที่พัก(A4) 1.00 0.00 น้อยท่ีสุด 4.1 มีที่พักใกล้แหล่งท่องเที่ยวและมีเพียงพอ 1.00 0.00 น้อยที่สุด 4.2มีสิ่งอ านวยความสะดวกในที่พักเพียงพอ 1.00 0.00 น้อยที่สุด 4.3 ความเหมาะสมของราคาท่ีพัก 1.00 0.00 น้อยที่สุด 4.4ความปลอดภัยของสถานที่พัก 1.00 0.00 น้อยที่สุด 5. กิจกรรม(A5) 4.07 0.85 มาก 5.1 มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ 4.09 0.72 มาก 5.2 มี บุ คลากรแนะน าให้ ค วามรู้ เกี่ ย ว ในการท่องเที่ยว

3.97 0.95 มาก

5.3 มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ประทับใจ 4.08 0.86 มาก 5.4 กิจกรรมการท่องเที่ยวสร้างการอนุรักษ์วัฒนธรรม

4.12 0.86 มาก

ภาพรวม 3.40 0.74 ปานกลาง ที่มา:จากการค านวณ 2. ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา โดยการสังเกตแบบไมม่ีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระจังหวัดสงขลาในการการสัมภาษณ์จะประกอบด้วยภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ รวมจ านวน20 ราย เพ่ือน ามาประมวลผลโดยการวิเคราะห์สังเคราะห์เชิงเนื้อหาและวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคสามารถแสดงผลการวิเคราะห์ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลาได้ดังตารางที่ 2

การประชุมวิชาการและน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาต ิครั้งที่ 12

"Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2021"

677

ตารางที ่2 ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา

n = 20 จุดแข็ง (S: strengths) ด้านพื้นท่ี (S1) : มีทรัพยากรท่ีอ านวยประโยชน์ต่อการท่องเท่ียวเชิงวัฒนธรรมเพียงพอและมคีวามหลากหลาย ได้แก่สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ทุนและสถานท่ีท่องเท่ียวทางวัฒนธรรมอุดมสมบูรณ์ และเส้นทางเดินทางสะดวกปลอดภัย จุดแข็ง (ต่อ) ด้านการจัดการ(S2): มีศูนย์เพื่อการเรียนรู้วิถีชีวิต ศูนย์เรียนรู้โหนด นา เล หรือศูนย์เรียนรู้ โหนด นา ไผ่ คน ด้านกิจกรรม(S3): มีรูปแบบกิจกรรมหลากหลาย ได้แก่ กิจกรรมวิถีชีวิตเกษตรกร (การเคี่ยวน้ าตาล โตนด) กิจกรรมความเชื่อทางศาสนา (ลากเรือพระโบราณ สมโภชบ่อน้ าศักดิ์สิทธิ์) กิจกรรมความเชื่อโบราณ (ประเพณีแต่งงานนางไม้ แต่งงานพญานาค) และกิจกรรมตลาดน้ าคลองแดน ด้านองค์กร(S4): หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุน ความมีชื่อเสียงของสถานท่ีท่องเท่ียว (วัดพะโคะ หรือ วัดพระราชประดิษฐาน) ความมีชื่อเสียงของพระเกจิอาจารย์ (สมเด็จพะโคะ หลวงพ่อทวดเหยียบน้ าทะเลจืด) จุดอ่อน (W: weaknesses) ด้านพื้นท่ี(W1) :เส้นทางการท่องเท่ียวมีรูปแบบของการเดินทางท่องเท่ียวแบบไป-กลับ ด้านการจัดการ(W2) : มีป้ายแสดงเส้นทางสู่แหล่งท่องเท่ียวมีไม่เพียงพอ ระบบขนส่งสาธารณมีจ านวนจ ากัด ผลิตภัณฑ์พื้นเมืองไม่แสดงอัตตลักษณ์ของชุมชน และสถานท่ีพักมีจ ากัด ท้ังด้านปริมาณและคุณภาพ ด้านกิจกรรม (W3) : มีการจัดงานเฉพาะบางช่วงเวลา (ไม่ต่อเนื่อง) และมีการประชาสัมพันธ์จ ากัด ด้านองค์กร(W4) : มีผู้ประกอบการในชุมชนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัยสภาพสถานที่ท่องเท่ียวทรุดโทรมตามกาลเวลา โอกาส (O: opportunities) ด้านพื้นท่ี(O1) : มีเส้นทางในเดินทางมีความสะดวกและปลอดภัย ด้านการจัดการ(O2) : มีการวางยุทธศาสตร์พัฒนาชุมชนรัฐบาลให้การสนับสนุนโครงการท่องเท่ียว ด้านกิจกรรม(O3) : มีนักท่องเท่ียวท่ีศรัทธาต่อสถานท่ีท่องเท่ียวทางพุทธศาสนา องค์กร(O4) : ผู้ประกอบการได้รับการสนับสนุนโครงการด้านท่องเท่ียวจากภาครัฐอย่างต่อเน่ือง อุปสรรค(T: threats) ด้านพื้นท่ี (T1) : มีสถานการณ์ความไม่สงบของจังหวัดชายแดนใต้ ด้านการจัดการ(T2) : ในยุคปัจจุบันเป็น Thailand 4.0 มีการใช้แพลตฟอร์ม (platforms) เทคโนโลยีสมัยใหม่หรือการเชื่อมโยงข้อมูลได้ตลอดเวลา ท าให้เป็นข้อจ ากัดของหน่วยงานและผู้ประกอบการอาวุโสอาจปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง ด้านกิจกรรม (T3) : มีภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และความกังวลในสถานการณ์ความไม่สงบของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ด้านองค์กร (T4) : ในยุคDisruption มีผลให้องค์กรเก่าไม่จะสามารถน ามาบรูณาการให้เกิดประโยชน์กับการท่องเท่ียวได้

ที่มา:ประมวลผลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและวิเคราะห์ SWOT จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก

การประชุมวิชาการและน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาต ิครั้งที่ 12

"Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2021"

678

สรุปและอภิปรายผลการวิจัย ศักยภาพการเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา จากผลการส ารวจความพึงพอใจในภาพรวมของนักท่องเที่ยวชาวไทยอยู่ที่ระดับปานกลางโดยส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมากในด้านสิ่งดึงดูดใจการเข้าถึง สิ่งอ านวยความสะดวก และกิจกรรม สอดคล้องกับการศึกษาของสุวิมล คนไวและพันธ์วลี รวมรีย์ (2562)โดยที่ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระ พบจุดแข็งด้านพื้นที่และด้านกิจกรรมได้แก่มีทุนและทรัพยากรทางวัฒนธรรมอุดมสมบูรณ์และมีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่อ านวยประโยชน์ในการท่องเที่ยวอุมสมบูรณ์สอดคล้องกับการศึกษาของนงลักษณ์ จันทาภากุล และนรินทร์สังข์รักษา (2558) แต่ในทางตรงกันข้ามพบจุดอ่อนด้านการจัดการ ได้แก่ ป้ายบอกเส้นทางสู่แหล่งท่องเที่ยวระบบขนส่งสาธารณและด้านที่พักพบข้อจ ากัดทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ สอดคล้องกับการศึกษาของจิตกวีกระจ่างเมฆ และสุดหล้าเหมือนนาคร (2562)และพบโอกาสของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ด้านพ้ืนที่ด้านกิจกรรมและด้านการจัดการ ได้แก่เส้นทางในการเดินทางมีความสะดวกและปลอดภัยความศรัทธาต่อสถานที่ท่องเที่ยวทางพุทธศาสนาและรัฐสนับสนุนงบประมาณ ตามล าดับ ในขณะที่พบอุปสรรคด้านกิจกรรมได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและความกังวลในสถานการณ์ความไม่สงบของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนส่งผลต่อการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมลดน้อยลง สอดคล้องกับการศึกษาของประภาพรยางประยงค์ และศศิธรสุวรรณรัตน์ (2563) ข้อเสนอแนะ การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคาบสุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา สามารถน าผลการศึกษา ไปใช้ประโยชน์เพ่ือประกอบการพิจารณาวางนโยบายสร้างกลยุทธ์พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้เกิดความยั่งยืน โดยที่ชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการท่องเที่ยวของชุมชนควรมีส่วนร่วมในการก าหนดนโยบายเพ่ือสร้างสมดุลและครอบคลุมทุกภาคส่วนโดยเฉพาะการจัดตั้งองค์กรส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนเพ่ือให้สามารถเกิดการวางแผน (planning) ไปจนกระทั่งก าหนดเครื่องมือเพ่ือพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน และ ควรตระหนักศักยภาพของชุมชนด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ การมีจุดแข็งจุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคที่เผชิญนอกจากนั้นภาครัฐควรมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการท่องเที่ยวที่เป็นการบูรณาการสร้างความร่วมมือขององค์กรที่หลากหลาย ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้มีความเข้มแข็งมากขึ้นโดยกลยุทธ์ในการเพ่ิมศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา ทั้ง 4 ประเด็นคือด้านพ้ืนที่ด้านการจัดการด้านกิจกรรม และด้านองค์กร มีรายละเอียด ดังนี้ 1.ด้านพ้ืนที่:มีป้ายแสดงเส้นทางสู่แหล่งท่องเที่ยวที่ชัดเจนและเพ่ิมบริการขนส่งสาธารณะที่เข้าถึง แหล่งท่องเที่ยวได้สะดวกเพ่ือสร้างความพึงพอใจให้นักท่องเที่ยวชาวไทยเพ่ิมมากข้ึน 2.ด้านการจัดการ:ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในชุมชนมีองค์ความรู้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาเพ่ือน าไปปรับใช้บริหารจัดการองค์กรได้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเพ่ิมการโฆษณาเชิงรุกในการส่งเสริมการท่องเที่ยวได้แก่ สื่อออนไลน์หรือโซเชียลมี เดีย(social media)ขยายฐานกลุ่มนักท่องเที่ยวใหม่ๆ ทั้ งนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศโดยผู้ประกอบการควรตระหนักและเพ่ิมการสร้างความพึงพอใจให้

การประชุมวิชาการและน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาต ิครั้งที่ 12

"Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2021"

679

นักท่องเที่ยวมากขึ้นได้แก่การจัดการของสถานที่พักควรมีมาตรฐานสอดคล้องตรงตามความต้องการของนักท่องเที่ยวและสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนทีมี่อัตลักษณ์มากข้ึน 3.ด้านกิจกรรม: สนับสนุนการบูรณาการระหว่างการจัดกิจกรรมกับการประชาสัมพันธ์เพ่ือให้นักท่องเที่ยวเกิดการรับรู้อย่างกว้างขวางและมีช่องทางหลากหลายสร้างความตระหนักของประชาชนในชุมชนเกี่ยวกับความส าคัญของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมควรเพ่ิมการกระจายข้อมูลการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวให้ทั่วถงึและครอบคลุมกลุ่มนักท่องเที่ยวทุกเพศทุกวัย 4.ด้านองค์กร:สนับสนุนนโยบายที่สร้างเครือข่ายความร่วมมือให้กว้างขวางและครอบคลุมมากขึ้นได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสถาบันการศึกษาในชุมชนและปราชญ์ชาวบ้าน เพ่ือให้เกิดการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในคาบสุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลาได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยนี้ส าเร็จลุล่วงได้ด้วยดีเนื่องจากได้รับงบประมาณสนับสนุนจากคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้รับการอนุเคราะห์ตรวจแบบสอบถาม โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวจ านวน 3 ท่านคือรองศาสตราจารย์ดร.ประมาณ เทพสงเคราะห์ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติดิษยะศรินมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป้องศักดิ์ ทองเนื้อแข็ง อาจารย์ประจ าหลักสูตรอุตสาหกรรมท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและผู้ช่วยศาสตราจารย์กลุดารา เพียรเจริญ อาจารย์ประจ าสาขาการโรงแรมและท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และผู้ให้ข้อมูลหลักท้ัง 20 ท่าน คณะผู้วิจัยขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ เอกสารอ้างอิง จติกวี กระจ่างเมฆ และสุดหล้า เหมือนนาคร. (2562). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จังหวัด

นครปฐม ไทยแลนด์ 4.0:กรณีศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นลาวครั่งบ้านผักกูด ไทยทรงด า บ้านไผ่หูช้างและไทยจีนตลาดบ้านหลวง. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

ราชมงคลรัตนโกสินทร์. นงลักษณ์ จันทาภากุล และนรินทร์ สังข์รักษา. (2558). การศึกษาศักยภาพในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของชุมชนบ้านหัวเขาจีน จังหวัดราชบุรี,วารสารวิทยบริการ,24(2), 143-156. บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. ประภาพร ยางประยงค์ และศศิธรสุวรรณรัตน์. (2563). ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา.ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ.กรุงเทพฯ: ส านักงานการวิจัยแห่งชาติและศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย, หน้า 216. ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างส าหรับการวิจัย เชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต. 29(2),31-48. ภัทรลภา บุตรดาเลิศ. (2561). ผลกระทบจากการท่องเที่ยวทางศาสนาต่อมรดกท่ีจับต้องไม่ได้ภายในวัด. วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,8(2), 1-27.

การประชุมวิชาการและน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาต ิครั้งที่ 12

"Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2021"

680

สมชาย เลี้ยงพรพรรณ. (2560). การศึกษาศักยภาพแหล่งทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ บริเวณคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(1), 184-207. ส านักงานจังหวัดสงขลา. (2561). ข้อมูลจังหวัดสงขลา 2560. สงขลา: ผู้แต่ง. สุวิมลคนไว และพันธ์วลี รวมรีย์. (2562). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวประเพณี ขึ้นเขาพนมรุ้งจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(1), 194-204. อิสรชัย บูรณะอรรจน์ และเกรียงไกร เกิดศิริ. (2557). พุทธศาสนสถาปัตยกรรมพ้ืนถิ่นลุ่มน้ าทะเลสาบสงขลา. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง Journal of Architectural/Planning and Studies (J ARS), 11(1), 1-19. Dickman S. (2000). Tourism: An Introductory Text. (3nd edition). United Kingdom: Hodder

Education. Lawrence, A. T., & Weber, J. (2016).Business and society: Stakeholders, ethics, public

policy.(15th edition). New York: McGraw-Hill Irwin.