graphic chapter 2

28
รสชา 306263 Graphic Design by Application Software Chapter_2 1

Upload: parig-prig

Post on 24-Jan-2017

113 views

Category:

Education


0 download

TRANSCRIPT

รหัสวิชา 306263Graphic Design by Application Software

Chapter_2

1

Introduction✓Introduction to OpenGL✓Basic Elements✓Color Theory✓COMPOSITION

Introduction to OpenGL

✓ Introduction to OpenGLoOpenGL คืออะไรoOpenGL กับ DirectXo เหตุผลที่นิยมใช้ OpenGL ในระบบกราฟิก

oฟังก์ชันทางกราฟิก (Graphic Functions)

Basic Elements✓Basic Elementso จุด (Dot)o เส้น (line)o ระนาบ (plan)

Color Theory✓Color Theoryo สีในงานกราฟิกและการสื่อความหมายในอารมณ์ต่างๆ

o หลักการใช้สีและแสงในคอมพิวเตอร์o จิตวิทยาของสีo สีกับความรับรู้ทางอารมณ์o เทคนิคการนำสีไปใช้งานo เทคนิคการใช้สีที่นิยมใช้

COMPOSITION

✓COMPOSITIONo การสร้างเอกภาพ (Unity)o การสร้างจุดเด่น เน้นจุดสำคัญ

(Emphasize)

Basic ElementsBasic Elementsองค์ประกอบพื้นฐานของภาพo จุด (Dot)o เส้น (line)o ระนาบ (plan)

จุด (Dot)จุดมีองค์ประกอบที่มีขนาดเล็ก ที่มีความกว้างและความยาวใกล้เคียงกัน จุดมีจุดเด่นในการจัดวางให้เกิดการเรียกร้องความสนใจได้ดีคุณสมบัติของจุดเรียกร้องความสนใจของสายตาได้ดีบอกและกำหนดตำแหน่งในภาพการวางจุด 2 จุด จะได้พื้นที่ระหว่างจุดที่ให้ความรู้สึกดึงดูดระหว่างกัน

เส้น (Line)เส้นเป็นองค์ประกอบที่มีความยาว เกิดจากการนำจุดมาเคลื่อนที่ หรือวางเรียงต่อ ๆ กัน เส้นมีคุณสมบัติเด่นในการนำสายตา หรือเป็นแนวแบ่งภาพคุณสมบัติของเส้น• เส้นมีความยาวมากกว่าความกว้างและความหนาอย่างเห็นได้ชัด จึงทำให้เกิดความรู้สึกไปทางด้านยาวด้านเดียว

• นำสายตา กำหนดทิศทาง และความต่อเนื่อง• แบ่งซอยภาพ

อารมณ์ และความรู้สึกจากเส้นแบบต่าง ๆ• เส้นตรง ให้ความรู้สึกมั่นคง เป็นระเบียบ• เส้นนอน ให้ความสงบ นิ่ง เรียบร้อย• เส้นเฉียง ให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว ความไม่หยุดนิ่ง พลังขับเคลื่อน

• เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกที่นิ่มนวล พลิ้วไหว• เส้นหยึกหยัก ให้ความรู้สึกถึงความไม่เป็นระเบียบ การไม่อยู่ในกรอบ ความอิสระ หรือความสับสนวุ่นวาย

• เส้นเล็กและบาง ให้ความรู้สึกเบาและเฉียบคม• เส้นหนา ให้ความหนักแน่นในการนำสายตา

อารมณ์ และความรู้สึกจากเส้นแบบต่าง ๆ

ระนาบ (Plane)• ระนาบ เป็นองค์ประกอบที่เกิดจากเส้นที่ขยายตัว หรือกลุ่มของจุด เกิดเป็นความกว้าง ความยาว เป็นองค์ประกอบ 2 มิติ ระนาบจะมีอิทธิพลในภาพมาก เพราะมักจะครองพื้นที่โดยรวมของภาพไว้

• เมื่ออยู่ในภาพ ระนาบ มักจะมีรูปร่างต่างกันออกไป โดยรูปร่างแต่ละชนิด จะให้ความรู้สึกต่าง ๆ กันไป

วงกลม• เมื่อมีการวางรูปร่างวงกลมในภาพ จะให้ความรู้สึกเป็นศูนย์กลาง เป็นที่รวมความสนใจ หรือการปกป้องคุ้มครอง

สี่เหลี่ยม• เมื่อวางรูปสี่เหลี่ยมในภาพ จะให้ความรู้สึกสงบ มั่นคง เป็นระเบียบ

• เมื่อวางสี่เหลี่ยมในแนวตั้งฉาก ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว และสร้างจุดสนใจได้ดี

• เมื่อวางในรูปแทยง สามารถจัดเป็นกลุ่มก้อนให้ลงตัวได้ง่าย

สามเหลี่ยม และหกเหลี่ยม• รูปสามเหลี่ยม ให้ความรู้สึกหยุดนิ่ง มั่นคง แต่ที่ส่วนปลายมุมทั้ง 3 ด้าน ให้ความรู้สึกถึงทิศทาง ความเฉียบคม และแรงผลักดัน

• รูปหกเหลี่ยม ให้ความรู้สึกถึงการเชื่อมโยง ที่สามารถต่อไปได้อย่างไม่มีขอบเขต

COMPOSITION การจัดองค์ประกอบเมื่อพูดถึงเรื่องการจัดองค์ประกอบ เราจะต้องซึมซับหลักการอยู่ 2 ข้อ ซึ่งเป็นหัวใจของการจัด องค์ประกอบในงานศิลปะ คือ ๑.การสร้างเอกภาพ (Unity)๒.การสร้างจุดเด่น เน้นจุดสำคัญ (Emphasize)

๑ Unity (เอกภาพ) เอกภาพ ถือได้ว่าเป็นกฎเหล็กของศิลปะ และเป็นหลักสำคัญในการจัดองค์ประกอบ ความมีเอกภาพหรือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเป็นจุดเริ่มแรกในการจัดองค์ประกอบให้กับงานออกแบบของเราวิธีสร้างเอกภาพ หรือสร้างความกลมกลืนให้กับงานออกแบบมีหลักอยู่ 3 ข้อคือ

การสร้าง ความใกล้ชิด ให้กับองค์ประกอบ

• วิธีที่ง่ายที่สุดในการสร้างเอกภาพให้กับงานคือ การจัดองค์ประกอบที่มีอยู่ให้สอดคล้องกัน แต่ละองค์ประกอบจะขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปไม่ได้ การวางองค์ประกอบให้ใกล้ชิดกันจะทำให้ผู้ชมงานรู้สึกได้ว่า องค์ประกอบต่าง ๆ เป็นพวกเดียวกัน เกิดภาพรวมที่มีเอกภาพ

สร้างความซ้ำกันขององค์ประกอบ (Repetition)

การจัดวางองค์ประกอบให้มีการซ้ำกันไปเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นเส้น จุด สี หรือลักษณะ ของผิวสัมผัส ฯลฯ ทำให้ผู้ชมงานรู้สึกถึงความเป็นพวกพ้องเดียวกันเกิดเอกภาพขึ้นในงาน

สร้างความต่อเนื่องขององค์ประกอบ (Continuation)

ความต่อเนื่องจะมาจากเส้น หรือทิศทางขององค์ประกอบที่อยู่ภายในภาพ ซึ่งนำสวยตาของผู้ชมให้เดินทางตามที่ผู้ออกแบบกำหนดไว้ เมื่อได้มองภาพที่มีองค์ประกอบไหลต่อเนื่องกัน ทำให้กระบวนการรับรู้ของคนเราสร้างเรื่องราว ต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกันและอย่างเป็นลำดับขั้น ซึ่งทั้งหมดทำใหเกิดภาพรวมที่มีเอกภาพขึ้นในใจ

๒. Emphasize (การวางจุดสนใจในงาน)การวางตำแหน่งขององค์ประกอบที่จะ

เน้นให้เกิดจุดสนใจ จะวางในตำแหน่งที่ 1,3,2 และ 4 เป็นหลัก โดยแต่ละตำแหน่งมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป

การวางจุดสนใจในงาน• ตำแหน่ง 0 เป็นตำแหน่งที่ไม่ควรวางองค์ประกอบที่ต้องการเน้น เพราะเป็นตำแหน่งที่สายตาคนส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสนใจนัก เพราะอยู่ในช่วงครึ่ง ๆ กลาง ๆ ของภาพ ซึ่งลดแรงดึงดูดทางสายตา

• ตำแหน่ง 1 เป็นตำแหน่งที่คนส่วนใหญ่เห็นเป็นอันดับแรก เนื่องจากความเคยชินในการกวาดตาเพื่ออ่านหนังสือ

• ตำแหน่ง 2 เป็นตำแหน่งที่มีพลังในการดึงดูดสายตา มีความเฉียบ จึงเหมาะที่จะจัดวางองค์ประกอบที่ต้องการเน้น เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่เรียกร้องความสนใจจากสายตาได้ดี

การวางจุดสนใจในงาน• ตำแหน่งหมายเลข 3 เป็นตำแหน่งที่สืบเนื่องมาจากตำแหน่งที่ 1 เพราะเป็นตำแหน่งสุดท้ายที่คนส่วนใหญ่กวาดสายตามอง

• ตำแหน่งหมายเลข 4 เป็นตำแหน่งที่คนส่วนใหญ่มักจะให้เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญที่สุดในงาน ถึงแม้จะไม่เป็นจุดเรียกร้องสายตามากเท่ากับจุด 1,2,3 แต่ก็เป็นจุดรวมสายตาของผู้ชมที่มีต่องาน

การวางจุดสนใจในงาน• ตำแหน่ง 1 กับ 3 จะมีพลังในการดึงดูดสายตามากกว่าตำแหน่ง 2 เพราะคนส่วนใหญ่มักกวาดสายตาจากมุมซ้ายบน ไปยังมุมขวาล่าง

• ตำแหน่ง 0 สามารถวางองค์ประกอบให้น่าสนใจได้ เพราะบางครั้งทิศทาง หรือเส้นสายจากองค์ประกอบอื่น ๆ อาจพุ่งเน้นมายังตำแหน่งนี้ก็ได้

ตัวอย่างการจัดองค์ประกอบ

การสร้างความแตกต่าง• ความแตกต่างเป็นตัวกำหนดน่าสนใจหรือความโดดเด่นของภาพได้ดี แต่ไม่ควรให้มีความแตกต่างมากเกินไป เพราะจะทำให้ภาพไม่มีเอกภาพ มากกว่าจะก่อให้เกิดจุดสนใจ

การวางแยกองค์ประกอบให้โดดเด่นการวางองค์ประกอบให้โดดเด่น คือการ

แยกองค์ประกอบออกมา ให้ผู้ชมงานสังเกตุเห็นองค์ประกอบนั้นได้ง่าย แต่ต้องคำนึงถึง• ขนาดและสัดส่วนในการจัดองค์ประกอบ

(Scale & Proportion)• ที่ว่างในงานออกแบบ(Spacing)• สมดุลในงานออกแบบ (Balance)• จังหวะขององค์ประกอบในงาน (Rhythm)

ตัวอย่างการวางแยกองค์ประกอบให้โดดเด่น