garden of the lazy (p. 28-29)

2
ลุงจอนิ ขยี้ใบพลูสูดกลิ่นก่อนหยิบยื่นให้เราสูดดมกลิ่นหอม

Upload: sirikul-bowornruangrit

Post on 02-Mar-2016

221 views

Category:

Documents


5 download

DESCRIPTION

ลุงจอนิ ขยี้ใบพลูสูดกลิ่นก่อนหยิบยื่นให้เราสูดดมกลิ่นหอม เมื่อเราเข้าใจในธรรมชาติ ที่เป็นแล้วธรรมชาติ จะตอบแทนเราเอง

TRANSCRIPT

Page 1: garden of the lazy  (P. 28-29)

ลุงจอนิ ขยี้ใบพลูสูดกลิ่นก่อนหยิบยื่นให้เราสูดดมกลิ่นหอม

Page 2: garden of the lazy  (P. 28-29)

“ ”

ความขี้เกียจมักอยู่ในกมลสันดานของมนุษย์ทั่วไปแล้วผล

ของมันค่อนไปในแง่ลบแต่สำหรับ ‘จอนิ โอ่โดเชา’ ปราชญ์ชาวบ้าน

เผ่าปกาเกอญอผู้กร้านโลกแห่งขุนเขาแม่วาง กลับพิสูจน์ให้เห็นว่า

ผลพวงจากความขี้เกียจสามารถออกดอกกลายผลไว้กินไว้ใช้และ

ขายเพื่อดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่ต้องลงทุน

ลุงจอนิ อดีตผู้ใหญ่บ้านหนองเต่า อำเภอแม่วาง จังหวัด

เชียงใหม่ เติบโตมาพร้อมกับหน้าที่ทำนาเฉกเช่นชาวบ้านทั่วไป

กระทั่งได้เรียนหนังสือและร่วมกิจกรรมกับมิชชันนารีคาทอลิก ทำให้

เขาได้ค้นพบคุณค่าดั้งเดิมของตนเอง ค้นเจอรากเหง้าและเข้าใจ

ระบบความคิดความเชื่อของชาวปกาเกอญอ ผ่านการลองผิดลองถูก

นับครั้งไม่ถ้วนบนห้วงเวลาที่ผ่านมายาวนานนับครึ่งค่อนชีวิต

จนได้รับการยกย่องให้เป็น’ปราชญ์ชาวเขา’ผู้ขีดเส้นทางชีวิตของเขา

เองและส่งต่อความรู้ไปสู่ชนรุ่นหลัง ให้ลุกยืนได้ด้วยตัวเองอย่างใน

ทุกวันนี้

ย้อนกลับไปกว่าสามสิบปีในยุคที่พืชเชิงเดี่ยวถูกกำหนดว่า

ขายได้ราคา ลำพังเพียงที่ดินและแรงงานนั้นไม่พอต่อการทำเกษตร

หากเป็น ’เงิน’ ต่างหากที่จำเป็นอันจะแปรเปลี่ยนเป็นเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย

และยาฆ่าแมลงได้ เมื่อไม่มีก็ต้องกู้และกู้เรื่อยมาจนเกิดหนี้เพิ่มขึ้น

เป็นวัฏจักรหมุนวนไปเช่นนั้น จนวันหนึ่งลุงจอนิทนแบกรับผลจาก

ความล้มเหลวของเกษตรเชิงเดี่ยวที่ประโยชน์ตกอยู่กับนายทุนมาก

กว่าเกษตรกรไม่ไหวจึงหันมาเป็นนายตัวเองทำเกษตรแบบผสมให้

พออยู่พอกินได้ ภายใต้ความคิดที่ว่าสองมือคือแรงงานส่วนที่ดินก็

เป็นทุนอยู่แล้วเพียงแค่มองข้ามคำว่าเงินที่เป็นสิ่งสมมติไปจะพบว่า

ข้าวปลาต่างหากที่เป็นของจริง

คนทั่วไปถือว่าเงินคือสิ่งสำคัญแทบทุกอย่างถูกตีเป็น

มูลค่าวัตถุกลายเป็นสัญญะในการแบ่งระดับชนชั้นเทคโนโลยีเข้า

ครอบงำ จนความสะดวกสบายเป็นสิ่งที่หลายคนถวิลหา ลุงจอนิ

ฝากข้อความชวนคิดไว้ว่า “เทคโนโลยีคือที่มาแห่งปัญหา เมื่อมีก็

ต้องใช้เมื่อใช้ก็ต้องเสียบปลั๊กเติมน้ำมันเมื่อเสียก็ต้องซ่อมเมื่อพัง

ก็กลายเป็นเศษเหล็กไร้ค่าย่อยสลายยากทำลายธรรมชาติคิดๆดู

แล้วเราก็เสียให้กับเทคโนโลยีมาตลอดเผลอๆอาจจะมากกว่าตอน

ซื้อเสียด้วยซ้ำ”

“แต่ปฎิเสธไม่ได้ว่านี่คือยุคของเทคโนโลยี ยุคของวัตถุเราก็

ต้องเรียนรู้ที่จะใช้ด้วยแต่ของเหล่านี้ไม่ใช่คำตอบทั้งหมดในการดำร

งอยู่ของชีวิต เราต้องเหลียวมองธรรมชาติที่มีอยู่จริง ธรรมชาติที่มีมา

พร้อมกับตัวเราและพร้อมจะจากหายไปได้ทุกเมื่อ สองมือของคน

เราตางหากคือสิ่งที่ธรรมชาติสร้าง พ่อแม่เราสร้างนี่ต่างหากคือสิ่ง

มหัศจรรย์ เราไม่มีมือ เราก็คงกดมือถือไม่ได้จะเถียงว่าใช้เท้าแทนก็

ไม่เป็นไรแต่นึกดูให้ดีว่าสุดท้ายเราก็ต้องพึ่งธรรมชาติอยู่ดี”

ใ น ส ว น เ กษต ร เ ชิ ง ผ ส ม ที่ ถู ก ก ล่ า ว ข า น ว่ า เ ป็ น

‘สวนของคนขี้ เกียจ’ ถูกปล่อยให้ดำเนินไปตามธรรมชาติ ร่วม

ด้วยเมล็ดพันธุ์ไม้ที่ถูกหยอด ต่อกิ่ง ติดตาบ้าง ทั้งไม้ป่า ไม้ผล

ไม้ใช้สอย และไม้ไผ่ รวมถึงการเฝ้ามองการเจริญเติบโตอยู่ห่าง ๆ

ครั้นพอมีนกมีสัตว์ป่ามากินผล ก็ทิ้งมูลเป็นเมล็ด เป็นปุ๋ยไปเรื่อย

กลายเป็นวงจรที่หมุนไปตามธรรมชาติ เป็นป่าเล็ก ๆ ในป่าใหญ่

ท่ามกลางขุนเขาแม่วางอันเป็นผลผลิตจากแนวคิดของลุงจอนิซึ่งอัด

แน่นไปด้วยเรื่องราวแห่งการเรียนรู้ ด้วยต้นไม้ป่าที่ขึ้นเองตาม

ธรรมชาตินับร้อยชนิดแผ่กิ่งก้านสาขากันแดดให้แก่พืชผักหมุนเวียน

แทรกด้วยเห็ดและหน่อไม้ที่ผุดขึ้นมาให้เก็บกินตลอดปี กอปรกับต้น

พลับป่าที่ผ่านการติดตาต่อกิ่งกลายเป็นพลับพันธุ์ดีออกลูกให้ส่งขาย

ได้ทุกปี

ลุงจอนิเป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ให้เห็นว่าที่ดิน สมองและสอง

มือที่เรามีนั้นเพียงพอแล้ว ที่จะเลี้ยงชีวิตเราให้มีความสุขตลอดไป

หากปราศจากไฟโลภะที่พร้อมจุดติดในใจของมวลมนุษย์ทุกคน

เมื่อเราเข้าใจในธรรมชาติ

ที่เป็นแล้วธรรมชาติ

จะตอบแทนเราเอง

สวนของคนขี้เกียจ...