Transcript

คำนำ

PAGE

20

คำนำ

“บ้าน” เป็นสถานที่อยู่อาศัยและพักผ่อน และโดยทั่วไปบ้านจะมีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นเช่น หลอดไฟฟ้า โทรทัศน์ พัดลม ตู้เย็น เตารีด และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อำนวยความสะดวก เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ล้วนต้องใช้พลังงานทั้งสิ้น ดังนั้นหากรู้จักวิธีใช้ หรือรู้จักเลือกซื้อก็จะช่วยประหยัดพลังงานและค่าใชจ่ายสำหรับครอบครัวได้จากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบัน ส่งผลทำให้หลายบ้านต้องสำรวจและควบคุมค่าใช้จ่าย ในการครองชีพของตัวเองไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการกินอยู่ตลอดจนค่าใช้จ่ายในด้านสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าน้ำมันรถ เพื่อให้เพียงพอกับเงินรายได้ที่ตนได้รับ สำหรับค่าใช้จ่ายที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ค่าไฟฟ้านั้น เรามีวิธีตรวจสอบค่าใช้จ่ายว่า เราใช้ไฟฟ้าไปกี่หน่วย จะต้องเสียค่าใช้จ่าย เป็นจำนวนเงินเท่าไร อีกทั้งยังสามารถหาแนวทางการประหยัดไฟฟ้าได้อีกด้วย

สารบัญ

แนวทางการประหยัดพลังงานในบ้าน.................................................................3

วิธีคิดค่าไฟ..........................................................................................................11

บิลค่าไฟเดือนมิถุนายน.......................................................................................15

บิลค่าไฟเดือนกรกฎาคม......................................................................................16

บิลค่าไฟเดือนสิงหาคม........................................................................................17

ตารางแสดงการเปรียบเทียบค่าไฟฟ้า...................................................................18

วิเคราะห์ข้อมูล.....................................................................................................19

บรรณานุกรม........................................................................................................20

แนวทางการประหยัดพลังงานในบ้าน

1. ออกแบบบ้านและหันทิศทางของบ้านให้เหมาะสม เลือกซื้อบ้านหรือออกแบบบ้านที่มีลักษณะโปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกมีการระบายความร้อนได้ดีสำหรับทิศทางของบ้านควรหันหน้าไปในแนวทิศเหนือ-ใต้ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้แสงอาทิตย์เข้าสู่ช่องเปิดของตัวบ้านโดยตรงหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรใช้อุปกรณ์บังแสงแดด เช่น ติดตั้งกันสาดหรือปลูกต้นไม้ช่วย

2. สร้างบ้านด้วยวัสดุที่เป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี โดยสร้างให้ตั้งแต่หลังคาจนถึงผนัง

3. จัดวางตำแหน่งพื้นที่ใช้สอยให้เหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงความร้อนจากแสงแดดตามลักษณะการใช้งาน(         ห้องนอน ควรตั้งอยู่ทิศตะวันออก เพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดดช่วงบ่าย(         ห้องเก็บของ ที่จอดรถ ห้องซักผ้า ห้องน้ำ ห้องครัว ควรอยู่ทิศตะวันตก เพื่อเป็นส่วนกันความร้อนเข้าตัวบ้าน(         ห้องพักผ่อนหรือห้องที่ต้องใช้งานอยู่ทั้งวัน ควรตั้งอยู่ทางทิศเหนือ เพราะจะถูกแสงแดดน้อยกว่าด้านอื่น ๆ ห้องรับแขก(         ควรตั้งอยู่ในแนวทิศเหนือ – ใต้ ห้องนั่งเล่น ควรตั้งอยู่ในทิศใต้(         โดยอาจทำระเบียงและพุ่มไม้เพื่อป้องกันแสงแดด

4. ปลูกต้นไม้เพื่อให้ร่มเงาแก่ตัวบ้าน ช่วยเพิ่มร่มเงาให้กับตัวบ้าน ทำให้อากาศภายในบ้านเย็นสบายขึ้น จึงช่วยลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศลง

5. เลือกซื้อแต่อุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงาน เช่น เลือกซื้อเครื่องปรับอากาศเบอร์ 5 หรือตู้เย็นที่มีฉลากเบอร์ 5 ใหม่ 2001 ซึ่งประหยัดพลังงานมากกว่าเบอร์ 5 เดิมร้อยละ 20 เป็นต้น

6. ใช้น้ำอย่างประหยัด น้ำประปาที่เราใช้มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติแต่ผ่านกระบวนการกรองและฆ่าเชื้อจนสะอาดและบริโภคได้ ซึ่งต้องอาศัยพลังานในกระบวนการเหล่านั้น การใช้น้ำอย่างประหยัดจึงเป็นการประหยัดพลังงานด้วย(         ใช้หัวก๊อกน้ำที่มีอุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหลของน้ำ(         ปิดก๊อกน้ำในระหว่างแปรงฟัน สระผม หรือโกนหนวด(         ใช้ไม้กวาดในการกวาดพื้น แทนการใช้น้ำฉีดเพื่อทำความสะอาด(         ล้างรถด้วยฟองน้ำและรองน้ำใส่ถัง แทนการใช้สายยางฉีดน้ำโดยตรง(         ใช้น้ำจากการซักล้าง เช่น น้ำสุดท้ายของการซักผ้า หรือน้ำจากการถูพื้นเพื่อรดน้ำต้นไม้ แทนการใช้น้ำประปา

7. การใช้เตาก๊าซ(         ควรเลือกใช้ถังก๊าซที่มีเครื่องหมายสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) (         ตั้งเตาก๊าซให้ห่างจาถังก๊าซโดยใช้สายยาง หรือสายพลาสติกให้มีความยาวห่างจากถังก๊าซประมาณ 1-1.5 เมตร(         เมื่อเลิกใช้ ปิดวาล์วที่ตัวถังก่อน แล้วจึงปิดปิดวาล์วที่ตัวเตา

8. การใช้เตาถ่าน ควรเลือกใช้เตาถ่านชนิดที่มีประสิทธิภาพสูง(         ซึ่งจะมีลักษณะขอบเตาเรียบเสมอกัน เส้าของเตามีส่วนลาดมากกว่า ทำให้ใช้กับหม้อได้หลายขนด มีช่องบรรจุถ่านไม่กว้างใหญ่เกินไป มีรังผึ้งที่หนาทนทาน และรูรังผึ้งเล็กจึงช่วยรีดอากาศได้ดี เตรียมกาหารสด เครื่องปรุง(         และอุปกรณ์การทำอาหารให้พร้อมก่อนติดไฟรอนานเกินไปจะสิ้นเปลืองถ่าน(         เลือกขนาดของหม้อหรือกระทะให้เหมาะสมกับปริมาณและประเภทของอาหารที่จะปรุง(         ควรทุบถ่านให้มีขนาดพอเหมาะ คือ ชิ้นละประมาณ 2 – 4 ซม.

(ไม่ควรใส่ถ่านมากจนล้นเตาเก็บรักษาถ่านอย่าให้เปียกชื้น

(         เพราะถ่านจะติดไฟยากและแตกประทุทำให้สิ้นเปลือง

(         ขจัดขี้เถ้าในรังผึ้งและใต้รังผึ้งออกให้หมดก่อนที่จะติดเตาใหม่ทุกครั้ง จะทำให้การเผาไหม้ถ่านดีขึ้น

9. การใช้หลอดแสงสว่าง(         ปิดไฟเมื่อใช้งาน หมั่นทำความสะอาดหลอดแสงสว่างและโคมไฟ(        (         ใช้หลอดแสงสว่างเท่าที่จำเป็น(         สำหรับสถานที่ที่ต้องเปิดไฟทิ้งไว้ตลอดคืน ควรใช้หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์(         บริเวณใดที่เคยใช้หลอดไส้ในการให้แสงสว่าง ควรหันมาเปลี่ยนเป็นหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ ใช้หลอดประหยัดพลังงาน(         เช่น หลอดผอม (หลอดฟลูออเรสเซนต์) ซึ่งประหยัดพลังงานมากกว่าหลอดไส้ 4 – 5 เท่า และมีอายุการใช้งานมานกว่า 8 เท่า ใช้แสงอาทิตย์แทนการเปิดหลอดไฟ เช่น(         ห้องครัว ห้องเก็บของ ห้องน้ำ ทางเดิน เป็นต้น(         ควรทาสีผนังห้องหรือเลือกวัสดุพื้นห้องที่เป็นสีอ่อน ๆ เพื่อช่วยสะท้อนแสงสว่างภายในห้อง

10. การใช้ตู้เย็น(         เลือกใช้ตู้เย็นที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ใหม่ 2001 ซึ่งประหยัดไฟกว่าเบอร์ 5 เดิม ร้อยละ 20 เลือกใช้แบบที่มีฉนวนกันความร้อนชนิดโฟมฉีด(        (         ตู้เย็นแบบประตูเดียว จะใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าแบบ 2 ประตูในขนาดที่เท่ากัน(         อย่าติดตั้งตู้เย็นใกล้แหล่งความร้อน(         ควรตั้งห่างจากฝาผนังทั้งด้านหลังและด้านข้างไม่น้อยกว่า 15 ซม. เพื่อให้มีการระบายความร้อนได้ดีC( ควรตั้งอุณหภูมิภายในตู้เย็น 3 - 6(         C(C ถ้าตั้งไว้เย็นกว่าที่กำหนด 1(และในช่องแช่แข็งระหว่างลบ 15 - 18 จะสิ้นเปลืองไฟเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 อย่าเปิดตู้เย็นบ่อย(         หรือเปิดประตูค้างไว้นาน ๆ (         อย่านำของที่มีความร้อนเข้าไปแช่ ละลายน้ำแข็งสม่ำเสมอ(        

11. การใช้เครื่องปรับอากาศ เลือกขนาดที่เหมาะสม(         ตัวอย่างเช่นห้องที่มีความสูงไม่เกิน 3 เมตร และมีพื้นที่ห้องขนาด 13 – 15 ตร.ม. ควรใช้ขนาด 7,000 – 9,000 บีทียู/ชั่วโมง ขนาดพื้นที่ 16 – 17 ตร.ม. ควรใช้ขนาด 9,000 – 11,000 บีทียู/ชั่วโมง เป็นต้น(         ใช้เครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสุดซึ่งแสดงด้วยหน่วย EER(Energy Efficiency Ratio) คือ อัตราส่วนระหว่างความสามารถในการให้ความเย็นของเครื่องต่อกำลังไฟฟ้า (บีทียู/ชั่วโมง/วัตต์) ซึ่งเครื่องที่มีค่า EER สูงจะให้ความเย็นมาก และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเครื่องที่มีค่า EER ต่ำ(         หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ ไม่ให้มีฝุ่นจับ เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการทำความเย็นลดลง(         เลือกใช้เครื่องปรับอากาศที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5

12. การใช้เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า ควรเลือกชนิดที่มีที่เก็บความร้อน(         เพราะจะใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าแบบไหลผ่านขดลวดความร้อน

(         เลือกขนาดของเครื่องให้เหมาะสมกับครอบครัวและความจำเป็นในการใช้(         ไม่เปิดเครื่องตลอดเวลา ในการฟอกสบู่อาบน้ำหรือขณะสระผม(         ปิดวาล์วน้ำและสวิตซ์ทันทีเมื่อเลิกใช้งาน(         ควรให้เฉพาะวันที่มีอากาศเย็น หรือเท่าที่จำเป็น

13. การใช้กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าหรือกาต้มน้ำไฟฟ้า(         ใส่น้ำให้พอเหมาะกับปริมาณที่ต้องการใช้ และถ้าจำเป็นต้องต้มน้ำต่เนื่องระวังอย่าให้น้ำแห้ง(         เมื่อเลิกใช้ควรถอดปลั๊กทันที ไม่ต้มน้ำในห้องที่มีการปรับอากาศ(         เพราะไปเพิ่มความชื้นและความร้อนในห้อง ทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนัก สิ้นเปลืองไฟ ไม่ควรนำน้ำที่มีความเย็นมาก ๆ(         ไปต้มทันทีจะสิ้นเปลืองไฟ ระวังอย่าให้มีตะกรันเกาะด้สนในตัวกระติก(         จะทำให้สิ้นเปลืองไฟในการต้มน้ำมากกว่าเดิม ไม่นำสิ่งใด ๆ(         ปิดช่องไอน้ำออก

14. การใช้เตาไฟฟ้า(         ควรเตรียมเครื่องประกอบอาหารให้พร้อม รวมทั้งลำดับการปรุงอาหาร(         ไม่ควรเปิดเตาไฟฟ้ารอไว้นานเกินไป ใช้ภาชนะประกอบอาหารให้เหมาะสม(        • ภาชนะควรมีก้นแบนราบ จะได้สัมผัสความร้อนได้ทั่วถึง• ภาชนะไม่ควรมีขนาดเล็กกว่าเตา จะสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์• ภาชนะควรมีฝาครอบปิดขณะหุง จะช่วยให้อาหารเสร็จเร็วขึ้น(         ปิดสวิตซ์เตาไฟฟ้าก้อนเสร็จสิ้นการทำอาหาร ถอดปลั๊กออกทันที(         เมื่อเลิกใช้

15. การใช้เตารีด (   ควรเตรียมอาหารที่จะอบหลาย ๆ อย่างพร้อมกันในเวลาเดียวกัน อย่าเปิดเตาบ่อย ๆ

(         เพราะการเปิดประตูแต่ละครั้งจะสูญเสียพลังงานประมาณร้อยละ 20(         ตั้งอุณหภูมิที่เหมาะสม อย่าตั้งสูงเกินความจำเป็นเพราะจะสิ้นเปลืองไฟ(         ถอดปลั๊กออกทันทีเมื่อเลิกใช้

16. การใช้เตารีดไฟฟ้า(         ควรตั้งอุณหภูมิให้เหมาะสมกับชนิดผ้าและแบ่งผ้าชนิดเดียวกันไว้ด้วยกันเพื่อหลีกเลี่ยงการปรับเปลี่ยนการตั้งอุณหภูมิบ่อยครั้ง(         ควรรวบรวมผ้าไว้รีดคราวละมาก ๆ และพรมน้ำให้หมดทุกตัว ก่อนจะรีดผ้าและรีดติดต่อกันจนเสร็จอย่าพรมน้ำจนเปียก

(         เพราะจะต้องทำให้ต้องรีดผ้านานกว่าเดิม สิ้นเปลืองไฟฟ้า(         ควรถอดปลั๊กก่อนเสร็จสิ้นการรีดประมาษ 2 – 3 นาทีเนื่องจากยังมีความร้อนเหลือเพียงพอที่จะรีดผ้าที่รีดง่าย เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าพันคอ เวลาตากผ้าควรจัดรูปทรงผ้าและดึงให้ตึง

(         เพื่อให้เสื้อผ้ายับน้อยที่สุด จะทำให้รีดง่ายลดเวลาในการรีด และประหยัดไฟฟ้า

17. การใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้า(         เลือกใช้ขนาดให้เหมาะสมกับครอบครัว- สมาชิก 1 – 2 คน ใช้ขนาด 0.3 – 1.0 ลิตร- สมาชิก 3 – 6 คน ใช้ขนาด 1.0 – 1.5 ลิตร- สมาชิก 5 – 8 คน ใช้ขนาด 1.6 – 2.0 ลิตร (ไม่ควรใช้เวลาในการอุ่นข้าวให้นานเกินควร         (         ถอดปลั๊กออกทันทีเมื่อเลิกใช้งาน อย่าเปิดฝาหม้อในขณะที่ข้าวยังไม่สุก(         เพราะจะสูญเสียความร้อน หม้อหุงข้าวจะทำงานนานยิ่งขึ้น สิ้นเปลืองไฟ

18. การใช้โทรทัศน์(         โทรทัศน์สีที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้เสียค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น(         โทรทัศน์ที่มีระบบรีโมทคอนโทรลจะใช้ไฟฟ้ามากกว่าระบบทั่งไปในขนาดเดียวกัน เราะมีวงจรเพิ่มและใช้ไฟฟ้าตอดเวลาเมื่อยังเสียบปลั๊กอยู่ แม้ว่าจะไม่ใช้เครื่อง จึงควรปิดสวิตซ์ที่ตัวเครื่อง ไม่ปิดด้วยรีโมทคอนโทรล(         ไม่ควรเสียบปลั๊กทิ้งไว้(   ปิดเมื่อไม่มีคนดู      (         ควรตั้งเวลาปิดโทรทัศน์โดยอัตโนมัติ เพราะจะช่วยประหยัดไฟสำหรับผู้ที่มักจะนอนหลับหน้าโทรทัศน์หรือลืมปิดเครื่อง(         ไม่เปิดโทรทัศน์โดยต่อสายผ่านเข้าเครื่องวีดีโอเพราะต้องสิ้นเปลืองไฟให้กับเครื่องวีดีโอโดยไม่จำเป็น

19. การใช้เครื่องซักผ้า (         แช่ผ้าก่อนเข้าเครื่องเพราะสิ่งสกปรกจะออกง่ายขึ้นลดการซักผ้าซ้ำ ไม่สิ้นเปลืองไฟ(         จำนวนผ้าที่ซักให้เป็นไปตามพิกัดของเครื่อง อย่าใส่ผ้ามากเกินกำลังของเครื่อง หรือซักจำนวนน้อยเกินไป(         ไม่ควรใช้เครื่องซักผ้าแบบที่มีเครื่องอบแห้งด้วยไฟฟ้าในตัว เพราะสิ้นเปลืองไฟฟ้ามาก ควรตากผ้ากับแสงแดดหรือในที่มีลมถ่ายเทได้ดี(         ตั้งโปรแกรมที่ใช้น้ำร้อนเมื่อจำเป็นเท่านั้น เพราะใช้ไฟมาก(         ตั้งโปรแกรมการซักผ้าให้เหมาะสมกับชนิดของผ้าทุกครั้ง

20. การใช้เครื่องปั๊มน้ำ(         เลือกซื้อเครื่องปั๊มน้ำที่มีถังความดันของเครื่องป๊มน้ำขนาดใหญ่พอสมควรถ้าเล็กเกินไปสวิตซ์อัตโนมัติจะทำงานบ่อยขึ้น มอเตอร์ทำงานมากขึ้นสิ้นเปลืองไฟ(         ควรสร้างบ่อพักน้ำไว้ระดับพื้นดิน(         หมั่นดูแลท่อน้ำประปาและถังพักน้ำของชักโครกอย่าให้ชำรุดหรือรั่ว เมื่อมีรอยรั่วความดันลดลง เครื่องปั๊มทำงานหนัก และบ่อยขึ้นสิ้นเปลืองไฟ ปิดก๊อกน้ำให้สนิททุกครั้ง

(         น้ำหยดหรือรั่วเพียงเล็กน้อยติดต่อกันนาน ๆ ก็ทำให้ปั๊มน้ำเดินเครื่องได้

21. การใช้พัดลมระบายอากาศ( อย่าเปิดทิ้งไว้ เมื่อไม่มีใครอยู่(         เปิดหน้าตางเพื่อใช้ลมธรรมชาติช่วยถ่ายเทอากาศในห้อง(         เลิกสูบบุหรี่ในห้อง เพื่อลดการใช้พัดลมระบายอากาศ(         หมั่นทำความสะอาดใบพัดและตะแกรง อย่าให้มีฝุ่นเกาะ(         ตั้งความเร็วพัดลมให้พอเหมาะ ไม่เร็วหรือช้าเกินไป จะช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดี และเป็นการประหยัดไฟอีกด้วย(         ห้องที่จะติดเครื่องปรับอากาศควรเปิดประตูและหน้าต่าง เพื่อให้อากาศบริสุทธิ์ภายนอกเข้ามาแทนที่อากาศในห้อง แทนการใช้พัดลมระบายอากาศ

22. การใช้พัดลม(         อย่าเปิดทั้งไว้เมื่อไม่มีใครอยู่(         ถ้าใช้พัดลมที่มีระบบรีโมทคอนโทรลต้องถอดปลั๊กทันทีเมื่อเลิกใช้(         ยิ่งเปิดลมแรงขึ้น ยิ่งใช้ไฟมากขึ้น ทำความสะอาดใบพัด ตะแกรงครอบ

(         และแผงหุ้มมอเตอร์พัดลม อย่าให้มีฝุ่นเกาะ อย่าให้ใบพัดโค้งงอผิดส่วน

(         ความแรงจะลดลง( ตั้งพัดลมในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก        

23. การใช้วิทยุและเครื่องเสียง(         อย่าเปิดวิทยุเพียงเพื่อเป็นเพื่อนโดยไม่ได้สนใจฟัง สิ้นเปลืองไฟฟ้าโดยเปล่าประโยชน์(         อย่าเปิดวิทยุคู่กับการเปิดดูโทรทัศน์(         อย่าเสียบปลั๊กวิทยุไว้ใช้เพื่อดูเวลาหากมีนาฬิกาอื่น ๆ ใช้ดูเวลาอยู่แล้ว(         เลิกปิดเครื่องโดยใช้รีโมทคอนโทรลให้ปิดจากสวิตซ์ที่เครื่องแทน(         ตั้งวิทยุและเครื่องเสียงให้ห่างจากเตาอบไมโครเวฟเพื่อไม่ให้ระบบการทำงานถูกคลื่นไมโครเวฟรบกวน(         เลือกซื้อรุ่นที่เหมาะกับการใช้งาน หากไม่มีความจำเป็นต้องซื้อรุ่นที่มีระบบการทำงานหลายอย่างก็ไม่ควรเลือกซื้อรุ่นนั้น เพราะสิ้นเปลืองไฟฟ้ามากกว่าระบบธรรมดา

24. การใช้เครื่องดูดฝุ่น( เมื่อใช้แล้วควรเทฝุ่นผงในถุงทิ้งทุกครั้งเพื่อเครื่องจะได้มีแรงดึงดูดดีและไม่เปลืองไฟ(         เลิกใช้เครื่องดูดฝุ่นกับพื้นบ้านที่ทำความสะอาดง่าย ควรใช้ไม้กวาดและผ้าชุบน้ำถูพื้นแทน(         ก่อนใช้งานตรวจสอบข้อต่อของท่อดูดหรือชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้แน่นไม่ให้เกิดการรั่วของอากาศ มอเตอร์อาจทำงานหนักและไหม้ได้(         ห้ามดูดฝุ่นที่เป็นเศษแก้วเศษใบมีดหรือบุหรี่ที่กำลังติดไฟ จะก่ออันตรายต่อตัวเครื่อง( หมั่นถอดตัวกรองหรือตะแกรงดักฝุ่น ออกมาทำความสะอาดเพราะถ้าอุดตันจะดูดฝุ่นได้ไม่เต็มที่และสิ้นเปลืองไฟ(         เมื่อดูดฝุ่นเสร็จแล้วปล่อยให้เครื่องเย็นก่อนนำไปเก็บเพื่อยึดอายุการใช้งาน(         เปิดประตูหน้าต่างขณะดูดฝุ่น เพื่อให้มีการระบายความร้อนของตัวเครื่องได้ดี(         เลือกขนาดเครื่องดูดฝุ่นตามความจำเป็นในการใช้งาน เช่น ถ้าใช้ดูดฝุ่นสำหรับพื้นที่เป็นพรมหรือเก้าอี้ที่ทำด้วยผ้าควรใช้เครื่องทีมีกำลังดูดสูง แต่ถ้าจะดูดฝุ่นที่ทั่ว ๆ ไปไม่ควรใช้เครื่องที่มีกำลังดูดสูง

25. การใช้คอมพิวเตอร์ ไม่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้นาน ๆ

(         เพราะทำให้สิ้นเปลืองไฟฟ้า ถอดปลั๊กเมื่อเลิกใช้(        (         ปิดจอภาพเมื่อไม่ใช้งานนานเกินกว่า 15 นาที(         ตั้งคอมพิวเตอร์ในบริเวณที่มีการระบายความร้อนได้ดี ควรตั้งะบบ Screen

(         Saver เพื่อรักษาคุณภาพของหน้าจอ(         ตรวจสอบดูว่าระบบประหยัดพลังงานในเครื่องถูกสั่งให้ทำงานแล้วหรือไม่ถ้ายังต้องสั่งให้ระบบนี้ทำงานเพราะจะช่วยประหยัดพลังงาน(         เลือกใช้คอมพิวเตอร์ที่มีระบบประหยัดพลังงาน โดยสังเกตจากสัญลักษณ์ Energy Star เพราะระบบนี้จะใช้กำลังไฟฟ้าลดลงร้อยละ 55 ในขณะที่รองาน(         ควรซื้อจอภาพที่ขนาดไม่ใหญ่เกินไป เช่น จอภาพขนาด 14 นิ้ว จะใช้พลังงานน้อยกว่าจอภาพขนาด 17 นิ้ว ถึงร้อยละ 25(         คอมพิวเตอร์ชนิดกระเป๋าหิ้วประหยัดพื้นที่และประหยัดไฟได้มากกว่าแบบตั้งโต๊ะ

Electricity Tips

การคิดค่าไฟฟ้าด้วยตนเอง 

ที่มา วารสารภายใน การไฟฟ้านครหลวง  ปีที่ 18 ฉบับที่ 178 กรกฏาคม 2541

                ก่อนที่เราจะทราบอัตราค่าไฟฟ้านั้น เราควรจะทราบว่า เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ ใช้ไฟฟ้าหรือกินไฟเท่าไหร่เสียก่อน โดยสังเกตคู่มือการใช้งานหรือแถบป้ายที่ติดอยู่กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เขียนว่า กำลังไฟฟ้า มีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt) ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีจำนวนวัตต์มาก ก็กินไฟมากตามไปด้วย ดังนั้นท่านสามารถคำนวณดูจากเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในบ้านท่านว่ามีเครื่องใช้ไฟฟ้ากี่ชนิดแต่ละชนิดกินไฟกี่วัตต์ และเปิดใช้งานประมาณเดือนละกี่ชั่วโมง หลังจากนั้นท่านก็นำมาคิดคำนวณ ท่านจะทราบว่าในแแต่ละเดือนท่านใช้ไฟฟ้าไปประมาณกี่หน่วยเพื่อเป็นแนวทางในการประหยัดค่าไฟฟ้าได้

สำหรับการใช้ไฟฟ้า 1 หน่วยหรือ 1 ยูนิตคือ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาด 1,000 วัตต์ที่ใช้งานใน 1 ชั่วโมง หรือใช้สูตรการคำนวณดังนี้

กำลังไฟฟ้า (วัตต์)ชนิดนั้นๆ  x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้งานใน 1 วัน = จำนวนหน่วยหรือยูนิต

ตัวอย่าง บ้านอยู่อาศัยทั่วไป สมมุติว่าบ้านของท่านมีเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 6 อย่างดังต่อไปนี้ สังเกตจำนวนวัตต์เพื่v

คำนวณ การใช้ได้จากป้ายที่ติดหรือคู่มือของเครื่องใช้ไฟฟ้า

1. มีหลอดไฟฟ้าขนาด 40 วัตต์ (รวมบัลลาสต์อีก 10 วัตต์ เป็น 50 วัตต์) จำนวน 10 ดวง เปิดใช้ประมาณวันละ 6 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 50x10÷1,000x6 = 3 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x3)=90 หน่วย

2. หม้อหุงข้าว ขนาด 600 วัตต์ จำนวน 1 ใบ เปิดใช้ประมาณวันละ 30 นาที จะใช้ไฟฟ้าวันละ 600x1÷1000x0.5=0.3 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x0.3)=9 หน่วย

3. ตู้เย็น ขนาด 125 วัตต์ จำนวน 1 ตู้ เปิดตลอด 24 ชั่วโมง สมมุติคอมเพรสเซอร์ทำงาน 8 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 125x1÷1000x8= 1 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x1)= 30 หน่วย

4. เครื่องปรับอากาศ ขนาด 2,000 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดวันละ 12 ชั่วโมง สมมุติคอมเพรสเซอร์ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 2,000x1÷1000x8= 16 หน่วย หรือประมาณดือนละ (30x16)= 480 หน่วย

5. เครื่องปรับอากาศ ขนาด 1,300 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 8 ชั่วโมง สมมุติคอมเรสเซอร์ทำงานวันละ 5 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 1,300x1÷1,000x5= 6.5 หน่วย หรือประมาณวันละ (30x6.5) = 195 หน่วย

6. เตารีดไฟฟ้า ขนาด 800 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดวันละ 1 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 800x1÷1000x1 = 0.8 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x0.8)= 24 หน่วย

7. ทีวีสีขนาด 100 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 3 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 100x1 ÷x3 = 0.3 หรือประมาณเดือนละ (30x0.3) = 9 หน่วย

8. เครื่องทำน้ำอุ่น ขนาด 4,500 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 1 ชั่วโมงจะใช้ไฟฟ้าวันละ 4,500x1÷1000x1=4.5 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x4.5) = 135 หน่วย

9. เตาไมโครเวฟ ขนาด 1,200 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 30 นาที จะใช้งานวันละ 1,200x1 ÷1000x0.5 = 0.6 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x0.6) = 18 หน่วย  

ดังนั้นในแต่ละเดือนบ้านของท่านใช้ไฟฟ้าไปทั้งหมดประมาณ 990 หน่วย จากนั้นท่านก็สามารถคำนวณค่าไฟฟ้าของท่านได้ตามอัตราค่าไฟฟ้าดังนี้

อัตราค่าไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ซึ่งมีผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมากแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่

1. ประเภทมีการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือนมีอัตรา ดังต่อไปนี้ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

ค่าไฟฟ้าต่ำสุด

คือ

ไม่มีการใช้ไฟฟ้า

4.67

บาท

5 หน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) แรก

(หน่วยที่ 1-5)

เป็นเงิน

4.96

บาท

10 หน่วยต่อไป

(หน่วยที่ 6-15)

หน่วยละ

0.7124

บาท

10 หน่วยต่อไป

(หน่วยที่ 16-25)

หน่วยละ

0.8993

บาท

10 หน่วยต่อไป

(หน่วยที่ 26-35)

หน่วยละ

1.1516

บาท

65 หน่วยต่อไป

(หน่วยที่ 36-100)

หน่วยละ

1.5348

บาท

50 หน่วยต่อไป

(หน่วยที่ 101-150)

หน่วยละ

1.6282

บาท

250 หน่วยต่อไป

(หน่วยที่ 151-400)

หน่วยละ

2.1329

บาท

เกินกว่า 400 หน่วย

(หน่วยที่ 401เป็นต้นไป)

หน่วยละ

2.4226

บาท

2 ประเภทปริมาณการใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 150 หน่วยต่อเดือนมีอัตราดังต่อไปนี้(ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

ค่าไฟฟ้าต่ำสุด คือ

ไม่มีการใช้ไฟฟ้า

เดือนละ

83.18

บาท

35 หน่วย(กิโลวัตต์ชั่วโมง)

(หน่วยที่ 1-35)

เป็นเงิน

85.21

บาท

115 หน่วยต่อไป

(หน่วยที่ 36-150)

หน่วยละ

1.1236

บาท

250 หน่วยต่อไป

(หน่วยที่ 151-400)

หน่วยละ

2.1329

บาท

เกินกว่า 400 หน่วย

(หน่วยที่401เป็นต้นไป)

หน่วยละ

2.4226

บาท

 

ปัจจุบัน การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ยังไม่มีการปรับโครงสร้างค่ากระแสไฟฟ้าแต่อย่างใด ซึ่งอัตราค่าไฟฟ้าที่ใช้ในปัจจุบันได้เริ่มใช้มาตั้งแต่เดือนมกราคม 2540 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตามการคิดค่าไฟฟ้านั้น มีปัจจัยอย่างหนึ่งที่จะต้องมาคำนวณด้วย นั้นก็คือค่าการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือที่เราเรียกว่าค่า Ft (Energy Adjustment charge) หลายท่านคงสงสัยว่าค่า Ft คืออะไร ความหมายของค่าดังกล่าวคือเป็นตัวประกอบ ที่ใช้ในการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติมีค่าเป็นสตางค์ต่อหน่วยใช้สำหรับปรับค่าไฟฟ้าที่ขึ้นลง ในแต่ละเดือนโดยนำไปคูณ กับหน่วยการใช้ประจำเดือน ค่า Ft ดังกล่าวอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ทั้งนี้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถตรวจสอบได้จากใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีค่าไฟฟ้าประจำเดือนนั้นๆ

ตัวอย่างวิธีการคิดค่าไฟฟ้าสมมุติว่าเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1.2 ใช้ไฟฟ้าไป 990 หน่วย

35 หน่วยแรก

 

85.21

บาท

115 หน่วยต่อไป

(115x1.1236 บาท)

129.21

บาท

250 หน่วยต่อไป

(250x2.1329 บาท)

533.22

บาท

ส่วนที่เกินกว่า 400 หน่วย

(990-400 = 590 x 2.4226 บาท)

1,429.33

บาท

รวมเป็นเงิน

 

2,176.97

บาท

คำนวณค่า Ft โดยดูได้จากใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงิน หรือสอบถามจากการไฟฟ้านครหลวงตัวอย่าง       ค่า Ft มิถุนายน 2541 หน่วยละ 5.45 สตางค์

990 หน่วย x 0.05045 บาท

 

499.46

บาท

รวมเงิน

2,176.97+499.46 =

2,676.43

บาท

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

= 2,676.43 x 7/ 100 =

187.35

บาท

รวมเป็นเงิน 2,863.78 บาท

ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บ

2,863.75

บาท

 

หมายเหตุ ในกรณีที่คำนวณค่าไฟฟ้าแล้วเศษสตางค์ที่คำนวณได้มีค่าต่ำกว่า 12.50 สตางค์ กฟน. จะทำการปัดเศษลง ให้เต็ม จำนวน ทุกๆ 25 สตางค์ และถ้าเศษสตางค์ มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 12.50 สตางค์ กฟน.จะปัดเศษขึ้นให้เต็มจำนวนทุก ๆ 25 สตางค์

สำหรับตัวอย่างการคิดค่าไฟฟ้าที่ให้มาข้างต้นนี้ท่านสามารถนำไปคำนวณการใช้ไฟฟ้าในบ้านของท่านได้ เพื่อเป็นแนวทางในการประหยัดค่าไฟฟ้า อย่างไรก็ตามการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพนั้น ท่านควรรู้จักเลือกเครื่องไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งาน และใช้เท่าที่จำเป็นซึ่งจะช่วยให้ท่าน สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้เป็นอย่างมาก

ตารางแสดงการเปรียบเทียบค่าไฟฟ้าตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2553 ถึง เดือน สิงหาคม 2553

เดือน

หน่วย

ค่าFt

(บาท/หน่วย)

ค่าไฟ

มิถุนายน

464

0.9255

1739.99

กรกฎาคม

425

0.9255

1577.11

สิงหาคม

398

0.9255

1464.76

 

วิเคราะห์ข้อมูล

จากตารางจะเห็นได้ว่าเดือนที่มีค่าไฟมาที่สุดคือเดือน มิถุนายน รองลงมาคือเดือนกรกฎาคม และเดือนที่มีค่าไฟน้อยที่สุดคือเดือน สิงหาคม โดยสาเหตุที่ค่าไฟนั้นมีจำนวนน้อยลงประกอบด้วยสาเหตุหลายประการได้แก่

1.สาเหตุที่เดือนมิถุนายนมีค่าไฟสูงกว่าเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมนั้นเพราะมีแขกมาพักที่บ้านและกลับออกไปในประมาณกลางเดือนมิถุนายนทำให้ค่าไฟในเดือนมิถุนายนสูงกว่าในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม

2.สาเหตุที่เดือนกรกฎาคมมีค่าไฟสูงกว่าเดือนสิงหาคมเพราะเนื่องจากเดือนสิงหาคมผมไม่ค่อยได้อยู่บ้าน(ค่าไฟจึงน้อยลง) โดยวันที่ผมไม่อยู่คือวันเสาร์และวันอาทิตย์ ของทั้งเดือน(ไปทำงานบ้านเพื่อน)และวันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์สุดท้ายของเดือนผมไปเข้าค่ายวิทย์-คณิตอีกด้วย

3.สาเหตุที่ค่าไฟเดือนมิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม ลดลงตามลำดับนั้นอีกหนึ่งสาเหตุมาจากการที่อาจารย์ได้สั่งให้ทำรายงานนี้ทำให้ผมต้องลดการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่จะทำรายงาน(ปกติผมก็ลดพลังงานไฟฟ้าอยู่แล้ว แต่ครั้งนี้ผมจงใจลดเพื่องานนี้)

4.อาจเป็นเพราะความบังเอิญที่ค่าไฟลดลง(บุคคลอื่นที่อยู่ในบ้านอาจประหยัดไฟด้วย)

บรรณานุกรม

1.http://www.student.chula.ac.th/~49718863/elec.htm

2.http://www.thaienv.com/th/index.php?option=com_content&task=view&id=218&Itemid=27


Top Related