criteria for physical design and zoning

18
Criteria for Physical Design and Zoning of Entertainment Business District: Guidelines for Architecture Design and Legislative Amendment Samustpon Tanapant 17 เกณฑ์การออกแบบลักษณะทางกายภาพและการจัดระเบียบเขตควบคุมสถานบริการ: แนวทางในการออกแบบสถาปัตยกรรมและการปรับปรุงกฎหมาย Criteria for Physical Design and Zoning of Entertainment Business District : Guidelines for Architecture Design and Legislative Amendment สมรรถพล ตาณพันธุ์ Samustpon Tanapant คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University บทคัดย่อ การศึกษาเกณฑ์การออกแบบลักษณะทางกายภาพและการจัดระเบียบเขตควบคุมสถานบริการเพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการออกแบบและการปรับปรุงกฎหมาย มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 7 ประการ คือ 1) ศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ เขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการ 2) ศึกษาลักษณะทางกายภาพเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการสถานบริการต่อความเหมาะสมของเขตควบคุมสถานบริการและ อาคารสถานบริการ 4) ศึกษาความคิดเห็นของสถาปนิกและนักผังเมืองต่อความเหมาะสมของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเขต ควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการ 5) ศึกษาความสัมพันธ์ของเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการกับ ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 6) กำหนดแนวทางในการจัดระเบียบเขตควบคุมสถานบริการและออกแบบอาคารสถานบริการ และ 7) กำหนดแนวทางในการแก้ไขข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการ โดยมีพื้นที่ศึกษา คือ เขตควบคุมสถานบริการย่านพัฒน์พงษ์ รัชดาภิเษก และเพชรบุรีตัดใหม่ ( รอยัลซิตี้ อเวนิว) ประชากรในการวิจัยมีจำนวน 420 คนประกอบด้วย นักท่องเที่ยว 360 คน แบ่งออกเป็นเขตควบคุมสถานบริการพื้นที่ละ 120 คน ผู้ประกอบการสถาน บริการพื้นที่ละ 15 คน และสถาปนิกและนักผังเมืองรวมจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามและ การสังเกตสภาพแวดล้อม ผลการศึกษาพบว่า เขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการเป็นประเด็นที่มีความสัมพันธ์ทั้งในเชิงกายภาพ และข้อกฎหมาย การจัดระเบียบเขตควบคุมสถานบริการโดยการบังคับใช้ข้อกฎหมายหรือมุ่งแก้ไขทางกายภาพแต่เพียงอย่างใด อย่างหนึ่งไม่อาจสร้างความเป็นระเบียบได้อย่างสมบูรณ์ ต้องมีการปรับปรุงทั้งตัวกฎหมายและลักษณะทางกายภาพของเขต ควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการควบคู่กันไปทั้ง 2 ประเด็น จึงสามารถสร้างความเป็นระเบียบให้แก่เขตควบคุม สถานบริการและอาคารสถานบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกณฑ์การออกแบบลักษณะทางกายภาพและการจัดระเบียบเขต ควบคุมสถานบริการจึงประกอบไปด้วยประเด็นสำคัญ 2 ประการคือ 1. แนวทางในการจัดระเบียบทางกายภาพเขตควบคุมสถานบริการและการออกแบบอาคารสถานบริการ จากสาระสำคัญ ที่ได้จากการศึกษาในประเด็นความเหมาะสมของเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการทั้ง 3 โซน พบประเด็นที่ต้อง พิจารณาเพื่อการปรับปรุงพัฒนาทางด้านกายภาพคือ 1) การจัดวางอาคารสถานบริการ 2) สัดส่วนของพื้นที่อาคารต่อการใช้งาน 3) รายละเอียดที่เกี่ยวกับส่วนตกแต่ง 4) ป้ายโฆษณา 5) ระบบป้องกันอัคคีภัย 6) พื้นที่จอดรถ และ 7) ระบบสุขอนามัย 2. แนวทางการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการ จากสาระสำคัญที่ได้ จากการศึกษาในประเด็นความเหมาะสมของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการ พบ ประเด็นที่ต้องพิจารณาเพื่อการปรับปรุงพัฒนาทางด้านข้อกฎหมายคือ 1) ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาตำแหน่งและ ขอบเขตของเขตควบคุมสถานบริการ 2) ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับระบบป้องกันอัคคีภัย 3) ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดพื้นที่ จอดรถ และ 4) ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับสุขอนามัย

Upload: zinnzer-juzs

Post on 08-Apr-2016

214 views

Category:

Documents


2 download

DESCRIPTION

Criteria for physical design and zoning

TRANSCRIPT

Page 1: Criteria for physical design and zoning

Criteria for Physical Design and Zoning of Entertainment Business District: Guidelines for Architecture Design and Legislative AmendmentSamustpon Tanapant 17

เกณฑก์ารออกแบบลกัษณะทางกายภาพและการจดัระเบยีบเขตควบคมุสถานบรกิาร:แนวทางในการออกแบบสถาปัตยกรรมและการปรับปรุงกฎหมายCriteria for Physical Design and Zoning of Entertainment Business District:Guidelines for Architecture Design and Legislative Amendment

สมรรถพล ตาณพันธุ์Samustpon Tanapant

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University

บทคัดย่อ

การศึกษาเกณฑ์การออกแบบลักษณะทางกายภาพและการจัดระเบียบเขตควบคุมสถานบริการเพื ่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบและการปรับปรุงกฎหมาย มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 7 ประการ คือ 1) ศึกษาข้อกฎหมายที่เกี ่ยวข้องกับเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการ 2) ศึกษาลักษณะทางกายภาพเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการ3) ศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที ่ยวและผู ้ประกอบการสถานบริการต่อความเหมาะสมของเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการ 4) ศึกษาความคิดเห็นของสถาปนิกและนักผังเมืองต่อความเหมาะสมของข้อกฎหมายที่เกี ่ยวข้องกับเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการ 5) ศึกษาความสัมพันธ์ของเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการกับข้อกฎหมายที่เกี ่ยวข้อง 6) กำหนดแนวทางในการจัดระเบียบเขตควบคุมสถานบริการและออกแบบอาคารสถานบริการ และ7) กำหนดแนวทางในการแก้ไขข้อกฎหมายที่เกี ่ยวข้องกับเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการ โดยมีพื ้นที ่ศึกษาคือ เขตควบคุมสถานบริการย่านพัฒน์พงษ์ รัชดาภิเษก และเพชรบุรีตัดใหม่ (รอยัลซิตี้ อเวนิว) ประชากรในการวิจัยมีจำนวน420 คนประกอบด้วย นักท่องเที ่ยว 360 คน แบ่งออกเป็นเขตควบคุมสถานบริการพื้นที ่ละ 120 คน ผู้ประกอบการสถานบริการพื้นที่ละ 15 คน และสถาปนิกและนักผังเมืองรวมจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามและการสังเกตสภาพแวดล้อม

ผลการศึกษาพบว่า เขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการเป็นประเด็นที่มีความสัมพันธ์ทั ้งในเชิงกายภาพและข้อกฎหมาย การจัดระเบียบเขตควบคุมสถานบริการโดยการบังคับใช้ข้อกฎหมายหรือมุ่งแก้ไขทางกายภาพแต่เพียงอย่างใดอย่างหนึ ่งไม่อาจสร้างความเป็นระเบียบได้อย่างสมบูรณ์ ต้องมีการปรับปรุงทั ้งตัวกฎหมายและลักษณะทางกายภาพของเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการควบคู่กันไปทั ้ง 2 ประเด็น จึงสามารถสร้างความเป็นระเบียบให้แก่เขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกณฑ์การออกแบบลักษณะทางกายภาพและการจัดระเบียบเขตควบคุมสถานบริการจึงประกอบไปด้วยประเด็นสำคัญ 2 ประการคือ

1. แนวทางในการจัดระเบียบทางกายภาพเขตควบคุมสถานบริการและการออกแบบอาคารสถานบริการ จากสาระสำคัญที่ได้จากการศึกษาในประเด็นความเหมาะสมของเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการทั้ง 3 โซน พบประเด็นที่ต้องพิจารณาเพื่อการปรับปรุงพัฒนาทางด้านกายภาพคือ 1) การจัดวางอาคารสถานบริการ 2) สัดส่วนของพื้นที่อาคารต่อการใช้งาน3) รายละเอียดที่เกี่ยวกับส่วนตกแต่ง 4) ป้ายโฆษณา 5) ระบบป้องกันอัคคีภัย 6) พื้นที่จอดรถ และ 7) ระบบสุขอนามัย

2. แนวทางการปรับปรุงกฎหมายที่เกี ่ยวข้องกับเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการ จากสาระสำคัญที่ได้จากการศึกษาในประเด็นความเหมาะสมของข้อกฎหมายที ่เกี ่ยวข้องกับเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการ พบประเด็นที่ต้องพิจารณาเพื่อการปรับปรุงพัฒนาทางด้านข้อกฎหมายคือ 1) ข้อกฎหมายที่เกี ่ยวข้องกับการพิจารณาตำแหน่งและขอบเขตของเขตควบคุมสถานบริการ 2) ข้อกฎหมายที่เกี ่ยวกับระบบป้องกันอัคคีภัย 3) ข้อกฎหมายที่เกี ่ยวกับการจัดพื้นที ่จอดรถ และ 4) ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับสุขอนามัย

Page 2: Criteria for physical design and zoning

Journal of Architectural/Planning Research and Studies Volume 4. 2006Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University18

Abstract

The research “Criteria for Physical Design and Zoning of Entertainment Business Districts: Guidelinesfor Design and Legislative Amendment” consists of 7 objectives: 1) to study legal matters which are relatedto the zoning of entertainment business districts and entertainment venues; 2) to study the zoning of entertainmentbusiness districts and entertainment venues; 3) to study the opinion of tourists and entertainment businessowners regarding the zoning of entertainment business districts and entertainment venues; 4) to study theopinion of architects and urban planners towards legal matters related to the zoning of entertainment businessdistricts and entertainment venues; 5) to study the relationship between the zoning of entertainment businessdistricts and entertainment venues in term of legal matters; 6) set guidelines for physical design and zoning ofentertainment businesses; and 7) set guidelines for an improvement of legal matters related to zoning ofentertainment business districts and entertainment venues.

Specifically, the research is limited to the entertainment businesses in Phatphong, Ratchadaphisak andNew Phetchaburi (Royal City Avenue) zones. Demography of the research is composed of tourists, entertainmentowners and architects. The sampling is equally random from 3 zones, each of which consists of 120 tourists, and15 entertainment business owners; 420 in total including 15 architects and planners. Tools in this study arequestionnaires and observation of general surroundings.

The result of the research reveals that the zoning of entertainment business districts and entertainmentvenues needs to incorporate of both physical design and laws. Neither through zoning nor through designalone could create well-ordered districts, but rather both need to be incorporated together. Consequently, thecriteria for physical design and zoning of entertainment business districts consist of 2 main aspects as follows;

1. guideline for physical design and zoning of entertainment businesses: study of the suitability of 3entertainment business zones with 3 entertainment venues reveals 7 aspects which need to be considered inorder to renovate and improve physical design, which are 1) design and composition of the entertainmentvenues; 2) building design such as depth of rooms, width of rooms, height of rooms (floor to ceiling); 3) decoration;4) advertisement boards; 5) fire protection system; 6) car parking; and 7) sanitary system.

2. guideline for amendment of laws and regulations related to zoning of entertainment business districtsand entertainment venues: study of the suitability of laws and regulations reveals 4 aspects that need to beconsidered in order to improve the laws, which are as follows: 1) laws and regulations related to entertainmentzoning, which should be intensively improved to set a minimum of the distance between entertainment zones andimportant places such as a place of worship, schools, embassies and government offices; 2) laws for fireprotection systems. The entertainment buildings, which are modified from shop houses, are extremely unsafeespecially in using ladders as fire exits; 3) laws for car parking; and 4) laws for sanitary systems.

คำสำคัญ (Keywords)

เขตควบคุมสถานบริการ (Zoning of Entertainment Business District)การแก้ไขข้อกฎหมาย (Legislative Amendment)การออกแบบสถาปัตยกรรม (Architecture Design)

Page 3: Criteria for physical design and zoning

Criteria for Physical Design and Zoning of Entertainment Business District: Guidelines for Architecture Design and Legislative AmendmentSamustpon Tanapant 19

บทนำ

ตลอดช่วงหลายทศวรรษที ่ผ่านมาเขตชุมชนเมืองของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรุงเทพมหานคร มีการพัฒนาและการเปล ี ่ยนแปลงทั ้งในประเด ็นของเศรษฐกิจการเมือง สังคม วัฒนธรรม ตลอดจนการดำเนินวิถีชีวิตของคนเมือง เช่นเดียวกับธุรกิจสถานบริการและแหล่งบันเทิงเร ิงรมย์ต ่างม ีการพัฒนาร ูปแบบการให ้บร ิการและมีการขยายตัวอย่างรวดเร ็วโดยขาดการวางแผนและปราศจากการควบคุมอย่างเป็นระบบ อันเป็นเหตุที ่นำมาซึ ่งปัญหาสังคมไร ้ระเบียบ ปัญหาอาชญากรรม และปัญหาการก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ชุมชน [1] แต่ก็คงมิอาจปฏิเสธได้ว ่าการดำเน ินช ีว ิตของคนเมืองย่อมมีท ั ้งความสุขและความทุกข์ การแสวงหาสิ่งต่าง ๆ เพื่อบรรเทาทุกข์ทางใจและทางกายย่อมเป็นสิ ่งจำเป็น แหล่งบันเทิงเริงรมย์หรือสถานบริการจึงเป็นสถานที ่ช ุมนุมสำหรับหาความสุขสำราญของคนเมือง แต่อาคารสถานบริการกลับเป็นอาคารที ่ม ีความเสี ่ยงต่ออันตราย โดยเฉพาะประเด็นความปลอดภัยจากอัคคีภัย ระบบสุขอนามัย และรวมไปถึงการจัดสภาพแวด-ล้อมที ่เหมาะสมกับการใช้งาน ประเด็นต่าง ๆ เหล่านี ้ล้วนเป็นประเด็นที ่ขาดการควบคุมและถูกละเลยมาโดยตลอดนอกจากนี ้ ข้อกฎหมายและข้อบัญญัติที ่ใช้ในเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการหลายประเด็นไม่สอดคล้องกับสภาพจริง เนื ่องจากการใช้ข้อกฎหมายที่เกี ่ยวข้องหลายประเด็นยังไม่สมบูรณ์และยังขาดข้อกฎหมายสำหรับเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการโดยเฉพาะ ข้อกฎหมายที ่นำมาใช้กับเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการจ ึงเป ็นลักษณะของการหยิบยืมข ้อกฎหมายควบคุมอาคารอื่นมาใช้

รัฐบาลในยุคพันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร พ.ศ.2548 ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงมีนโยบายจัดระเบียบสังคม โดยการจัดเขตควบคุมสถานบริการ (zoning) โดยมีว ัตถุประสงค์เพื ่อให้การบังคับใช้กฎหมายควบคุมสถาน-บริการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในความเป็นจริง การแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้นไม่อาจทำได้สมบูรณ์ โดยการบังคับใช้กฎหมายแต่เพียงอย่างเดียวหากจะต้องมีการปรับปรุงท ั ้งต ัวกฎหมายและลักษณะทางกายภาพของเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการควบคู ่กันไป เหตุนี ้จ ึงเป็นที่มาของปัญหาในการวิจัยครั้งนี้เพื่อค้นหาว่า แนวทางใน

การปรับปรุงกฎหมายและเกณฑ์การออกแบบสถานบริการที่ดีควรเป็นอย่างไร ภายใต้หัวข้อการวิจัย “เกณฑ์การออก-แบบลักษณะทางกายภาพและการจ ัดระเบียบเขตควบคุมสถานบริการ: แนวทางในการออกแบบสถาปัตยกรรมและการปรับปรุงกฎหมาย”

วัตถุประสงคก์ารวิจัย

1. ศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการ

2. ศึกษาลักษณะทางกายภาพของเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการ

3. ศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที ่ยวและผู ้ประกอบการสถานบริการต่อความเหมาะสมของเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการ

4. ศึกษาความคิดเห็นของสถาปนิกและนักผังเมืองต่อความเหมาะสมของข ้อกฎหมายที ่ เก ี ่ยวข ้องกับเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการ

5. ศึกษาความสัมพันธ์ของเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

6. กำหนดแนวทางในการจ ัดระเบ ียบเขตควบค ุมสถานบริการและการออกแบบอาคารสถานบริการ

7. กำหนดแนวทางในการแก้ไขข้อกฎหมายที ่เกี ่ยวข้องกับเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการ

พ้ืนท่ีศึกษา ประชากร และเครือ่งมือในการวจัิย

ขอบเขตในการศึกษาครั ้งน ี ้ ศึกษาเฉพาะสถานบริการประเภท ไนต์คลับ บาร์ คาเฟ่ ผับ และเธคเท่านั้น ส่วนพื้นที่ศึกษา คือ เขตควบคุมสถานบริการที่ได้กำหนดแล้วในกรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย 1) ย่านพัฒน์พงษ์ 2)ย่านรัชดาภิเษก และ 3) ย่านเพชรบุร ีต ัดใหม่ (รอยัลซิตี ้อเวนิว) โดยกำหนดพื ้นที ่ศ ึกษาเป็นรัศมีจากเขตควบคุมสถานบริการ 500 เมตร ดังรูปที่ 1

ส่วนขอบเขตในการศึกษาข้อกฎหมายนั้น เนื่องจากข้อกฎหมายที่เกี ่ยวข้องกับเขตควบคุมสถานบริการมีจำนวนมาก อีกทั้งผู้วิจัยมีระยะเวลาอันจำกัด จึงเลือกศึกษาเฉพาะข้อกฎหมายที ่มีความเกี ่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมและสถา-ปัตยกรรมเป็นหลักก่อน ซึ่งประกอบด้วย กฎกระทรวง และเทศบัญญัติ หรือข้อบัญญัติที่เกี ่ยวข้องกับเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการ

Page 4: Criteria for physical design and zoning

Journal of Architectural/Planning Research and Studies Volume 4. 2006Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University20

ผู้วิจัยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที ่ใช้ในการศึกษา ด้วยตารางการสุ่มตัวอย่างของ TARO YAMANE ณระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกินร้อยละ 5 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างไม่ต่ำกว่า 400 คน โดยในการวิจัยครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่าง 420 คน ประกอบด้วยผู้ที ่มีส่วนได้ส่วนเสียและเกี่ยวข้องกับเขตควบคุมสถานบริการทั ้ง 3 พื ้นที ่ซ ึ ่งสามารถแบ่งประชากรออกเป็นกลุ ่มย่อยพร้อมจำนวนตัวอย่างตามความแตกต่างได้ดังนี้

1) นักท่องเที ่ยวที ่เคยใช้บริการสถานบริการในเขตควบคุมสถานบริการในพื้นที ่ทั ้งสาม จำนวน 120 คนต่อพื้นที่ รวม 360 คน

2) ผู้ประกอบการสถานบริการในเขตควบคุมสถานบริการในพื้นที่ทั้งสาม จำนวน 15 คนต่อพื้นที่ รวม 45 คน

3) สถาปนิกและนักผังเมือง จำนวน 15 คนผู้วิจัยทำการสร้างเครื่องมือสำหรับใช้ในการวิจัย

ครั ้งนี ้โดยศึกษาจากเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที ่ เก ี ่ยวข้อง รวมถึงขอคำแนะนำจากผู ้ เช ี ่ยวชาญในการทำงานวิจัยเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือ และเพื่อการเก็บข้อมูลให้ได้ครบถ้วน ครอบคลุมถึงสิ ่งที ่ต้องการศึกษา ผู้วิจัยจึงได้ทำการสร้างเครื่องมือที่ใช้เพื่อเก็บข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ 2 ชุด ประกอบด้วย

1) แบบสอบถามชุดที่ 1 ใช้ในการเก็บข้อมูลเกี่ยวก ับความคิดเห ็นของสถาปนิกและนักผังเม ืองต ่อความเหมาะสมของข้อกฎหมายที่เกี ่ยวข้องกับเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการในเขตควบคุมสถานบริการทั้ง 3 เขต

2) แบบสอบถามชุดที่ 2 ใช้ในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของนักท่องเที ่ยวและผู ้ประกอบการต่อความเหมาะสมของเขตควบคุมสถานบร ิการและอาคารสถานบริการในเขตควบคุมสถานบริการทั้ง 3 เขต เพื่อความสมบูรณ์ในการเก็บข้อมูลจากกลุ ่มนักท่องเที ่ยวที ่มีความแตกต่างกันทางด้านเชื ้อชาติ ผู้วิจัยจึงสร้างแบบสอบถามชุดที ่ 2 เป็น 2 ภาษา โดยประกอบไปด้วยชุดภาษาไทยสำหรับนักท่องเที ่ยวในเขตควบคุมสถานบริการโซนรัชดา-ภิเษกและโซนเพชรบุรีตัดใหม่ (รอยัลซิตี้ อเวนิว) และชุดภาษาอังกฤษสำหรับนักท่องเที ่ยวต่างชาติในเขตควบคุมสถานบริการโซนพัฒน์พงษ์

รูปที่ 1 แผนที่แสดงขอบเขตของเขตควบคุมสถานบริการในกรุงเทพมหานคร

Page 5: Criteria for physical design and zoning

Criteria for Physical Design and Zoning of Entertainment Business District: Guidelines for Architecture Design and Legislative AmendmentSamustpon Tanapant 21

สาระสำคัญของการวจัิย

เพื ่อความสะดวกในการศึกษาทั ้งประเด็นความเหมาะสมทางด้านกายภาพของเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการและประเด็นความเหมาะสมของข้อกฎ-หมายที ่ เก ี ่ยวข ้องกับเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการ ผู้วิจัยจึงกำหนดโครงสร้างการศึกษาโดยการแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ประเด็น ประกอบด้วย 1) การพิจารณาเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งโครงการ 2) การจัดวางอาคารในที่ตั้งโครงการ และ 3) การออกแบบอาคารและรายละเอียดเกี ่ยวกับองค์ประกอบของอาคาร หลังจากการศึกษาตามโครงสร้างดังกล่าวผู ้วิจัยสรุปเนื ้อหาสำคัญตามรายละเอียดดังที่ปรากฏในหัวข้อถัดไป

1. ความเหมาะสมทางด้านกายภาพของเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการ1.1 การพิจารณาเกี ่ยวกับตำแหน่งที ่ต ั ้งเขตควบคุม

สถานบริการจากการพิจารณารายละเอียดที ่เกี ่ยวกับตำแหน่ง

ที่ตั้งของเขตควบคุมสถานบริการ โซนพัฒน์พงษ์ โซนรัชดา-ภิเษก และโซนเพชรบุรีตัดใหม่ (รอยัลซิตี้ อเวนิว) ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ทางสถิติ ผู้วิจัยพบประเด็นความเหมาะสมของการกำหนดขนาดและขอบเขตของเขตควบคุมสถานบริการโซนรัชดาภิเษกอยู ่ในระดับที ่มีความเหมาะสมน้อยที ่ส ุดเมื ่อเทียบกับโซนพัฒน์พงษ์ และโซนเพชรบุร ี-ตัดใหม่ เนื่องจากลักษณะบริบทของย่านรัชดาภิเษกประกอบด้วยพื้นที่ขนาดใหญ่ มีระบบสาธารณูปโภคพร้อม สามารถเข ้าถ ึงได ้ง ่าย ทั ้งทางถนนเพชรบ ุร ีและถนนร ัชดาภิเษกประกอบกับธุรกิจสถานบริการได้รับความนิยมและมีความต้องการของนักท่องเที ่ยวที ่ส ูงขึ ้น ดังนั ้น เพื ่อตอบสนองกระแสความนิยมของกลุ ่มล ูกค ้า จึงทำให ้ก ิจการสถานบริการภายในย่านมีการขยายตัวรวดเร็ว รวมทั้งการขาดการควบคุมอย่างจร ิงจ ังในระยะแรกจ ึงส ่งผลให้ร ูปแบบการขยายตัวของสถานบร ิการเป ็นไปอย่างไร ้ระเบ ียบกระจ ัดกระจายแทรกตัวเข้าไปในย่านอย่างฝังลึก

ถึงแม้ว่าต่อมาจะมีนโยบายจัดระเบียบสังคม โดยกำหนดให้ย่านรัชดาภิเษกเป็นเขตควบคุมสถานบริการ (รูปที่2) แล้วก ็ตาม การกำหนดขอบเขตพื ้นท ี ่ต ั ้งเขตควบคุมสถานบริการโซนรัชดานั ้นเป็นการกำหนดขนาดจากสถาน

บริการที ่มีอยู ่เดิมซึ ่งมีอยู ่อย่างกระจัดกระจาย จึงส่งผลให้ภายในเขตควบคุมสถานบริการประกอบด้วยสถานที่สำคัญที่ไม่ควรมีอยู่ภายในเขตควบคุมสถานบริการเป็นจำนวนมากเช่น สถานราชการ สถานพยาบาล สถานปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา และโดยเฉพาะสถานศึกษาดังกรณีสถานบริการอาบ อบ นวด “เอไลน่า” ที่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ (รูปที่3)แม้ว ่าสถานบริการดังกล่าวจะมีการขออนุญาตจัดตั ้งอยู ่ภายใต้พื ้นที ่โซนนิ ่ง และไม่มีเหตุผลที ่ข ัดต่อข้อกฎหมายแต่อย่างใด แต่ด ้วยลักษณะทางกายภาพของที่ตั ้งสถานบริการและภาพลักษณ์ที ่ไม ่เหมาะสมขัดต่อศีลธรรม ซึ ่งส่งผลทางใจต่อนักเรียน ครู และประชาชนที่ผ่านไปผ่านมาจึงทำให้ ณ บริเวณพื้นที ่ดังกล่าวไม่สมควรมีสถานบริการตั ้งอยู ่แม้ว ่าจะอยู ่ในโซนนิ ่งหร ือไม่ก ็ตาม กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงข้อกฎหมายที ่หละหลวม ไม่ชัดเจน และยังขาดการให้ความสำคัญต่อสังคม วัฒนธรรม จริยธรรมรวมทั ้งแสดงให้เห ็นถึงความล้มเหลวของการจัดระเบียบสังคมโดยการกำหนดเขตควบคุมสถานบริการที่ขาดการให้ความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง

ในขณะที่ประเด็นความเหมาะสมของการกำหนดขนาดและขอบเขตของเขตควบคุมสถานบริการโซนพัฒน์พงษ์และโซนเพชรบุรีตัดใหม่อยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจาก

1) ในกรณีของเขตควบคุมสถานบริการโซนพัฒน์-พงษ์นั้น (รูปที่ 4) จากการศึกษาพบว่าขนาดและขอบเขตของย่านสถานบริการพัฒน์พงษ์นั้นถูกสภาพบริบทของพื้นที่เป็นตัวกำหนดอยู ่แล้วกล่าวคือ ด้วยความที ่ย่านสถานบริการพัฒน์พงษ์อยู่ในเขตย่านธุรกิจ สีลม ซึ่งที ่ดินมีราคาสูงและหายาก จึงทำให้การขยายและการเกดิกิจการสถานบรกิารใหม่ ๆจึงเกิดขึ ้นยาก ต่างกับย่านรัชดาภิเษกที ่มีปัจจัยสนับสนุนต่าง ๆ มากมาย

2) ในกรณีของเขตควบคุมสถานบริการโซนเพชร-บุรี (รอยัลชิตี้ อเวนิว) หรือ อาร์ ซี เอ (รูปที่ 5 และ 6) ตามคำเรียกติดปากของวัยรุ่น ก่อนที่ อาร์ ซี เอ จะถูกกำหนดให้เป็น1 ใน 3 เขตควบคุมสถานบริการในกรุงเทพมหานครตามนโยบายจัดระเบียบสังคม อาร์ ซี เอ เคยเป็นชอ้ปปิ้ง สตรีท(shopping street) มาก่อน ดังนั้น ทั้งขนาดและขอบเขตของอาร์ ซี เอ จึงถูกกำหนดด้วยขนาดของที ่ด ินที ่ม ีเจ ้าของเพียงคนเดียว ภายในย่านจึงมีการแบ่งโซนต่าง ๆ และมีการ

Page 6: Criteria for physical design and zoning

Journal of Architectural/Planning Research and Studies Volume 4. 2006Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University22

รูปที่ 2 แผนที่แสดงสถานที่สำคัญที่อยู่ในบริเวณเขตควบคุมสถานบริการ โซนรัชดาภิเษก

รูปที่ 3 ผลกระทบจากสถานบริการ อาบ อบ นวด “เอไลน่า” ต่อสภาพชุมชน

Page 7: Criteria for physical design and zoning

Criteria for Physical Design and Zoning of Entertainment Business District: Guidelines for Architecture Design and Legislative AmendmentSamustpon Tanapant 23

จัดระเบียบอยู ่ในเกณฑ์ที่ดี ถึงแม้ว่าต่อมาโครงการช้อปปิ้งสตรที จะกลายเป็นย่านสถานบริการแล้วก็ตาม ด้วยสภาพบริบทที ่มีการจัดระเบียบที ่ดีมาตั ้งแต่แรกจึงทำให้การจัดการควบคุมสถานบริการภายในย่านทำได้ง่ายกว่าเขตควบคุมสถานบริการโซนอื่น แต่อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยมีความเห็นว่าในกรณีของเขตควบคุมสถานบริการ อาร์ ซี เอ ควรมีการกำหนดขอบเขตให้ม ีขนาดที ่ เล ็กลงเนื ่องจากภายในเขตควบคุมสถานบริการโซนเพชรบุรีตัดใหม่ (รอยัลซิตี้ อเวนิว)นั้นมีอาคารสถานบริการอยู่เพียงบางส่วนของพื้นที่ทั ้งหมดเท่านั้น จึงควรควบคุมเฉพาะพื้นที่ที่มีกลุ่มของอาคารสถานบริการเท่านั้น เพื่อให้สามารถควบคุมและจัดการการขยายของกิจการในอนาคต

1.2 การจ ัดวางอาคารสถานบร ิการในเขตควบค ุมสถานบริการในประเด็นของการจัดวางอาคารสถานบริการใน

เขตควบคุมสถานบริการ จากการสำรวจลักษณะทางกายภาพของเขตควบคุมสถานบริการทั ้ง 3 โซน ร่วมกับการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่ามีเพียงเขตควบคุมสถานบริการโซนพัฒน์พงษ์เท่านั ้นที ่ควรมีการพิจารณาเพื ่อการจัดระเบียบทางกายภาพในเรื่องของการจัดวางอาคารสถานบริการ โดยมีรายละเอียดและแนวทางในการแก้ไข 4 ประเด็น ประกอบ

ด้วย 1) ขนาดของทางเท้าบริเวณด้านหน้าของอาคารสถานบริการ 2) กิจกรรมบริเวณด้านหน้าของอาคารสถานบริการ3) ขนาดของที่ว่างบริเวณด้านหน้าของอาคารสถานบริการและ 4) ขนาดของถนนบริเวณด้านหน้าของอาคารสถานบริการ ซึ่งเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับอีกสองเขตควบคุมสถานบริการทั ้งโซนรัชดาภิเษก และโซนเพชรบุรีตัดใหม่(รอยัลซิตี้ อเวนิว) ประเด็นความเหมาะสมของลักษณะทางกายภาพของอาคารสถานบริการสองโซนหลังกลับมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลางถึงดี ซึ่งจากการศึกษาผู้วิจัยพบว่าเหตุที่ทำให้มีความแตกต่างนั้น เกิดจากประเด็นสำคัญ2 ประเด็นด้วยกันคือ 1) ประเภทของอาคารที ่แตกต่างกัน และ 2) สภาพบริบท ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

กรณี ประเภทอาคารที่แตกต่างกัน จากการศึกษาพบว่าอาคารสถานบริการในเขตควบคุมสถานบริการโซนพัฒน์พงษ์ส่วนใหญ่เป็นอาคารประเภทตึกแถว ซึ่งมีข้อจำกัดในเร ื ่องของพื ้นที ่ จึงทำให้ผู ้ประกอบการมีความจำเป็นต้องขยายกิจการเพื ่อให้สามารถรองรับความต้องการของกลุ ่มลูกค้า แต่ไม่สามารถทำการขยายได้ เนื ่องจากเขตควบคุมสถานบริการโซนพัฒน์พงษ์ ตั้งอยู่กลางย่านธุรกิจซึ ่งมีราคาที ่ด ินที ่ม ีราคาสูงเป็นข้อจำกัดทำให้ไม่สามารถขยายกิจการได้ ผู้ประกอบการจึงใช้พื ้นที ่ว่างหน้าร้านและ

รูปที่ 4 แผนที่แสดงสถานที่สำคัญที่อยู่ในบริเวณเขตควบคุมสถานบริการ โซนพัฒน์พงษ์

Page 8: Criteria for physical design and zoning

Journal of Architectural/Planning Research and Studies Volume 4. 2006Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University24

รูปที่ 5 แผนที่แสดงสถานที่สำคัญที่อยู่ในบริเวณเขตควบคุมสถานบริการ โซนเพชรบุรีตัดใหม่ (รอยัลซิตี ้ อเวนิว)

รูปที่ 6 รูปแบบอาคารสถานบริการในเขตควบคุมสถานบริการ เพชรบุรีตัดใหม่ (รอยัลซิตี ้ อเวนิว)

รูปที่ 7 การดัดแปลงต่อเติมและใช้งาน ทางเท้าถนน และที่ว่างบริเวณด้านหน้าอาคารสถานบริการ ในเขตควบคุมสถานบริการโซนพัฒน์พงษ์

Page 9: Criteria for physical design and zoning

Criteria for Physical Design and Zoning of Entertainment Business District: Guidelines for Architecture Design and Legislative AmendmentSamustpon Tanapant 25

หลังร้านในการขยายพื้นที่ขาย นอกจากนี้ ยังพบอีกว่าจากการที ่ถนนพัฒน์พงษ์เป็นถนนส่วนบุคคล ซึ ่งทำให้ยากต่อการควบคุม การขยายและต่อเติมอาคารสถานบริการจึงเป็นไปอย่างไม่เป็นระบบระเบียบ มีการต่อเติมอาคารรุกล้ำเขตทางเท้า ที่ว่างบริเวณด้านหน้าและด้านหลัง (รูปที่ 7) ลักษณะดังกล่าวแตกต่างจากอาคารสถานบริการในเขตควบคุมสถานบริการโซนรัชดาภิเษกอย่างเห็นได้ชัด อาคารสถานบริการโซนรัชดาภิเษกนั ้นส่วนใหญ่เป ็นอาคารที ่ถ ูกออกแบบมาเพื ่อรองรับกิจกรรมประเภทสถานบริการโดยเฉพาะพื ้นที ่อาคารจึงเพียงพอต่อการใช้งาน อีกทั ้งที ่ดินในย่านนี ้ยังมีที ่ดินว่างเปล่าที ่สามารถพัฒนาต่อได้ อีกทั ้งราคาของที ่ดินในย่านไม่สูงมากนักจึงทำให้ผู ้ประกอบการไม่มีความจำเป็นต้องรุกล้ำพื ้นที ่สาธารณะเช่นในโซนพัฒน์พงษ์ ส่วนอาคารสถานบริการในโซนเพชรบุรีตัดใหม่ (รอยัลซิตี ้ อเวนิว) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลางถึงดีเช่นกัน ทั้งนี้เนื ่องจากอาคารสถานบริการในโซนเพชรบุรีตัดใหม่ (รอยัลซิตี ้อเวนิว) เดิมเป็นอาคารที ่สร ้างเพื ่อรองรับการใช้งานจากกิจกรรมที ่เกิดจากศูนย์การค้า จึงมีมาตรฐานของการจัดวางอาคารแบบอาคารขนาดใหญ่ ต่อมาพลิกผันกลายมาเป็นย่านสถานบริการ จึงทำให้ขนาดของที ่ว ่างบริเวณด้านหน้าขนาดของถนน และขนาดของทางเท้าด้านหน้าของอาคารสถานบริการสามารถรองรับผู้คนจำนวนมากจากสถานบริการได้เป็นอย่างดี ประเด็นดังกล่าวสนับสนุนให้เห็นได้ชัดว่าอาคารตึกแถวไม่เหมาะสมที่จะนำมาเป็นอาคารสถานบริการและนำไปสู่การพิจารณาถึงขนาดที่ว่าง และการจัดวางอาคารสถานบริการที ่เหมาะสม จากจุดนี ้สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลจะต้องมีนโยบายเกี ่ยวกับการจัดการถนนและทางเท้าที ่เป็นของส่วนบุคคลเพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมและพัฒนาพื้นที่

1.3 การออกแบบอาคารและรายละเอ ียดเก ี ่ยวก ับอาคารสถานบริการในเขตควบคุมสถานบริการเมื ่อพิจารณาในรายละเอียดเชิงกายภาพของการ

ออกแบบอาคารและรายละเอียดเกี่ยวกับอาคารสถานบริการในเขตควบคุมสถานบริการทั้ง 3 โซน สามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ 5 ข้อ ประกอบด้วย

1) ความเหมาะสมของการกำหนดแนวระยะของส่วนประกอบต่าง ๆ ของอาคารสถานบริการ จากการศึกษาลักษณะทางกายภาพของการกำหนดระยะของส่วนประกอบต่าง ๆ ของอาคารสถานบริการทั้ง 3 โซน พบเพียงอาคารสถานบริการในเขตควบคุมสถานบริการโซนพัฒน์พงษ์เท่านั้น

ที่ควรพิจารณาเพื่อจัดระเบียบทางกายภาพ ซึ่งประกอบด้วยประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1) ความกว้างของอาคารสถานบริการ(คูหา) 2) ขนาดทางเดินภายในอาคารสถานบริการ 3) ความกว้างรวมของทุกคูหา (บล็อก) 4) จำนวนของคูหาที ่สร้างต่อเนื ่องกัน 5) ความสูงของเพดานภายในห้องชั ้นล่าง 6)ความสูงของเพดานชั้นอื่น ๆ และ 7) ความลึกจากหน้าร้านไปจนถึงสุดหลังร้าน ทั้งนี้เนื่องจากการที่อาคารสถานบริการในย ่านพ ัฒน์พงษ ์ส ่วนใหญ่ด ัดแปลงต ่อเต ิมจากอาคารตึกแถว ซึ ่งเดิมหน้าที ่ใช้สอยของอาคารไม่ได้ถูกออกแบบมาเพือ่ใช ้สำหร ับก ิจกรรมสถานบร ิการ จึงทำให ้ส ัดส ่วนของพื้นที่ใช้สอย เช่น ขนาดความกว้าง ความลึกของพื้นที่และความสูงของเพดานห้อง ไม่สัมพันธ์กับการใช้งานสำหรับการช ุมน ุมคนจำนวนมาก เช ่น กิจกรรมท ี ่ เก ิดในสถานบริการ โดยที ่อาคารที ่มีการออกแบบและก่อสร้างเพื ่อเป็นสถานบริการโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่แล้วจะไม่พบปัญหาความเหมาะสมของการกำหนดแนวระยะของส่วนประกอบต่าง ๆของอาคารสถานบริการ ดังในเขตควบคุมสถานบริการโซนรัชดาภิเษก และโซนเพชรบุร ีตัดใหม่ (รอยัลซิตี ้ อเวนิว)(รูปที่ 8)

จากประเด ็นด ังกล ่าวสามารถสร ุปได ้ว ่าอาคารสถานบริการที ่ด ัดแปลงมาจากอาคารต ึกแถวไม่สามารถตอบสนองพฤติกรรม และกิจกรรมที่เกิดจากการใช้งานของสถานบริการได้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลควรมีการกำหนดข้อกฎหมายเพื ่อใช ้ควบคุมไม่ให ้ม ีการนำอาคารประเภทตึกแถวมาใช้เป็นสถานบริการ และควรมีการออกข้อบัญญัติเพื่อควบคุมอาคารสถานบริการโดยเฉพาะ

2) ความเหมาะสมของป้ายโฆษณา จากการศึกษาลักษณะทางกายภาพของการกำหนดระยะของส่วนประกอบต่าง ๆ ของอาคารสถานบริการทั้ง 3 โซน พบเพียงอาคารสถานบริการในเขตควบคุมสถานบริการโซนพัฒน์พงษ์เท่านั้นที ่ควรได้รับการจัดระเบียบทางกายภาพในประเด็นของป้ายโฆษณา โดยมีรายละเอียดที่ควรนำมาพิจารณาดังนี้ 1) ป้ายโฆษณาที่ยื่นออกจากตัวอาคาร 2) ป้ายโฆษณาบนชั้นดาดฟ้าและ 3) ป้ายที ่ติดใต้กันสาดโดยให้ติดตั ้งแนบผนังอาคารข ้อค้นพบดังกล่าวสอดคล้องก ับการศึกษาของ เพ ็ญศรีฉันทวรางค์ [2] ซึ่งกล่าวถึงปัญหาด้านกายภาพของตึกแถวที ่ม ีการใช้ผสมกึ ่งบริการว่า สถานบริการที ่ด ัดแปลงจากอาคารตึกแถวมักมีการติดตั้งป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ เกะกะบังอาคาร และขาดการดูแลรักษาปล่อยให้ป้ายมีสภาพเสื่อมโทรมก่อให้เกิดทัศนียภาพอุจาด

Page 10: Criteria for physical design and zoning

Journal of Architectural/Planning Research and Studies Volume 4. 2006Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University26

เมื่อพิจารณารายละเอียดที ่ควรนำมาพิจารณาในประเด็นป้ายโฆษณาในโซนพัฒน์พงษ์พบว่าต่างเป็นประเด็นเกี ่ยวกับขนาดของป้ายโฆษณาทั ้งส ิ ้น แต่ในเขตควบคุมสถานบริการโซนรัชดาภิเษก และโซนเพชรบุรีตัดใหม่กลับพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลางถึงดี ทั้ง ๆ ที่เขตควบคุมสถานบริการทั ้ง 3 โซนใช้ข้อกฎหมายที ่ใช้ควบคุมป้ายโฆษณาฉบับเดียวกัน จากประเด็นและข้อสังเกตดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าข้อกฎหมายบางประเด็นในฉบับเดียวกันไม่สามารถใช้ควบคุมเขตควบคุมสถานบริการได้ท ุกย่านทั ้งนี ้เนื ่องจากเขตควบคุมสถานบริการในแต่ละโซนต่างมีสภาพบริบทของพื้นที ่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของอาคาร สภาพแวดล้อม รวมถึง ขนาดถนน มุมมอง ดังในกรณีของเขตควบคุมสถานบริการโซนรัชดาภิเษก และเพชรบุรีตัดใหม่ (รอยัลซิตี้ อเวนิว) ซึ่งอาคารสถานบริการตั้งอยู่ติดถนนขนาดใหญ่ และอาคารสถานบริการแต่ละแห่งมีขนาดใหญ่รวมทั้งมีระยะที่ห่างกันพอควร ดังนั้น จึงทำให้การติดป้ายโฆษณาของทั้ง 2 โซนมีความเหมาะสม แต่ในขณะที่อาคารสถานบร ิการในเขตควบค ุมสถานบร ิการโซนพ ัฒน์พงษ ์อยู่ในซอยซึ ่งมีระยะมองที ่แคบและด้วยลักษณะกายภาพของอาคารสถานบริการที ่ด ัดแปลงจากตึกแถวมีล ักษณะติด ๆ กันไม่มีระยะว่าง อีกทั้งด้วยเขตควบคุมสถานบริการโซนพัฒน์พงษ์เป็นย่านสถานบริการที่เก่าแก่ขาดการปรับปรุงมาเป็นเวลานาน จึงส่งผลให้ค่าความเหมาะสมในประเด็นป้ายโฆษณาในเขตควบคุมสถานบริการพัฒน์พงษ์อยู ่ในระดับต้องมีการปรับปรุง

3) ความเหมาะสมของระบบป้องกันอัคคีภัย จากการศึกษาลักษณะทางกายภาพของการกำหนดระยะของส่วนประกอบต่าง ๆ ของอาคารสถานบริการทั้ง 3 โซน ร่วมกับการวิเคราะห์ด้วยข้อมูลทางสถิติ พบว่าเขตควบคุมอาคารสถานบริการทั้ง 3 โซนควรได้รับการจัดระเบียบทางกายภาพในประเด็นของระบบป้องกันอัคคีภัย โดยมีรายละเอียดที ่ควรนำมาพิจารณาดังนี ้ 1) ขนาดและความกว้างของบันไดหนีไฟที่ใช้ในอาคารสถานบริการ 2) เส้นทางหนีไฟที่ใช้ภายในอาคารสถานบริการ 3) จำนวนสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ที่ติดตั้งภายในอาคารสถานบริการ 4) ตำแหน่งบันไดหนีไฟที ่ใช้ในอาคารสถานบริการ และ 5) จำนวนเครื ่องดับเพลิงแบบมือถือที่ติดตั้งภายในอาคารสถานบริการ เมื ่อพิจารณากายภาพของอาคารสถานบริการทั ้ง 2 โซนแล้วจะพบว่ารูปแบบทางสถาปัตยกรรมของอาคารสถานบริการจะมีความแตกต่างก ันอย ่างเด ่นช ัดไม ่ว ่าเขตควบคุมสถานบร ิการโซนพัฒน์พงษ์ที ่อาคารสถานบริการส่วนใหญ่ดัดแปลงจากอาคารตึกแถว หรือโซนรัชดาภิเษก และโซนเพชรบุรีตัดใหม่(รอยัลซิตี้ อเวนิว) ที่มีรูปแบบอาคารสถานบริการขนาดใหญ่และมีการออกแบบมาเป็นอย่างดีก็ตาม จากปรากฏการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าประเด็นการป้องกันอัคคีภัยยังเป็นประเด็นท้าย ๆ ที่ผู้ประกอบการคำนึงถึง เนื่องจากระบบป้องกันอัคคีภัยเป็นเรื ่องสิ ้นเปลือง และไม่ก่อให้เกิดผลกำไรจ ึงทำให ้ผ ู ้ประกอบการส ่วนใหญ่ม ักจะหล ีกเล ี ่ยงเสมอ[3] อย่างไรก็ตาม การป้องกันอัคคีภัยนั ้นเป็นประเด็นที ่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ ่ง หากขาดความระมัดระวัง

รูปที่ 8 ภาพทัศนียภาพ ภายในสถานบริการเขตกำหนดพื้นที่ย่านเพชรบุรีตัดใหม่ (รอยัลซิตี ้ อเวนิว)

Page 11: Criteria for physical design and zoning

Criteria for Physical Design and Zoning of Entertainment Business District: Guidelines for Architecture Design and Legislative AmendmentSamustpon Tanapant 27

เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ ้นมาจักก่อให้เกิดความเสียหายทั ้งชีวิตและทรัพย์สิน ดังในกรณีการเกิดเพลิงไหม้สถานบริการClub Route 999 ที่พัทยา (รูปที่ 9)

4) ความเหมาะสมของพื้นที่จอดรถ จากการศึกษาลักษณะทางกายภาพของการกำหนดระยะของส่วนประกอบต่าง ๆ ของอาคารสถานบริการทั้ง 3 โซน พบเพียงอาคารสถานบริการในเขตควบคุมสถานบริการโซนพัฒน์พงษ์เท่านั้นที ่ควรได้ร ับการจัดระเบียบทางกายภาพในประเด ็นความเหมาะสมของพื้นที่จอดรถ โดยเฉพาะในเรื่องของ 1) จำนวนที่จอดรถ และ 2) ตำแหน่งของพื้นที่จอดรถ นอกจากนี้ยังพบอีกว่าภายในเขตควบคุมสถานบริการย่านพัฒน์พงษ์ขาดพื้นที ่จอดรถสำหรับรถส่งของ รถยนต์รับจ้าง และรถยนต์ของผู้ประกอบการ จากปรากฏการณ์ดังกล่าวสามารถสรุปได้ว ่าความเหมาะสมของพื ้นที ่จอดรถเป็นตัวแปรที ่ม ีผลต่อความมีระเบียบในเขตควบคุมสถานบริการพัฒน์พงษ์โดยตรง

5) ความเหมาะสมของระบบสุขอนามัย จากการศึกษาลักษณะทางกายภาพของการกำหนดระยะของส ่วนประกอบต่าง ๆ ของอาคารสถานบริการทั้ง 3 โซน พบเพียงอาคารสถานบริการในเขตควบคุมสถานบริการโซนพัฒน์พงษ์เท่านั ้นที ่ควรได้รับการจัดระเบียบทางกายภาพในประเด็นความเหมาะสมของระบบสุขอนามัย โดยมีรายละเอียดที ่ควรนำมาพิจารณาดังนี ้ 1) การระบายอากาศภายในอาคารสถานบริการ 2) จำนวนห้องส้วมชายและห้องส้วมหญิงในอาคารสถานบริการ และ 3) จำนวนที่ปัสสาวะชายในสถานบริการ ทั้งนี ้เป็นผลมาจากอาคารสถานบริการเป็นอาคารที ่ด ัดแปลงจากอาคารตึกแถวซึ ่งม ีพ ื ้นที ่ใช ้งานที ่จำกัด จึงทำให้การเพิ่มเติมห้องน้ำห้องส้วมทำได้ยาก

2. ความเหมาะสมของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการ

ข้อกฎหมายที ่เกี ่ยวข้องกับสถานบริการโดยตรงในปัจจุบันมีพระราชบัญญัติสถานบริการเพียงฉบับเดียว ซึ ่งมีการกล่าวถึงเนื ้อหาที ่เกี ่ยวข้องกับการควบคุมอาคารและสภาพแวดล้อมไว้แต่เพียงหลวม ๆ เช ่นในกรณีของ กฎกระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2525 ออกตามความในพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 [4] ได้กล่าวถึงคุณสมบัติของอาคาร สถานที่ที ่ใช้เป็นที่ตั ้งสถานบริการ ไว้ดังนี ้ 1) ไม่อยู ่ใกล้ชิดวัด สถานที ่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา โรงเรียน หรือสถานศึกษา โรงพยาบาล สถานพยาบาลที ่ร ับผู ้ป่วยไว้ค้างคืน สโมสรเยาวชน หรือหอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก ในขนาดที่เห็นได้ว่าจะก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่สถานที ่ด ังกล่าว 2) ไม่อยู ่ในย่านที ่ประชาชนอาศัยอยู ่ อันจะก่อความเด ือดร ้อนรำคาญแก่ประชาชนผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง 3) มีทางถ่ายเทอากาศสะดวกซึ ่งหากพิจารณาข้อกฎหมายดังกล่าวอย่างละเอียดจะพบว่าข้อกฎหมายมีเนื ้อหาไม่ชัดเจนต้องอาศัยการตีความ โดยเฉพาะในเนื้อความที่ว่า “ไม่อยู่ใกล้ชิดวัด สถานที่....ในขนาดที่เห็นได้ว่าจะก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่สถานที่ดังกล่าว”ซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่าขนาดเท่าใดจึงไม่เดือดร้อน ในกรณีสถานบริการ อาบ อบ นวด “เอไลน่า” หากพิจารณาเฉพาะประเด็นกายภาพ ก็ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนแก่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการโดยตรง แต่หากจะกล่าวถึงประเด็นด้านสังคม วัฒนธรรม จริยธรรม จึงจะเห็นภาพชัดเจนถึงความไม่เหมาะสม ประเด็นดังกล่าวอาจสะท้อนให้เห ็นถึงความล้มเหลวของข้อกฎหมายที่ย ังไม ่สมบูรณ์

รูปที่ 9 สภาพสถานบริการ “Club Route 999” หลังเหตุเพลิงไหม้

Page 12: Criteria for physical design and zoning

Journal of Architectural/Planning Research and Studies Volume 4. 2006Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University28

ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้เจ้าของสถานบริการใช้เป็นช่องทางหาผลประโยชน์ให้แก่ตัวเองโดยไม่ได้คำนึงความปลอดภัยของลูกค้าผู้มาใช้บริการ สภาพแวดล้อม ชุมชน และสังคม

ส่วนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมลักษณะทางกายภาพและสภาพแวดล้อมนั้นยังไม่มีข้อกฎหมายใช้ควบคุมอาคารสถานบริการโดยตรง กฎหมายส่วนใหญ่ที ่ใช้ควบคุมลักษณะทางกายภาพของอาคารสถานบริการจึงเป็นข้อกฎหมายควบคุมอาคารทั่ว ๆ ไป เช่น กฎกระทรวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2526 [5] กฎกระทรวง (ฉบับที่ 39) พ.ศ. 2537 [6] พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 [7] เป็นต้นชุดข้อกฎหมายดังกล่าวไม่ได้กล่าวถึงการควบคุมอาคารที ่มีการใช้งานเป็นสถานบริการแต่อย่างใด ทั ้งนี ้เนื ่องจากสถานบริการส่วนใหญ่มักจะใช้อาคารตึกแถวเป็นสถานที่ตั ้งจึงใช้ข้อกฎหมายที ่เกี ่ยวข้องกับการควบคุมอาคารประเภทตึกแถวเป็นส่วนใหญ่ ข้อกฎหมายดังกล่าวควรได้ร ับการศึกษาว่ามีความเหมาะสมมากเพียงพอหรือไม่ หากจะใช้ชุดข้อกฎหมายดังกล่าวในการควบคุมอาคารที่มีการใช้งานเป็นสถานบริการ ผู้วิจัยพบประเด็นทางกฎหมายที่ควรพิจารณาดังนี้

2.1 ความเหมาะสมของข ้อกฎหมายที ่เก ี ่ยวข้องกับเขตควบคุมสถานบริการเมื ่อพิจารณาในรายละเอียดแล้วพบข้อกฎหมาย

หลาย ๆ ข้อควรมีการปรับปรุงโดยเฉพาะในประเด็น 1)การกำหนดระยะห่างระหว่างเขตควบคุมสถานบริการกับสถานศ ึกษา และ 2) การกำหนดระยะห ่างระหว ่างเขตควบคุมสถานบริการกับสถานปฏิบัต ิพิธ ีกรรมทางศาสนาซึ่งถ้าพิจารณาถึงลักษณะทางกายภาพของเขตควบคุมสถานบริการทั้ง 3 โซน พบว่า เขตควบคุมสถานบริการโซนรัชดาภิเษกและโซนเพชรบุรีตัดใหม่มีความไม่เหมาะสม ปรากฏ-การณ์ดังกล่าวสามารถสะท้อนให้เห็นว่า การกำหนดขอบเขตของเขตควบคุมสถานบริการเป็นการกำหนดจากสถานบริการเดิมที ่มีอยู ่เป็นหลักโดยไม่ได้นำปัจจัยที ่สำคัญอื ่น ๆ มาพิจารณาร่วมด้วย เช่น สถานที ่สำคัญต่าง ๆ ภายในย่านแนวโน้มการขยายตัวของธุรกิจสถานบริการ เป็นต้น

2.2 ความเหมาะสมของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดวางอาคารสถานบรกิารในเขตควบคมุสถานบริการในประเด็นนีพ้บว่าสถาปนิกและนักผังเมืองมีความ

เห็นต่อภาพรวมของข้อกฎหมายที ่เกี ่ยวข้องกับการจัดวางอาคารในเขตควบคุมสถานบริการมีความเหมาะสมทุกประเด็น

2.3 ความเหมาะสมของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบอาคารและรายละเอ ียดเก ี ่ยวก ับองค ์ประกอบของอาคารสถานบรกิารเมื ่อพิจารณาถึงรายละเอียดแล้วพบข้อกฎหมาย

หลายประเด ็นมีความเหมาะสมอยู ่ในเกณฑ์ท ี ่ควรได ้ร ับการพิจารณาเพื่อปรับปรุง โดยเฉพาะประเด็นดังต่อไปนี้

1) ข้อกฎหมายที ่เก ี ่ยวกับการกำหนดแนวระยะของส่วนประกอบต่าง ๆ ของอาคารสถานบริการ โดยเฉพาะประเด็น 1) การกำหนดความกว้างจากผนังด้านหนึ ่งไปยังผนังอีกด้านหนึ่งไม่น้อยกว่า 4 เมตร และ 2) การกำหนดความลึกจากหน้าร้านไปจนถึงสุดร้านไม่น้อยกว่า 4 เมตรแต่ไม่เก ิน 24 เมตร เมื ่อพิจารณาถึงลักษณะกายภาพของอาคารสถานบร ิการและการใช ้งานพบว ่าการกำหนดความกว้างและความลึกขั ้นต่ำดังข้อกฎหมายดังกล่าวนั ้นไม่สอดคล้องกับการใช้งานจริง ทั้งนี ้เนื ่องจากเมื ่อกิจกรรมภายในอาคารสถานบริการนั ้นต้องการพื ้นที ่ขนาดใหญ่เพื ่อรองรับจำนวนผู้ที่เข้ามาใช้บริการเป็นจำนวนมาก (รูปที่ 10)

จากการวิเคราะห์ข้อกฎหมายที ่เกี ่ยวข้องกับการกำหนดแนวระยะของส่วนประกอบต่าง ๆ ของอาคารสถานบริการโดยละเอียดแล้วจะพบว่าข้อกฎหมายดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที ่ใช้ร ่วมกับอาคารตึกแถว การแก้ไขปรับปรุงข้อกฎหมายจึงต้องทำการศึกษาอย่างรอบคอบ เนื ่องจากข้อกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้กับอาคารตึกแถวเป็นหลักพิจารณาได้จากกฎกระทรวง (ฉบับที่ 55) พ.ศ. 2546 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 [8] ข้อ 2“ห้องแถวหรือตึกแถวแต่ละคูหา ต้องมีความกว้างโดยวัดระยะตั ้งฉากจากแนวศูนย์กลางของเสาด้านหนึ ่งไปยังแนวศูนย์กลางของเสาอีกด้านหนึ่งไม่น้อยกว่า 4 เมตร มีความลึกของอาคารโดยวัดตั ้งฉากกับแนวผนังชั ้นล่างไม่น้อยกว่า4 เมตร และไม่เกิน 24 เมตร”

2) ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดระบบการป้องกันอัคคีภัยของอาคารสถานบริการที่เป็นตึกแถว พบว่ามีประเด็นที่ยังไม่เหมาะสมโดยเฉพาะในเรื่องการกำหนดให้สถานบริการที่เป็นตึกแถวที่มีจำนวนชั้นไม่เกิน 4 ชั้น หรือสูงไม่เกิน 15เมตร บันไดหนีไฟสามารถอยู ่ในแนวดิ ่งได้ บันไดหนีไฟในแนวดิ่งต้องมีชานพักบันไดทุกชั้น และชานพักบันไดต้องมีความกว้างอย่างน้อย 60 เซนติเมตร และบันไดหนีไฟในแนวดิ ่ง ต้องมีระยะห่างของขั ้นบันไดแต่ละขั ้นไม่เกิน 40เซนติเมตร หากพิจารณาถึงการใช ้งานจร ิงเม ื ่อเก ิดเหตุ

Page 13: Criteria for physical design and zoning

Criteria for Physical Design and Zoning of Entertainment Business District: Guidelines for Architecture Design and Legislative AmendmentSamustpon Tanapant 29

เพลิงไหม้ บันไดแนวดิ่งย่อมไม่สามารถระบายผู้คนจำนวนมากที่เข้าไปชุมนุมในสถานบริการได้ทัน (รูปที่ 11) อีกทั้งด้วยวัสดุที่ใช้ทำบันไดแนวดิ่งเป็นโลหะ ซึ่งเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้จะทำให้บันไดเกิดความร้อนจนไม่สามารถใช้งานได้

จากการวิเคราะห์ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบการป้องกันอัคคีภัยของอาคารสถานบริการที ่เป็นตึกแถวข้างต้นนำมาสู ่การพิจารณาถึงแนวทางการในการแก้ไขปรับปรุง ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื ่อง ควบคุมอาคารพ.ศ. 2544 ข้อ 43 [9] “ตึกแถวหรือบ้านแถวที่มีจำนวนชั้นไม่เกิน 4 ชั้น หรือสูงไม่เกิน 15 เมตรจากระดับถนน บันไดหนีไฟจะอยู ่ในแนวดิ ่งก็ได้ แต่ต้องมีชานพักบันไดทุกชั ้นโดยมีความกว้างไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร ระยะห่างของบันไดแต่ละขั ้นไม่มากกว่า 40 เซนติเมตร และติดตั ้งในส่วนที ่ว ่างทางเดินด้านหลังอาคารได้ บันไดขั ้นสุดท้ายอยู ่สูงจากระดับพื้นดินได้ไม่เกิน 3.50 เมตร”

3) ข้อกฎหมายที ่ เก ี ่ยวกับการจ ัดที ่จอดรถของอาคารสถานบริการ พบว่าควรมีการพิจารณาปรับปรุงการกำหนดให้อาคารสถานบริการที ่มีพื ้นที ่ใช้สอยรวมมากกว่า300 ตารางเมตรต้องจัดให้มีท ี ่จอดรถ และสถานบริการต้องจัดให้มีที่จอดรถ 1 คันในทุก 60 ตารางเมตรของพื้นที่ใช้สอยรวมทั้งหมด หากพิจารณาลักษณะทางกายภาพและการใช้งานจริงจะพบว่า สถานบริการที ่มีขนาดตั ้งแต่ 300ตารางเมตรข ึ ้นไปนั ้นเป ็นที ่ช ุมน ุมของนักท่องเท ี ่ยวเป ็นจำนวนมาก ความต้องการพื้นที่จอดรถจึงมีมากตาม จึงควรมีการพิจารณาจำนวนที ่จอดรถจากจำนวนผู ้ใช ้งาน มิใช ่พิจารณาจากจำนวนพื้นที่ใช้สอย

จากการวิเคราะห์ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดที่จอดรถของอาคารสถานบริการข้างต้นนำมาสู ่การพิจารณาถึงแนวทางการในการแก้ไขปรับปรุง ข้อบัญญัติกรุงเทพ-

รูปที่ 10 ความหนาแน่นของนักท่องเที ่ยวภายในสถานบริการย่านเพชรบุรีตัดใหม่

รูปที่ 11 ลักษณะของบันไดหนีไฟแนวดิ่ง

มหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 ข้อ 83 ความว่า“อาคารตามประเภทดังต่อไปนี ้ ต้องมีที ่จอดรถ ที ่กลับรถและทางเข้าออกของรถ คือ สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ที่มีพื้นที่ใช้สอยรวมกันตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป” และข้อที่ 84 “อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารหลังเดียวกันหลังเดียวหรือหลายหลังที ่เป็นอาคารประเภทที่ต้องมีที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถตามข้อที่83 ต้องจัดให้ม ีท ี ่จอดรถตามจำนวนที ่กำหนดของแต่ละประเภทของอาคารที่ใช้เพื่อการนั้น ๆ ดังต่อไปนี้ สถานบริการต้องจัดให้มีที่จอดรถ 1 คัน ต่อพื้นที่อาคาร 60 ตารางเมตร”

4) ข้อกฎหมายที่เกี ่ยวกับระบบสุขอนามัยภายในอาคารสถานบริการ พบว่า 1) การกำหนดจำนวนที่ปัสสาวะชาย 1 ชุดต่อพื้นที่ใช้สอยรวม 200 ตารางเมตร 2) การกำหนดจำนวนห้องส ้วมชายและห ้องส ้วมหญิงต ้องม ีอย ่างน ้อยอย่างละ 1 ห้องต่อพื้นที่ใช้สอยรวม 200 ตารางเมตร และ3) จำนวนอ่างล้างมือชายและอ่างล้างมือหญิงต้องมีอย่างน้อยอย่างละ 1 ชุดต่อพื้นที ่ใช้สอยรวม 200 ตารางเมตร หากพิจารณาลักษณะทางกายภาพและการใช้งานจริง จะพบว่าอาคารสถานบริการเป็นอาคารที่มีการใช้งานห้องน้ำ ห้องส้วมมากกว่าปกติ ดังนั้น การกำหนดจำนวนระบบสุขอนามัยจึงควรกำหนดจากจำนวนผู้ใช้งานเป็นหลัก

จากการวิเคราะห์ข้อกฎหมายที่เกี ่ยวข้องกับระบบสุขอนามัยภายในสถานบริการข้างต้นนำมาสู่การพิจารณาถึงแนวทางการในการแก้ไขปรับปรุง ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 และกฎกระทรวงฉบับที่ 39(พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 [12]

Page 14: Criteria for physical design and zoning

Journal of Architectural/Planning Research and Studies Volume 4. 2006Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University30

3. แนวทางในการออกแบบและการปร ับปรุงกฎหมายที ่เกี ่ยวข้องกับเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการ

เขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการเป็นประเด็นที่มีความสัมพันธ์ทั ้งในเชิงกายภาพและข้อกฎหมายการจัดระเบียบเขตควบคุมสถานบริการโดยการบังคับใช้ข้อกฎหมายหรือมุ่งแก้ไขทางกายภาพแต่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งไม่อาจสร้างความเป็นระเบียบได้อย่างสมบูรณ์ต้องมีการปรับปรุงทั ้งตัวกฎหมายและลักษณะทางกายภาพของเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการควบคู่กันไปทั้ง 2ประเด็นจึงสามารถสร้างความมีระเบียบให้แก่เขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพดังนั ้นเกณฑ์การออกแบบลักษณะทางกายภาพและการจัดระเบียบเขตควบคุมสถานบริการจึงประกอบไปด้วยประเด็นสำคัญ 2 ประเด็น คือ 1) แนวทางในการจัดระเบียบทางกายภาพเขตควบคุมสถานบริการและการออกแบบอาคารสถานบริการ และ 2) แนวทางในการแก้ไขข้อกฎหมายที ่เกี่ยวข้องกับเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการ

3.1 แนวทางในการจัดระเบียบทางกายภาพเขตควบคุมสถานบริการและการออกแบบอาคารสถานบริการจากสาระสำคัญที่ได้จากการวิจัยในประเด็นความ

เหมาะสมของเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการทั้ง 3 โซน ทั้งทางด้านกายภาพและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องรวมถึงการนำข้อมูลที่ได้จากสถิติมาพิจารณาร่วม สามารถสรุปแนวทางในการจ ัดระเบียบทางกายภาพเขตควบคุมสถานบริการและการออกแบบอาคารสถานบริการได้ 7 ประเด็นประกอบด้วย

1) การจัดวางอาคารสถานบริการ โดยเฉพาะในประเด็นของระยะที่ว่างด้านหน้าและด้านหลัง จากการศึกษากายภาพของพื ้นที ่พบว่า ระยะที ่ว ่างด้านหน้าและด้านหลังมีความสัมพันธ์กับประเด็นอื ่น ๆ เช่น ที่จอดรถรับส่งของและระบบป้องกันอัคคีภัย ดังที ่จะเห็นได้ชัดจากการจัดวางอาคารสถานบริการในโซนพัฒน์พงษ์ที ่อาคารสถานบริการ

มีการต่อเติมดัดแปลงใช้งานพื ้นที ่ว ่างทั ้งบริเวณด้านหน้าและบริเวณด้านหลังซึ ่งจากการดัดแปลงหน้าที ่การใช้งานดังกล่าวส่งผลให้ประสิทธิภาพของระบบป้องกันอัคคีภัยลดลง เนื ่องจากเดิมพื ้นที ่ว ่างบริเวณด้านหลังของอาคารสถานบริการมีทางออกฉุกเฉินแต่เมื ่อมีการต่อเติมเพื ่อเพิ ่มเติมพื้นที ่ใช้งานจึงทำให้เหลือทางเข้าออกทางด้านหน้าเพียงทางเดียว

2) สัดส่วนของพื้นที่ใช้งาน โดยเฉพาะการกำหนดความกว้าง ความลึก และส่วนสูงของห้องให้เหมาะสมกับการใช้งาน จากการพิจารณาค่าเฉลี ่ยและค่าความสัมพันธ์พบว่า สัดส่วนของพื้นที่ใช้งานมีความสัมพันธ์กับการออกแบบในส่วนอื่น ๆ โดยเฉพาะ เส้นทางหนีไฟ บันไดหนีไฟ และระบบสุขอนามัย โดยที ่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนในกรณีของอาคารสถานบริการในย่านพัฒน์พงษ์ซ ึ ่งดัดแปลงจากอาคารตึกแถวเดิม จึงทำให้สัดส่วนการใช้งานพื้นที่ไม่สัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู ้ใช้ เช่น ห้องน้ำ ห้องส้วม การระบายอากาศ ไม่พอเพียงต่อการใช ้งาน ในขณะที่อาคารสถานบริการในเขตควบคุมสถานบริการโซนรัชดาภิเษก และเพชร-บุรีตัดใหม่ (รอยัลซิตี้ อเวนิว) พบปัญหาดังกล่าวน้อยกว่า

3) ป้ายโฆษณา หากกล่าวถึงองค์ประกอบสำคัญที ่เพิ ่มเติมสีสันชีว ิตชีวาและเอกลักษณ์ให้แก่เขตควบคุมสถานบริการ ป้ายโฆษณาคือองค์ประกอบนั้น การออกแบบป้ายโฆษณาภายในเขตควบคุมสถานบริการให้มีความพอดีไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไปทั้งในเรื่องขนาดและรูปลักษณ์ป ้ายโฆษณาที่เหมาะสมเป ็นตัวแปรสำค ัญที ่จะช ่วยสร ้างความมีชีวิตชีวาให้แก่ย่านได้เป็นอย่างดี ซึ ่งสอดคล้องกับแนวความคิดในเรื่องการควบคุมป้ายของ สิทธิพร ภิรมย์รื่น[13] โดยสามารถสรุปได้ว่า การควบคุมป้ายในปัจจุบันนั้นเป็นการป้องกันไม่ให้สร้างความรุงรังอันเป็นต้นเหตุที ่ก่อให้เกิดความอุจาดตาหรือ “ทัศนอุจาด” ข้อบัญญัติป้ายที่ควบคุมอย่างเข้มงวดเกินไปอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ทำให้บางย่านเสีย

รูปที่ 12 การจัดวางอาคารสถานบริการและที่จอดรถในเขตควบคุมสถานบริการรัชดาภิเษก ซอยที่ 4

Page 15: Criteria for physical design and zoning

Criteria for Physical Design and Zoning of Entertainment Business District: Guidelines for Architecture Design and Legislative AmendmentSamustpon Tanapant 31

ความเป็นเอกลักษณ์ การควบคุมป้ายให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอดีป ้ายสามารถช ่วยเพ ิ ่มเอกลักษณ์บรรยากาศ และสภาพแวดล้อมเฉพาะของย่านนั้น ๆ ได้อีกด้วย

4) ระบบป้องกันอัคคีภัย จากการพิจารณาค่าเฉลี่ยและค่าความสัมพันธ ์ของพื ้นท ี ่ศ ึกษาทั ้ง 3 พื ้นที ่พบว ่าอาคารสถานบริการส่วนใหญ่ ไม่ปลอดภัย และเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตจากอัคคีภัย โดยเฉพาะเขตควบคุมสถานบริการย่านพัฒน์พงษ์ อาคารสถานบริการส่วนใหญ่ดัดแปลงจากอาคารที ่ เป ็นตึกแถวซึ ่งเด ิมไม่ม ีการติดตั ้งระบบป้องกันอัคคีภัยอยู่แล้ว ถึงแม้อาคารสถานบริการหลาย ๆ อาคารจะเป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับการใช้งานกิจกรรมจากสถานบริการโดยเฉพาะ แต่ยังขาดการตระหนักถึงระบบป้องกันอัคคีภัย ทั้งนี ้เนื ่องจากผู้ประกอบการไม่เข้าใจปัญหา ดังที่เกชา ธีระโกเมน [14] ได้สรุปไว้ว่าเพราะเรื ่องของอัคคีภัยเป็นเรื ่องที ่เกี ่ยวข้องกับเทคนิคและการก่อสร้าง เป็นเรื ่องที ่ผู ้ประกอบการต้องเสียสละ ต้องเสียเงิน และไม่ได้สร้างรายได้โดยตรงที ่เห็นได้ชัดเจน ดังนั ้น ความปลอดภัยจึงเป็นประเด็นท้าย ๆ ที่ผู้ประกอบการจะคำนึงถึงเสมอ

5) พื ้นที ่จอดรถ จากการพิจารณากายภาพของพื้นที่พบว่า พื้นที่จอดรถมีความสำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวเพราะส่วนใหญ่นักท่องเที ่ยวท้องถิ ่นเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ดังนั้น จึงต้องมีการจัดเตรียมพื้นที่จอดรถให้สอดคล้องกับสัดส่วนและพฤติกรรมของผู ้ใช้งานเป็นหลัก โดยจะพิจารณาได้จากเขตควบคุมสถานบริการโซนรัชดาภิเษกและเพชรบุรีตัดใหม่ (รอยัลซิตี ้ อเวนิว) ซึ่งมีการจัดที่จอดรถสอดคล้องกับจำนวนผู ้ใช้งานตรงกับที ่ Gardiner [15]ได้กล่าวไว้ว่าการจัดย่านธุรกิจเช่นนี้ ต้องมีการวางแผนโดยคำนึงถึงสถานที่จอดรถ การรักษาความปลอดภัย ขนาดของถนน การจัดการจราจร ตลอดจนบริการสาธารณะต่าง ๆ ให้สามารถรองรับความต้องการของผู้ใช้งาน นอกจากนี้ สถาปนิกผู ้ออกแบบควรพิจารณาเพิ ่มเติมในประเด็นที ่จอดรถสินค้าและที่ขนถ่ายสินค้าให้เป็นระบบระเบียบ (รูปที่ 12)

6) ระบบสุขอนามัย จากการวิจ ัยพบว่า อาคารสถานบริการเป็นที ่ชุมนุมของนักท่องเที ่ยวจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเขตควบคุมสถานบริการย่านเพชรบุรีตัดใหม่(รอยัลซิตี้ อเวนิว) และรัชดาภิเษกต่างมีนักท่องเที่ยวใช้บริการต่อคืนเป็นจำนวนมาก จึงต้องมีระบบสุขอนามัยที่มีสัดส่วนตอบรับกับพฤติกรรม และจำนวนผู้ใช้งาน

3.2 แนวทางการปรับปรุงกฎหมายที่เกี ่ยวข้องกับเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการจากสาระสำคัญที่ได้จากการวิจัยในประเด็นความ

เหมาะสมของเขตควบค ุมสถานบร ิการและอาคารสถานบริการทั ้ง 3 โซน ทั ้งทางด้านกายภาพและข้อกฎหมายที ่เกี ่ยวข้องรวมถึงการนำข้อมูลที ่ได้จากสถิติมาร่วมพิจารณาสามารถสรุปแนวทางการปรับปรุงกฎหมายที ่เกี ่ยวข้องกับเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการได้ 4 ประเด็นประกอบด้วย

1) ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาตำแหน่งและขอบเขตของเขตควบคุมสถานบริการ พบว่ามีประเด็นสำคัญที ่ต ้องพิจารณาเพื ่อแก้ไข โดยเฉพาะประเด ็นการกำหนดขนาดและขอบเขตของเขตควบคุมสถานบริการ ซึ ่งจากบทสรุปของการศึกษาเขตควบคุมสถานบริการทั้ง 3 โซนสะท้อนให้เห็นว่า ควรมีการพิจารณาเพื่อทำการแก้ไข “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที ่การอนุญาตให้ตั ้งสถานบริการในท้องที่กรุงเทพมหานคร” โดยเฉพาะเขตควบคุมสถานบริการโซนรัชดาภิเษก ทั้งนี้เนื่องจากผู้ที่มีส่วนในการออกกฎหมายขาดการศึกษา และความรู้ความเข้าใจในสังคมและสภาพบริบทของพื ้นที ่ การกำหนดขนาดและขอบเขตของเขตควบคุมสถานบริการจึงต้องมีการศึกษาสภาพบริบท และให้ผู ้ท ี ่มีความคุ้นเคยกับพื้นที่มีส่วนร่วมในการปรับปรุงข้อกฎหมายดังที่ สิทธิพร ภิรมย์รื่น [16] สรุปถึงกระบวนการการวางแผนและจัดทำผังเมืองว่ากระบวนการดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการโดยใครคนใดคนหนึ่งหรือหลายคนตามลำพัง เนื่องจากการวางผังเมืองเป็นกระบวนการร่วม (collective process)ซึ ่งแต่ละคนมีระดับความเข้าใจและการมีส่วนร่วมแตกต่างกัน นอกจากนี ้ในการปรับแก้ไขข้อกฎหมายที ่เกี ่ยวกับการกำหนดขนาดและขอบเขตของเขตกำหนดพื้นที ่ตั ้งของสถานบริการต้องมีการปรับแก้แบบค่อยเป็นค่อยไปดังที่ Trancik R.[17] กล่าวถึง ทฤษฎีการสร้างสถานที ่ สรุปถึงการพัฒนารูปทรงของเมืองว่าควรดำเนินการแบบค่อยเป็นไป ไม่ปรับแก้ขนาด และขอบเขตของเขตควบคุมสถานบริการให้เสร ็จสมบูรณ์ในคราวเดียว เพราะการกำหนดเขตควบคุมสถานบริการเป็นงานที่ละเอียดอ่อนและมีผลกระทบต่อประชาชนหลายกลุ่มจึงต้องมีการปรับแก้ให้ขนาดของเขตควบคุมสถานบริการสามารถตอบสนองพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากที่สุด

Page 16: Criteria for physical design and zoning

Journal of Architectural/Planning Research and Studies Volume 4. 2006Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University32

2) ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดระบบการป้องกันอัคคีภัยของอาคารสถานบริการที่เป็นตึกแถว พบว่ามีประเด็นสำคัญที ่ต้องพิจารณาเพื ่อแก้ไข โดยเฉพาะประเด็นการใช้บันไดหนีไฟแนวดิ่ง เนื่องจากอาคารสถานบริการเป็นสถานที่ที่มีการชุมนุมของผู้คนเป็นจำนวนมาก หากพิจารณาถึงการใช้งานจริงเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ บันไดแนวดิ่งย่อมไม่สามารถขนถ่ายผู้คนจำนวนมากที่เข้าไปชุมชุมในสถานบริการได้ทันอีกทั ้งด้วยวัสดุที ่ใช้ทำบันไดแนวดิ ่งเป็นโลหะ ซึ ่งเมื ่อเกิดเหตุเพลิงไหม้จะทำให้บ ันไดเกิดความร้อนจนไม่สามารถใช้งานได้ จึงควรพิจารณาปรับแก้ข ้อกฎหมายที ่เก ี ่ยวกับการจัดระบบการป้องกันอัคคีภ ัยของอาคารสถานบริการอย่างเร่งด่วน

3) ข้อกฎหมายที ่ เก ี ่ยวก ับการจ ัดพื ้นท ี ่จอดรถของอาคารสถานบริการ พบว่า 1) การกำหนดให้อาคารสถานบริการที่มีพื ้นที ่ใช้สอยรวมมากกว่า 300 ตารางเมตร ต้องจัดให้มีพื ้นที ่จอดรถ และ 2) อาคารสถานบริการต้องจัดให้มีที่จอดรถ 1 คันในทุก 60 ตารางเมตร ของพื้นที่ใช้สอยรวมทั้งหมด เมื่อพิจารณาข้อกฎหมายดังกล่าวอย่างละเอียดร่วมกับลักษณะทางกายภาพของพื ้นที ่ศ ึกษาทั ้ง 3 พื ้นที ่พบว่าในสภาพการณ์จริงสถานบริการส่วนน้อยเท่านั ้นที ่มีขนาดพื้นที่ใช้สอยรวมถึง 300 ตารางเมตร ซึ่งสถานบริการเป็นสถานที่ที่ต้องการพื้นที่จอดรถเป็นจำนวนมาก การกำหนดข้อกฎหมายดังกล่าวจ ึงไม ่สอดคล้องกับจำนวนผู ้ใช ้งานอาคารสถานบริการปัจจุบัน จึงควรมีการปรับแก้ให้ที่จอดรถมีความสอดคล้องกับการใช้งานมากยิ่งขึ้น

4) ข้อกฎหมายที่เกี ่ยวกับระบบสุขอนามัยภายในอาคารสถานบริการ พบว่าการกำหนดจำนวนที่ปัสสาวะชาย1 ชุด ต่อพื ้นที ่ใช้สอยรวม 200 ตารางเมตร การกำหนดจำนวนห้องส ้วมชายและห ้องส ้วมหญิงต ้องม ีอย ่างน ้อยอย่างละ 1 ห้อง ต่อพื ้นที ่ใช ้สอยรวม 200 ตารางเมตรและจำนวนอ่างล้างมือชายและอ่างล้างมือหญิงต้องมีอย่างน้อยอย่างละ 1 ชุด ต่อพื้นที่ใช้สอยรวม 200 ตารางเมตรจากสภาพการณ์จริง สถานบริการเป็นที ่ช ุมนุมของคนเป็นจำนวนมาก สัดส่วนการใช้ระบบสุขอนามัยจึงต้องมีมากกว่าธรรมดา มีสถานบริการเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีขนาดพื้นที่ใช้สอยรวมถึง 200 ตารางเมตร ดังนั้น จึงควรมีการปรับแก้ให้เพิ ่มจำนวนห้องน้ำห้องส้วมให้ตอบรับกับการใช้งานจริงโดยกำหนดจากจำนวนห้องน้ำห้องส้วมจากจำนวนผู ้ใช้งานมิใช่กำหนดจากพื ้นที ่ จากกรณีของสถานบริการบางแห่งแม้จะมีพื ้นที ่ขนาดไม่ใหญ่มากนักแต่เมื ่อมีการเปิดใช้งานกลับมีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการเป็นจำนวนมากทำให้จำนวนห้องน้ำห้องส้วมไม่เพียงพอต่อการใช้งาน

บทสรุปและข้อเสนอแนะ

จากการพิจารณาสาระสำคัญทั ้งประเด็นทางด้านกายภาพและข้อกฎหมายที่เกี ่ยวข้องร่วมกับข้อมูลทางสถิติสามารถสรุปได้ว ่าข ้อกฎหมายและข้อบัญญัติท ี ่ใช ้ในเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการหลายประเด็นไม่มีความเหมาะสม เนื่องจากการใช้ข้อกฎหมายที่เกี ่ยวข้องหลายประเด็นยังไม่สมบูรณ์และยังขาดข้อกฎหมายสำหรับเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการอย่างแท้จริงข้อกฎหมายที่นำมาใช้กับเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการจ ึงเป ็นลักษณะของการหยิบยืมข้อกฎหมายควบคุมอาคารอื ่นมาใช้ เช ่น ข้อกฎหมายควบคุมอาคารตึกแถว บ้านแถว จึงทำให้ข้อกฎหมายหลาย ๆ ประเด็นไม่มีความสัมพันธ์กับลักษณะทางกายภาพของเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการ นอกจากนี ้ จากการศึกษายังพบอีกว่า ข้อกฎหมายที ่เกี ่ยวข้องกับสถานบริการที ่ม ีอยู ่น ั ้นมีลักษณะกระจัดกระจายมิได้มีการรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ ดังที ่ วทัญญู ณ ถลาง [18] ได้เสนอไว้ว่าแนวทางการปรับแก้ข้อกฎหมายโดยการรวบรวมข้อกำหนดด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอาคารไว้ในเทศบัญญัติเล่มเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านความปลอดภัย ความมั่นคงแข็งแรง การป้องกันอัคคีภัย การอนามัย การสุขาภิบาลการสถาปัตยกรรม และการผังเมือง นอกจากนี้ควรมีการจัดบทที่ หมวดหมู่ หัวข้อ เตรียมไว้สำหรับการเพิ่มเติม และการเปลี ่ยนแปลงในอนาคตได้สะดวก ผู ้ว ิจ ัยจึงเสนอให้มีการรวบรวมข้อกฎหมายที ่เกี ่ยวข้องและแก้ไขข้อกฎหมายที่ยังไม่เหมาะสม รวมทั้งเพิ่มเติมข้อกฎหมายที่ยังขาด เพื่อบัญญัติเพิ ่มเติมลงไปในกฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในพระราชบัญญัติสถานบริการ (กระทรวงมหาดไทย)

สำหรับการศึกษาวิจัยในวาระนี ้สาระสำคัญที่ได้เป็นการเปิดประเด็นในเชิงกว้าง เพื่อตั้งคำถามต่อความเหมาะสมของแนวทางการจ ัดระเบ ียบสังคมของร ัฐบาลในประเด ็นของเขตควบคุมสถานบริการถึงแนวทางที ่ม ุ ่งเน ้นการจัดระเบ ียบทางกายภาพ โดยการควบคุมพื ้นท ี ่ เขตควบคุมสถานบริการแต่เพียงอย่างเดียวโดยที ่ไม่คำนึงถึงประเด็นสำคัญอื ่น ๆ ดังที ่ผู ้ว ิจ ัยได้กล่าวไว้ในบทความตั ้งแต่ต้นเนื่องด้วยระยะเวลาในการวิจัยอันสั้นและจำกัด จึงทำให้ทั ้งแนวทางในการจ ัดระเบียบทางกายภาพเขตควบคุมสถาน

Page 17: Criteria for physical design and zoning

Criteria for Physical Design and Zoning of Entertainment Business District: Guidelines for Architecture Design and Legislative AmendmentSamustpon Tanapant 33

บริการและอาคารสถานบริการและแนวทางในการแก้ไขข้อกฎหมายที่เกี ่ยวข้องกับเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการ ไม่สามารถสรุปออกมาเป็นประเด็นเฉพาะได้ท ั ้งน ี ้ เน ื ่องจากทั ้งประเด ็นแนวทางในการจ ัดระเบ ียบทางกายภาพเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการและแนวทางในการแก้ไขข้อกฎหมายที่เกี ่ยวข้องกับเขตควบคุมสถานบริการและอาคารสถานบริการเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนขึ้นอยู่กับสภาพบริบท กฎหมายหลายฉบับมีความเหมาะสมกับสภาพบริบทแบบหนึ ่งแต่ไม่มีความเหมาะสมกับสภาพบริบทอีกแบบหนึ่ง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเจาะลึกเป็นประเด็นไป ซึ ่งผู ้ว ิจัยคาดว่าจะมีการศึกษาต่อในวาระโอกาสต่อไป

Page 18: Criteria for physical design and zoning

Journal of Architectural/Planning Research and Studies Volume 4. 2006Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University34

รายการอ้างอิง (References)

[1] บริหาร เสี่ยงอารมณ์. (2543). การจัดเขตควบคุมแหล่งอบายมุขกับประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย. เอกสารวิจัยส่วนบุคคลของนักศึกษา ปรอ. รุ่นที่ 14.

[2] เพ็ญศรี ฉันทรวรางค์. (2529). แนวทางการเปลี่ยนแปลงของตึกแถวในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาการสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย, 75-79.

[3] เกชา ธีระโกเมน. (2542). การปรับปรุงอาคารเพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากอัคคีภัย. http://www.se-ed.net/winyou/article04/firep.htm

[4] กฎกระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2525 ออกตามความในพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509. [5] กฎกระทรวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2526 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522. [6] กฎกระทรวง (ฉบับที่ 39) พ.ศ. 2537 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522. [7] พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543. [8] กฎกระทรวง (ฉบับที่ 55) พ.ศ. 2546 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522. [9] ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 ข้อ 43.[10] ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 ข้อ 83.[11] ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544.[12] ดูอ้างอิง 6.[13] สิทธิพร ภิรมย์รื่น. (2543). กฎหมายและการบริหารผังเมืองของท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรม-

ศาสตร์, 31 และ 159.[14] เกชา ธีระโกเมน. (2542). สถาปัตยกรรมกับการป้องกันอัคคีภัย. http://www.se-ed.net/winyou/article04/fireb.htm[15] Gardiner, J. (1975). Crime and Criminal Justice: issues in public policy analysis. New York: Lexington, 30.[16] ดูอ้างอิง 13.[17] Trancik, R. (1981). Finding Lost Space: Theories of Urban Design. New York: Van Nostrand Reinhold, 3-4.[18] วทัญญู ณ ถลาง. (2510). “การปรับปรุงเทศบัญญัติการก่อสร้าง”. อาษา.

ท่ีมาของรปูประกอบ (Figure Credits)

รูปท่ี 1 พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่การอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่กรุงเทพมหานคร, 2545.รูปที่ 3 สบถ!! “ศรีธนญชัย” ฝันร้าย...เอไลน่า www.manager.co.th, 2548.รูปที่ 8 รูธซิกส์ตี้ซิกส์ www.route66club.com, 2548.รูปที่ 9 รูธซิกส์ตี้ซิกส์ www.route66club.com, 2548.