นานา - rtni.org นานาสาระ.pdf · (pyotr schurovsky) นักดนตรี...

2
นาวิกศาสตร์ ปีท่ ๙๕ เล่มที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๕ นานาสาระ อลัมนประจำ พลเร�อโท ทว�วุฒิ พงพ�พัฒน [email protected] เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้มี การแต่งเพลงสรรเสริญพระบารมีขึ้น โดยในครั้งแรก เพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรงของสมเด็จพระบรม โอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร และได้ใช้เป็นเพลงชาติ ระหว่าง พ.ศ.๒๔๓๑ - ๒๔๗๕ ด้วย โดยมีผู้แต่งเพลงสรรเสริญพระบารมีถวาย หลายเพลง ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้โปรดเพลงที่ สมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศทรงนิพนธ์คำร้อง และนายปโยตร์ ชูรอฟสกี(Pyotr Schurovsky) นักดนตรี นักแต่งเพลงชาวรัสเซีย ได้ประพันธ์ทำนองถวาย โดยมีเนื้อร้อง ดังนี“ ข้าวรพุทธเจ้า เอามโนและศิระกราน นบพระภูมิบาล บุญดิเรก เอกบรมจักริน พระสยามินทร์ พระยศยิ่งยง เย็นศิระเพราะพระบริบาล ผลพระคุณ ธ รักษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์ ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดัง หวังวรหฤทัย ดุจถวายไชย ฉะนีต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้แก้ไข ช่วงท้ายของเพลงสรรเสริญพระบารมี จาก “ดุจ ถวายไชย ฉะนีเป็น ดุจถวายไชย ชโยและยังใช้ กันมาอยู่จนถึงปัจจุบันนีสำหรับประวัติขององค์ผู้ประพันธ์เนื้อร้อง ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นก็คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเป็น พระราชโอรสองค์ที่ ๖๒ ของพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลทีและ พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย ทรงพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าจิตรเจริญ ประสูติเมื่อ วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๐๖ เมื่อพระชันษา ได้ ๕ ปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาก็เสด็จสวรรคต จึงทรงเจริญพระชนมายุ มาในพระราชอุปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นพระเชษฐา (ต่างพระมารดา) โดยทรงมีชันษาอ่อนกว่าพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ราว ๑๐ ปี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา นริศรานุวัดติวงศทรงมีพระปรีชาสามารถในการช่าง ใครแต่งเพลงสรรเสริญพระบารมี สมเด็จพระเจาบรมวงศ์เธอ เจาฟากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ๐66

Upload: others

Post on 27-Jul-2020

4 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: นานา - rtni.org นานาสาระ.pdf · (Pyotr Schurovsky) นักดนตรี นักแต่งเพลงชาวรัสเซีย ได้ประพันธ์ทำนองถวาย

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๕ เล่มที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๕

นานาสาระคอลัมน�ประจำ

พลเร�อโท ทว�วุฒิ พงพ�พัฒน�[email protected]

  เมื่อปี  พ.ศ.  ๒๔๓๑  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงโปรดเกล้า  ฯ  ให้มี การแต่งเพลงสรรเสริญพระบารมีขึ้น  โดยในครั้งแรก เพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรงของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร และได้ใช้เป็นเพลงชาติ  ระหว่าง พ.ศ.๒๔๓๑ - ๒๔๗๕ ด้วย  โดยมีผู้แต่งเพลงสรรเสริญพระบารมีถวาย หลายเพลง  ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  ๕  ได้โปรดเพลงที่  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนิพนธ์คำร้อง  และนายปโยตร์  ชูรอฟสกี้  (Pyotr Schurovsky) นักดนตรี นักแต่งเพลงชาวรัสเซีย ได้ประพันธ์ทำนองถวาย โดยมีเนื้อร้อง ดังนี้   “ ข้าวรพุทธเจ้า     เอามโนและศิระกราน นบพระภูมิบาล         บุญดิเรก เอกบรมจักริน         พระสยามินทร์ พระยศยิ่งยง    เย็นศิระเพราะพระบริบาล ผลพระคุณ ธ รักษา  ปวงประชาเป็นสุขศานต์ ขอบันดาล    ธ ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดัง    หวังวรหฤทัย ดุจถวายไชย    ฉะนี้ ”   ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  ๖  ได้โปรดเกล้า  ฯ  ให้แก้ไข ช่วงท้ายของเพลงสรรเสริญพระบารมี  จาก  “ดุจถวายไชย ฉะนี้” เป็น “ดุจถวายไชย ชโย” และยังใช้กันมาอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ 

  สำหรับประวัติขององค์ผู้ประพันธ์ เนื้อร้อง ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นก็คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ทรงเป็น พระราชโอรสองค์ที่  ๖๒  ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  ๔  และ พระสัมพันธวงศ์ เธอ  พระองค์ เจ้าพรรณราย  ทรงพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าจิตรเจริญ ประสูติเมื่อวันที่  ๒๘  เมษายน  พ.ศ.๒๔๐๖  เมื่อพระชันษา ได้  ๕  ปี  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาก็เสด็จสวรรคต จึงทรงเจริญพระชนมายุมาในพระราชอุปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่  ๕  ซึ่งเป็นพระเชษฐา (ต่างพระมารดา)  โดยทรงมีชันษาอ่อนกว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ราว  ๑๐  ปี  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระยา นริศรานุวัดติวงศ์  ทรงมีพระปรีชาสามารถในการช่าง

ใครแต่งเพลงสรรเสริญพระบารมี

สมเด็จพระเจาบรมวงศ์เธอ เจาฟากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

๐66

Page 2: นานา - rtni.org นานาสาระ.pdf · (Pyotr Schurovsky) นักดนตรี นักแต่งเพลงชาวรัสเซีย ได้ประพันธ์ทำนองถวาย

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๕ เล่มที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๕

นานาสาระ อย่างยอดเยี่ยมและลึกซึ้งทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติ วิชาอักษรศาสตร์และการประพันธ์ฉันทลักษณ์ก็ทรงปฏิบัติได้ยอดเยี่ยม ทรงเชี่ยวชาญในงานสถาปัตยกรรม จิตรกรรม  ดุริยศิลป์และนาฏศิลป์รวมทั้งศิลปะ  การละคร ตลอดไปจนถึงการนิพนธ์บทละครทุกประเภท   สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระยา  นริศรานุวัดติวงศ์ ทรงรับราชการในตำแหน่งสำคัญ ๆ มาตลอด  ๔  แผ่นดิน  อาทิ  ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ  เสนาบดีกระทรวง  พระคลังมหาสมบัติ  เสนาบดีกระทรวงกลาโหม  และผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ  อภิรัฐมนตรี  อุปนายกราชบัณฑิตยสภา  ผู้สำเร็จราชการ  แทนพระองค์ในรัชกาลที่  ๘  ฯลฯ  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์สิ้นพระชนม์ด้วยโรคพระหทัยวาย เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๐ 

  ส่ วนประวั ติ ของผู้ ป ร ะพันธ์ทำนอง เพลงสรรเสริญพระบารมี  ซึ่งก็คือ  นายปโยตร์  ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky ; อ่านว่า ปะ - โยต - เตรอะ ; รัสเซีย) เป็นดังนี้  นายปโยตร์  ชูรอฟสกี้  เป็นคีตกวี  และ  นักดนตรีชาวรัสเซีย  เกิดเมื่อปี  ค.ศ.๑๘๕๐   (พ.ศ.๒๓๙๓)  ในครอบครัวขุนนาง  มีพี่ชาย  เป็นแพทย์ชื่อดัง  และเป็นแพทย์ประจำตัวของ   อันโตน เชคอฟ นักประพันธ์ชาวรัสเซียผู้มีชื่อเสียง   ชูรอฟสกี้  ใช้ชีวิตช่วงแรกอยู่ที่กรุงมอสโก   และสนใจดนตรีมาตั้งแต่ยังเด็ก  ต่อมาได้เข้าศึกษาที่สถาบันศิลปะแห่งกรุงมอสโกที่โด่งดัง  ชูรอฟสกี้โดดเด่นมากในเรื่องเปียโน  หลังจบการศึกษา  เขาเริ่มอาชีพด้วยการเป็นนักเปียโน  แต่ก็สนใจเรื่องการเป็นหัวหน้าวงดนตรี  ข้อเขียนเชิงวิจารณ์ดนตรีรวมทั้งเริ่มเขียนบทโรมานซ์และโน้ตเพลงสำหรับเปียโน   ในส่วนที่เกี่ยวกับ การประพันธ์ท่วงทำนองเพลงสรรเสริญพระบารมี  มีเรื่องเล่าว่า  เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงสดับเสียงดนตรีเป็นครั้งแรก  ก็ทรงพอพระทัย  จนกระทั่งในปี ค.ศ.๑๘๙๒ (พ.ศ.๒๔๓๕) ได้พระราชทานกล่องยานัตตุ์ทำด้วยเงินสลักพระปรมาภิไธยให้แก่ผู้ประพันธ์  ด้วยปโยตร์ ชูรอฟสกี้ เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ.๑๙๐๘  อ้างอิง   ๑๐๐  แรกมีในสยาม,  โรม    บุนนาค  :  สยามบันทึก มกราคม ๒๕๕๔   หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ   พลเรือเอก ประพัฒน์ จันทวิรัช กันยายน ๒๕๔๖   จุฬาลงกรณ์  พระเจ้ากรุงสยามแห่งโลก พลาดิศัย  สิทธิธัญกิจ : บันทึกสยาม, ๒๕๔๖   http://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระเจ้า  บรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์    ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๗   th.wik ipedia.org/wik i /ปโยตร์_ชูรอฟสกี้    ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๗ 

นายปโยตร์ ชูรอฟสกี้

๐67