9789740328681

10
บทที1 แนะนำเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัดวัชพืช (Introduction to Herbicides) _11-08(001-040)P3.indd 1 8/9/11 5:42:06 PM

Upload: chirawat-wangka

Post on 08-Jun-2015

1.396 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: 9789740328681

บทที่ 1

แนะนำเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัดวัชพืช

(Introduction to Herbicides)

_11-08(001-040)P3.indd 1 8/9/11 5:42:06 PM

Page 2: 9789740328681

� สารป้องกันกำจัดวัชพืช :

หลักการและกลไกการทำลายพืช

1.1 สารป้องกันกำจัดวัชพืช (Herbicide)

สารป้องกันกำจัดวัชพืช หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “herbicide” นั้น โดยทั่วไปอาจ

จะเรียกเป็นภาษาไทยที่แตกต่างกันไป เช่น ยาฆ่าหญ้า ยาปราบหญ้า ยากำจัดวัชพืช สารเคมี

กำจัดวัชพืช หรือสารกำจัดวัชพืช ซึ่งทั้งหมดนี้การใช้คำว่า “สารป้องกันกำจัดวัชพืช” เป็นชื่อ

เรียกที่เหมาะสมที่สุด เพราะเป็นได้ทั้งคุมไม่ให้วัชพืชงอกและฆ่าวัชพืชที่งอกขึ้นมาแล้ว

สารป้องกันกำจัดวัชพืช หมายถึง สารเคมีชนิดใด ๆ ก็ตามที่นำมาใช้เพื่อฆ่าทำลายหรือ

ยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืช ไม่ว่าจะเป็นในขณะที่วัชพืชงอกขึ้นมาแล้วหรือยังเป็นเมล็ดอยู่

ตลอดจนชิ้นส่วนต่าง ๆ ของวัชพืชที่ขยายพันธุ์ได้ที่อยู่บนดินหรืออยู่ในดิน

สถานการณ์การทำการเกษตรของประเทศไทยในปัจจุบันนี้ การควบคุมวัชพืชโดยการใช้

สารป้องกันกำจัดวัชพืช นับว่าเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดวัชพืช ซึ่งมี

บทบาทสำคัญอย่างยิ่งในทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เนื่องจากการปรับปรุงใน

การเขตกรรม วิธีการปลูก การขยายพื้นที่เพาะปลูก ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงจากสังคมภาค

เกษตรไปเป็นสังคมภาคกึ่งอุตสาหกรรม ทำให้แรงงานในภาคเกษตรขาดแคลน ไม่สามารถทำงาน

ได้ทันเวลากับการเจริญเติบโตของพืชปลูก นอกจากนี้ค่าแรงที่สูงขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตยิ่งสูง

ขึ้นไปอีก ปัจจุบันมีการจำหน่ายสารป้องกันกำจัดวัชพืชทั้งตลาดต่างประเทศและภายในประเทศ

ไทย (รูปที่ 1.1 และตารางที่ 1.1 และ 1.2) สำหรับในประเทศไทยสารป้องกันกำจัดวัชพืช

มีการใช้มากกว่าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชชนิดอื่น ๆ เช่น สารป้องกันกำจัดแมลง ไร และสัตว์

ศัตรูพืช สารป้องกันกำจัดโรคพืช ตลอดจนสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช เหตุผลอีก

อันหนึ่ง คือ ทุกครั้งที่ปลูกพืชจะมีวัชพืชขึ้นอยู่เสมอ ยกเว้นการปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหาร

(hydroponic) การป้องกันกำจัดวัชพืชโดยการใช้สารเคมีนั้น เป็นวิธีที่กำลังได้รับความนิยมและ

ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ทั้งนี้นอกจากจะสามารถใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็วแล้ว ในหลาย

กรณียังใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่าวิธีอื่น โดยเฉพาะในสภาพที่แรงงานหายากและราคาค่าแรงแพง การใช้

สารป้องกันกำจัดวัชพืชให้ได้ประสิทธิผลนั้น ผู้ใช้จะต้องมีความรู้ที่ดีพอ ทั้งนี้เนื่องจากสารป้องกัน

กำจัดวัชพืชนั้นเปรียบเสมือนดาบสองคม ซึ่งจะต้องใช้ให้ถูกต้องและด้วยความระมัดระวัง

มิฉะนั้นแล้วสารป้องกันกำจัดวัชพืชที่ใช้อาจจะเป็นอันตรายต่อพืชปลูก พืชชนิดอื่น มนุษย ์ และ

สตัวต์า่ง ๆ ตลอดจนสิง่แวดลอ้มไดเ้ชน่กนั

_11-08(001-040)P3.indd 2 8/9/11 5:42:06 PM

Page 3: 9789740328681

1

แนะนำเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัดวัชพืช �

(A)

สารปองกันกำจัดศัตรูพืชอ�น ๆ

6%

สารปองกันกำจัดโรคพืช

8%

สารปองกันกำจัดแมลง

28%

สารปองกันกำจัดวัชพืช

58%

(B)

สารปองกันกำจัดศัตรูพืชอ�น ๆ

4%

สารปองกันกำจัดโรคพืช

7%

สารปองกันกำจัดแมลง

17%

สารปองกันกำจัดวัชพืช

72%

รูปที่1.1ปริมาณการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ (A) ในประเทศสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2544

(ที่มา : U.S. Environmental Protection Agency, 2001) และ (B) ในประเทศไทย พ.ศ. 2553

(ที่มา : ฝ่ายวัตถุมีพิษ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร, 2553)

ปริมาณการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตรของประเทศไทยทั้งหมดนั้น

สารป้องกันกำจัดวัชพืชเป็นกลุ่มที่มีทั้งปริมาณและมูลค่าการนำเข้ามากที่สุด โดยใน พ.ศ. 2540

มีปริมาณ 22,459 ตันของสารออกฤทธิ์ คิดเป็นมูลค่า 2,472 ล้านบาท และในปีต่อ ๆ มาปริมาณ

และมูลค่าการนำเข้าก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ (ตารางที่ 1.1) ต่อมาใน พ.ศ. 2552 มีปริมาณ 85,821 ตัน

ของสารออกฤทธิ์ คิดเป็นมูลค่า 93,384 ล้านบาท (ตารางที่ 1.2) ทั้งนี้เพราะแรงงานในภาค

เกษตรกรรมขาดแคลน เกษตรกรจึงนิยมเปลี่ยนมาใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชแทนกันมากขึ้น

จากการรายงานปริมาณและมูลค่าของสารป้องกันกำจัดวัชพืชที่มีการนำเข้ามาก 5 อันดับ

แรกของประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ได้แก่ glyphosate, 2,4-D, atrazine, ametryn และ

paraquat ซึ่งมีปริมาณการนำเข้า 3,607, 2,637, 1,536, 1,132 และ 244 ตันสารออกฤทธิ์

(ตารางที่ 1.3) ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 และ 2545 สารป้องกันกำจัดวัชพืชที่มีการนำเข้ามากเป็น

5 อันดับแรกก็ยังเป็นกลุ่มเดิมเพียงแต่มีปริมาณและมูลค่าการนำเข้าเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

ในช่วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมาได้มีการนำเข้าของสารป้องกันกำจัดวัชพืชสูงที่สุดถึง

ร้อยละ 9.1 ส่วนการนำเข้าของสารป้องกันกำจัดโรคพืช และสารป้องกันกำจัดแมลงเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 2.9 และ 1.0 ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งคาดว่าแนวโน้มของการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช

_11-08(001-040)P3.indd 3 8/9/11 5:42:06 PM

Page 4: 9789740328681

� สารป้องกันกำจัดวัชพืช :

หลักการและกลไกการทำลายพืช

ทางการเกษตรในประเทศไทยและทั่วโลก จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 3-5 ต่อปี

โดยที่ในแถบอเมริกาเหนือมีการใช้สูงที่สุดถึงร้อยละ 27 ประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

มีการใช้ร้อยละ 24 ประเทศในแถบอเมริกากลางและใต้มีการใช้ร้อยละ 19 ประเทศในแถบ

ภูมิภาคยุโรปตะวันตกมีการใช้ร้อยละ 17 และประเทศในแถบภูมิภาคอื่น ๆ มีการใช้ร้อยละ 13

ตามลำดับ

ปัจจุบันนี้ในประเทศไทยได้มีผู้แทนจากภาคเอกชน (business and trade sector) ที่

ประกอบธุรกิจทางด้านสารเคมีเกษตร โดยมี 2 สมาคมหลัก ได้แก่ สมาคมอารักขาพืชไทย (Thai

Crop Protection Association) และสมาคมคนไทย-ผู้ประกอบธุรกิจสารเคมีเกษตร (Thai

Agri-Business Association) ซึ่งทำหน้าที่ประสานงานระหว่างหน่วยงานจากภาครัฐบาลและ

ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจทางด้านสารเคมีเกษตร ซึ่งในประเทศไทยได้มีบริษัท

เอกชนต่าง ๆ ที่ประกอบธุรกิจสารเคมีเกษตรที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า การส่งออก การผลิต

และการกระจายผลิตภัณฑ์ของสารเคมีเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจสารเคมีเกษตรที่มี

การนำเข้ามาจำหน่ายจากต่างประเทศ

วิธีการควบคุมวัชพืชโดยการใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืช มักจะเป็นวิธีการเริ่มต้นแรก ๆ

ที่เกษตรกรเลือกนำมาใช้ในการควบคุมวัชพืช ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นวิธีการที่ช่วยในการกำจัดวัชพืช

ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วกว่าการใช้วิธีการอื่น ๆ แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า จะเป็นวิธี

ที่เหมาะสมที่สุด การใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชที่ไม่ถูกต้องอาจจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม

และผู้ใช้ได้ ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัดวัชพืชและวิธีการใช้ให้ถูกต้อง

เหมาะสม ความเป็นพิษของสาร และข้อควรปฏิบัติในการใช้สาร ตามคำแนะนำของผู้ผลิตหรือ

ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอัตราแนะนำการใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชที่ใช้ในพืชปลูกแต่ละชนิด

เป็นอัตราที่ได้ผ่านการทดสอบมาแล้ว ผู้ใช้จึงควรใช้ให้ถูกต้องตามอัตราความเข้มข้นที่แนะนำ

เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนพืชปลูก และเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสารพิษตกค้าง รวมทั้งอันตรายที่จะ

เกิดต่อสภาพแวดล้อมหรือมนุษย์ นอกจากนี้ อาจมีส่วนในการพัฒนาความต้านทานสารของ

วัชพืชก็ได้

_11-08(001-040)P3.indd 4 8/9/11 5:42:07 PM

Page 5: 9789740328681

1

แนะนำเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัดวัชพืช �

ตารางที่ 1.1 ปริมาณ

และมูลค่าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชประเภทต่าง ๆ ที่นำเข้าประเทศไทยในช่วงปี 2540-2544 (ท

ี่มา :

ฝ่าย

วัตถุมีพิษ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเก

ษตร กรมวิชาการเก

ษตร, 2545)

ชนิดสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช

(Type of Pesticid

e)

ปี 2540

ปี 2541

ปี 2542

ปี 2543

ปี 2544

ปริมาณ

มูลค่า

ปริมาณ

มูลค่า

ปริมาณ

มูลค่า

ปริมาณ

มูลค่า

ปริมาณ

มูลค่า

สารป้องกันกำจัดแมลง

(Insecticid

e)

12,5

43

1,6

45

12,8

23

2,0

44

19,5

25

6,5

89

12,5

33

2,0

01

16,6

74

2,5

53

สารป้องกันกำจัดเช

ื้อรา

(Fungic

ide)

5,8

20

626

3,6

83

579

7,2

04

914

7,3

93

1,1

19

7,8

25

1,2

65

สารป้องกันกำจัดวัชพืช (H

erb

icid

e)

22,4

59

2,4

72

15,1

08

2,2

16

27,6

39

3,2

60

29,7

15

3,8

41

32,4

23

4,5

02

สารป้องกันกำจัดไร (A

caricid

e)

237

42

235

47

157

33

275

72

296

83

สารกำจัดหนู (R

odenticid

e)

191

16

224

24

216

20

142

14

199

22

สารรมควันพิษ (F

um

igant)

219

30

190

35

285

40

570

63

784

103

สารควบคุมการเจ

ริญ

เติบโตพืช

(Pla

nt gro

wth

re

gula

tor)

538

96

587

88

876

132

1,1

62

115

1,4

60

170

สารป้องกันกำจัดหอยทาก

(Mollussic

ide)

72

20

46

45

150

25

227

33

156

13

รวม (T

ota

l)

42,0

79

4,9

47

32,8

96

5,0

78

56,0

52

11,0

13

52,0

17

7,2

58

59,8

17

8,7

11

ปริมาณ

: ตันสารออกฤทธิ์ และ มูลค่า : ล้านบาท

_11-08(001-040)P4.indd 5 8/16/11 6:35:41 PM

Page 6: 9789740328681

� สารป้องกันกำจัดวัชพืช :

หลักการและกลไกการทำลายพืช

ตารางที่ 1.2 ปริมาณ

และมูลค่าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชประเภทต่าง ๆ ที่นำเข้าประเทศไทย ในช่วงปี 2545-2552 (ท

ี่มา :

ฝ่าย

วัตถุมีพิษ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเก

ษตร กรมวิชาการเก

ษตร, 2553)

ปี

สารป้องกันกำจัดแมลง

(Insecticid

e)

สารป้องกันกำจัดเชื้อรา

(Fungicid

e)

สารป้องกันกำจัดวัชพืช

(Herbicid

e)

สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช

อื่น ๆ

รวม

ปริมาณ

มูลค่า

ปริมาณ

มูลค่า

ปริมาณ

มูลค่า

ปริมาณ

มูลค่า

ปริมาณ

มูลค่า

2545

9,0

46

2,9

31

5,6

81

1,4

44

22,6

70

43,4

92

237

392

39,6

34

9,1

16

2546

9,7

90

3,1

36

6,7

32

1,6

78

31,8

79

61,0

11

930

426

50,3

31

11,3

41

2547

16,7

31

2,8

35

10,1

08

1,7

19

55,6

49

60,8

04

417

502

86,9

05

11,1

35

2548

18,5

29

3,3

22

9,0

52

1,7

16

48,8

41

58,0

63

744

516

80,1

66

11,3

60

2549

20,4

87

3,8

56

9,3

83

1,7

22

62,1

29

68,2

13

764

499

95,7

63

12,8

99

2550

21,5

90

3,7

46

10,6

26

1,8

33

79,2

39

89,1

44

869

533

116,3

23

15,0

26

2551

25,3

32

4,5

77

11,2

55

2,5

37

68,8

25

11,4

87

4,4

97

580

109,9

08

19,1

82

2552

19,7

09

3,9

72

8,4

85

2,9

68

85,8

21

93,3

84

137

537

118,1

52

16,8

16

ปริมาณ

: ตันสารออกฤทธิ์ และ มูลค่า : ล้านบาท

_11-08(001-040)P3.indd 6 8/9/11 5:42:08 PM

Page 7: 9789740328681

1

แนะนำเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัดวัชพืช �

ตารางที่ 1.3 ปริมาณและมูลค่าสารป้องกันกำจัดวัชพืชที่นำเข้ามาก 5 อันดับแรกของประเทศ

ไทย ในปี 2538, 2541 และ 2545 (ที่มา : กองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร

กรมวิชาการเกษตร, 2546)

ปี/ลำดับที่ ชื่อสามัญ ปริมาณสารออกฤทธิ์ (ตัน) มูลค่า (ล้านบาท)

ปี 2538

1 glyphosate 3,607 645

2 2,4-D 2,637 170

3 atrazine 1,536 181

4 ametryn 1,132 208

5 paraquat 244 71

ปี 2541

1 glyphosate 2,494 514

2 2,4-D 1,581 180

3 atrazine 602 117

4 paraquat 311 138

5 ametryn 302 102

ปี 2545

1 glyphosate 10,133 1,051

2 2,4-D 3,003 947

3 atrazine 2,629 258

4 paraquat 1,426 249

5 ametryn 1,342 384

การใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชให้ปลอดภัย

1. ควรเลือกใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชให้ถูกต้องตรงตามชนิดของวัชพืชและพืชปลูก (พืช

ปลูกบางชนิด อาจมีเรื่องพันธุ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย)

2. การใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืช ผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจวิธีการใช้ การคิดคำนวณปริมาณ

สาร (การใช้สารจะต้องคิดคำนวณปริมาณสารให้แน่นอนพอดี ไม่มาก และไม่น้อยเกินไป) รู้จัก

_11-08(001-040)P3.indd 7 8/9/11 5:42:09 PM

Page 8: 9789740328681

8 สารป้องกันกำจัดวัชพืช :

หลักการและกลไกการทำลายพืช

คุณสมบัติของสารป้องกันกำจัดวัชพืชแต่ละชนิดอย่างถูกต้อง จึงจะมีประสิทธิภาพสูงในการกำจัด

วัชพืชและได้ประโยชน์อย่างแท้จริง

3. ใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชให้ถูกต้องตามคำแนะนำข้างผลิตภัณฑ์ ควรอ่านฉลากอย่าง

ละเอียด และปฏิบัติตามคำแนะนำในฉลากอย่างเคร่งครัด รวมทั้งมีความระมัดระวังในขณะ

ที่ทำการใช้สาร

4. ใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชชนิดก่อนและหลังงอกในเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้มีประสิทธิ-

ภาพในการควบคุมวัชพืชได้ผลดี และช่วยลดปัญหาการตกค้างในผลผลิตของพืชปลูก

5. เลือกใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชที่แนะนำ โดยการเลือกใช้สลับกันเพื่อช่วยลดปัญหาการ

เกิดวัชพืชต้านทานสาร และช่วยลดปัญหาการตกค้างของสารในสิ่งแวดล้อม การปลูกพืช

หมุนเวียนเป็นอีกแบบหนึ่งของการใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชไม่ซ้ำกัน

6. กำจัดภาชนะบรรจุสารเคมีให้ถูกต้อง

7. การล้างถังฉีดพ่น ควรสังเกตให้ดีว่าน้ำที่ล้างถังฉีดพ่นไหลลงไปถูกกับพืชปลูกหรือไม่

8. ช่วงเวลาการฉีดพ่นสารควรจะเป็นในช่วงเช้าหรือเย็น เพราะในช่วงกลางวันจะมีลมพัด

แรง ไม่ควรฉีดพ่นสารในขณะที่มีลมพัดแรง

1.2 การนำมาใชแ้ละพฒันาโดยลำดบัของสารปอ้งกนักำจดัวชัพชื (Herbicide

Development)

การใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชได้เริ่มมีการพัฒนานำมาใช้เป็นครั้งแรกในราว ค.ศ. 1840

ซึ่งได้มีการนำเอาปูนขาว (lime) มาใช้ในการกำจัดวัชพืชบางชนิด ต่อมาใน ค.ศ. 1854 ได้

มีการนำเอาเกลือแกง (sodium chloride) มาใช้ในการกำจัดวัชพืช หลังจากนั้นใน ค.ศ. 1895

ได้มีการนำเอาจุนสี (copper sulfate) มาทดลองใช้เป็นสารป้องกันกำจัดวัชพืชในพืชปลูก

ข้าวสาลี ในราว ค.ศ. 1902 ได้มีการนำเอาสารโซเดียมอาร์เซไนต์ (sodium arsenite) มาใช้ใน

การควบคุมผักตบชวา อย่างไรก็ตาม ได้มีรายงานเกี่ยวกับความสำเร็จในการศึกษาวิจัยและ

การพัฒนางานทางด้านสารป้องกันกำจัดวัชพืชของนักวิจัยที่ผ่าน ๆ มาเป็นลำดับ (Copping,

1995) ดังต่อไปนี้

_11-08(001-040)P3.indd 8 8/9/11 5:42:09 PM

Page 9: 9789740328681

1

แนะนำเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัดวัชพืช �

ค.ศ. 1897-1900 - นักวิทยาศาสตร์ 3 ท่าน คือ Bonnet (ชาวฝรั่งเศส) Schultz (ชาว

เยอรมัน) และ Bolley (ชาวอเมริกัน) ต่างได้ทำการวิจัยกันคนละ

แหง่และพบวา่สารละลายของทองแดง (copper) และเกลอื (salts)

สามารถนำไปใช้ในการเลือกทำลายวัชพืชใบกว้าง (broadleaf

weeds) ในพวกธัญพืช

ค.ศ. 1908 - Bolley (ชาวอเมริกัน) ได้รายงานเกี่ยวกับความสำเร็จในการใช้

เกลือแกง (common table salt) เกลือเหล็กซัลเฟต (iron

sulfate salt) และเกลือโซเดียมอาร์เซไนต์ (sodium arsenite)

ควบคุมวัชพืช wild mustard ในข้าวสาลี

ค.ศ. 1930 - ได้มีการนำสารประกอบที่เป็นสารอนินทรีย์ (inorganic com-

pounds) เช่น copper nitrate, copper sulfate และ sulfuric

acid มาใช้ทดสอบเป็นสารป้องกันกำจัดวัชพืชประเภทเลือก

ทำลายในพวกธัญพืช

ค.ศ. 1940 - ได้เริ่มมีการนำสารประกอบที่เป็นสารอินทรีย์ (organic com-

pounds) มาใช้ทดสอบเป็นสารป้องกันกำจัดวัชพืช

ค.ศ. 1941 - Pokorny (ชาวอเมริกัน) รายงานเกี่ยวกับเทคนิคการสังเคราะห์

2,4-D ซึ่งต่อมาได้แนะนำให้นักวิจัยคนอื่น ๆ นำไปทดสอบใน

ลักษณะสารป้องกันกำจัดเชื้อรา (fungicide) และสารป้องกัน

กำจัดแมลง (insecticide) ซึ่งไม่ประสบผลสำเร็จแต่อย่างใด

ค.ศ. 1942 - Zimmerman และ Hitchcock (ชาวอเมรกินั) ไดร้ายงานวา่ 2,4-D

มีคุณสมบัติเป็นสารเร่งการเจริญเติบโต (growth substance)

ค.ศ. 1944 - Marth และ Mitchell (ชาวอเมริกัน) ได้ทดสอบ 2,4-D ใน

ลักษณะเป็นสารเลือกทำลาย พบว่าสามารถควบคุมวัชพืชพวก

ใบกว้างในสนามหญ้าได้ดี

- Hamner และ Turkey (ชาวอเมริกัน) ประสบผลสำเร็จในการใช้

2,4-D ควบคุมวัชพืชในแปลงปลูกข้าวสาลี

_11-08(001-040)P3.indd 9 8/9/11 5:42:10 PM

Page 10: 9789740328681

10 สารป้องกันกำจัดวัชพืช :

หลักการและกลไกการทำลายพืช

ค.ศ. 1945 - Templeman (ชาวอังกฤษ) ได้วิจัยพบวิธีการควบคุมเมล็ดวัชพืช

ในดิน (ไม่ให้งอก) โดยวิธีการเลือกทำลายได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งนับ

ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการควบคุมวัชพืชยุคใหม่ (Modern Selective

Herbicide Era)

ในช่วงที่ผ่านมา ประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการขึ้นทะเบียนและจดสิทธิบัตรของสาร

ป้องกันกำจัดวัชพืชชนิดต่าง ๆ มาเป็นลำดับ ตามที่ได้แสดงไว้ในตารางที่ 1.4 ซึ่งจะเห็น

ได้ว่าในการใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชในช่วงแรก ๆ นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการนำสารประกอบ

ที่เป็นสารอนินทรีย์ (inorganic compounds) มาใช้ โดยที่คุณสมบัติทั่วไป ๆ ของสารดังกล่าวนี้

จะมีข้อจำกัดอยู่มาก กล่าวคือ จะต้องใช้สารในอัตราที่ค่อนข้างสูง และจัดเป็นสารที่ค่อนข้าง

จะเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้ ใน ค.ศ. 1940 เป็นต้นมา ได้เริ่มมีการพัฒนานำเอา

สารเคมีที่เป็นสารอินทรีย์ (organic compounds) มาใช้เป็นสารป้องกันกำจัดวัชพืช ต่อมาใน

ค.ศ. 1942 ได้มีการค้นพบสาร 2,4-D เพื่อนำไปใช้ควบคุมวัชพืชพวกใบกว้างในพืชปลูกชนิด

ต่าง ๆ ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการควบคุมวัชพืชยุคใหม่มาตั้งแต่ ค.ศ. 1945 โดยเริ่ม

จากกลุ่มสารที่มีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนพืช ต่อมาได้มีการวิจัยและพัฒนาสารป้องกันกำจัด

วัชพืชในกลุ่มต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อยมา เช่น สารที่ยับยั้งการแบ่งเซลล์บริเวณเนื้อเยื่อเจริญของพืช

สารที่ยับยั้งกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง สารสัมผัสทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ สารที่ยับยั้งการ

สังเคราะห์แคโรทีนอยด์ สารที่ยับยั้งการสังเคราะห์กรดอะมิโน และสารที่ยับยั้งการสังเคราะห์

กรดไขมัน เป็นต้น

_11-08(001-040)P3.indd 10 8/9/11 5:42:10 PM